
พรีวิว Fujifilm X-T20 กล้องมิลเลอร์เลสสไตล์เรโทร ใช้ง่าย ถ่ายรูปสวย พร้อมฟังก์ชั่นที่หลากหลาย
กล้อง Fujifilm X-T20 ถือเป็นกล้องระดับกลางแบบมิลเลอร์เลสในแบบ SLR ซึ่งจะเป็นกล้องแบบกึ่งอาชีพ แต่สามารถใช้งานได้ไม่ยาก โดยมาพร้อมกับฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายและครบครันในระดับมืออาชีพเลยทีเดียว ซึ่งเหนือกว่ากล้องในรุ่น X-E2S แต่ยังไม่ถึงขั้นรุ่น X-T2 โดยกล้องรุ่น X-T20 ทำมาเพื่อทดแทนรุ่น X-T10 และมีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้ามารวมไปถึงระบบประมวลผล X-Processer Pro ตามด้วยเซนเซอร์ X-Trans CMOS III ที่มีขนาด APS-C ความละเอียด 24.3 ล้านพิกเซล และยังสามารถถ่ายภาพแบบต่อเนื่องได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังมีการพัฒนาในเรื่องของระบบออโต้โฟกัส, การถ่ายวีดิโอ 4K และอื่นๆ อีกมากมาย
คุณสมบัติของกล้อง Fujifilm X-T20
- เซนเซอร์ X-Trans CMOS III ความละเอียด 24.3 MP ไม่มี Low Pass Filter
- ตัวประมวลผลภาพ X-Processor Pro
- วิดีโอ 4K ที่ 30 fps
- หน้าจอ LCD ระบบสัมผัสขนาด 3 นิ้ว
- ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ EVF ความละเอียด 2.36 ล้านจุด
- ถ่ายต่อเนื่อง 8 ภาพต่อวินาทีด้วย ชัตเตอร์กลไก และ 14 ภาพต่อวินาที ด้วยชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
- แบตเตอรี่รุ่น NP-W126S สามารถถ่ายได้ 350 ภาพ

ดีไซน์แข็งแกร่ง สวยงามโดดเด่นสะดุดตาสไตล์เรโทร
Fujifilm X-T20 มีการออกแบบที่โดดเด่นสะดุดตาดูดดีมากๆ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นสีดำ และสีเงิน ในส่วนของบอดี้ทำมาจากแม็กนีเซียมอัลลอยด์ และมีความแข็งแกร่ง ถึงเเม้ตัวกล้องไม่มีซีลป้องกันความชื้นและฝุ่นละออง แต่ยังสามารถใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมแย่ๆ ได้ไม่เป็นปัญหา ขณะที่ในส่วนของแป้นปุ่มต่างๆ ด้านบนให้ความรู้สึกที่ดีเยี่ยม ปุ่มด้านหน้าและหลังเป็นพลาสติก

ปุ่มควบคุมใช้ง่าย
สำหรับการควบคุม X-T20 มีการออกแบบที่คล้ายคลึงกับกล้องฟิลม์สมัยก่อนแบบ SLR สไตล์เรโทรออกแนวย้อนยุคนิดๆ และมีขนาดพอเหมาะกับมือของคุณ ขณะที่ปุ่มควบคุมด้านหลังก็สามารถจับได้ง่าย ในส่วนของปุ่มด้านหน้าก็ใช้ง่ายได้ดี ด้านส่วนตัวกริปก็ไม่ได้ใหญ่เกินไป

บริเวณส่วนบนของตัวกล้อง สำหรับรุ่น X-T20 หนึ่งในหลายสิ่งที่น่าประทับใจก็คือปุ่มควบคุมหลัก บนสุดคุณจะเห็นโหมด Drive , Speed Shutter และปุ่มชดเชยแสง ส่วนด้านหลังเป็นตำแหน่งสำหรับปุ่มที่สามารถตั้งค่า Custom ได้ตามที่คุณต้องการโดยสามารถตั้งค่าการชดเชยแสงได้ ±5EV เมื่อมีการกดปุ่มด้านหน้าตัวใน ถ้าคุณจะใช้เลนส์ร่วมกับวงแหวนช่องรูรับแสง คุณก็แค่ปรับตามที่ต้องการ หรือคุณจะตั้งค่าที่ตัว “A” สำหรับการควบคุมแบบอัตโนมัติก็ได้
ขณะเดียวกันในส่วนของเลนส์ “XC” จะไม่มีวงแหวนช่องรูรับแสงในการใช้ปุ่มด้านหน้าเพื่อทำการเปลี่ยนค่า F (ซึ่งนี่คือเหตุผลที่คุณต้องเคาะเบาๆ ตรงจุดนี้ ในกรณีที่คุณต้องการที่จะใช้งานมันเพื่อทำการปรับปรุงในเรื่องเกี่ยวกับค่าชดเชยแสง) ในส่วนของป็อบอัพแฟลชจะซ่อนเอาไว้ด้านซ้ายของปุ่ม Dial โดยตัวแฟลชจะทำงานได้ดี ระบบ Auto (TTL) คำนวนแสงแฟลชได้ดีมากไม่แรงไปไม่เบาไปเพิ่มแสงให้ภาพพอดีๆ ขณะที่ส่วนบนขวาจะเป็นพวกชัตเตอร์ (ซึ่งรองรับตัวชัตเตอร์กลไก) สำหรับด้านล่างจะเป็นพวกปุ่มออโต้ได้แก่โหมด P/A/S/M ซึ่งจะทำให้ง่ายมากๆ ในการถ่ายภาพแบบปัจจุบันทันด่วน

นอกจากนี้ยังมีปุ่มปรับโหมดระบบการโฟกัสเป็น S-Single ภาพนิ่ง, C-Continuous ถ่ายภาพต่อเนื่อง หรือ M-Manual ที่สำคัญคุณสามารถปรับโหมดการโฟกัสได้อย่างรวดเร็วเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เจอได้ในชีวิตประจำวันหรือการท่องเที่ยวบ่อยๆ
หน้าจอ LCD และช่องมองภาพ EVF
สำหรับ Fujifilm X-T20 มีหน้าจอ LCD คล้ายๆ กับกล้องรุ่นอื่นๆ โดยตัวทริลท์สามารถปรับระดับได้ 90 องศา และปรับหน้าจอลดต่ำลงมาได้ 45 องศา หน้าจอเป็นแบบระบบสัมผัสขนาด 3 นิ้ว ทำให้คุณสามารถเคาะที่หน้าจอเพื่อทำการโฟกัสหรือถ่ายภาพ หรือจะเลือกจุดโฟกัสก็ได้ แต่ X-T20 ไม่มีระบบทัชแพด AF ซึ่งถือเป็นฟีเจอร์ที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้จะทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายจุดโฟกัสด้วยนิ้วมือของคุณในตอนที่ตาของคุณแนบอยู่กับช่องมองภาพ นั่นทำให้เมนูต่างๆ คุณไม่สามารถใช้นิ้วในการควบคุมได้

ช่องมองภาพ OLED มีความละเอียดถึง 2.36 ล้านจุด
ช่องมองภาพ OLED มีความละเอียดถึง 2.36 ล้านจุดซึ่งถือว่าน่าพอใจมากๆ สำหรับการใช้งาน โดยทำให้ได้ภาพที่ถ่ายออกมามีความคมชัดเสมือนจริงและดูสบายตา ขณะเดียวกันหน้าจอช่องมองภาพอัตโนมัต (EVF) ไม่ใหญ่มากเกินไป หากเทียบกับกล้องแบบมิลเลอร์เลสในราคาแพงๆ
นอกจากนี้ Fujifilm X-T20 ยังสามารถตั้งค่าได้ง่ายดายตามที่คุณปรารถนา โดยมีปุ่ม Customize buttons ถึง 7 ปุ่ม (Fn 1-5, AE-L (ล็อกค่าแสง), AF-L (ล็อกระยะโฟกัส)) รวมไปถึงปุ่มที่อยู่ด้านหลัง การตั้งค่าสามารถกำหนดได้ด้วยปุ่มต่างๆ เหล่านี้ ยังไม่หมดแค่นั้นเพราะมีปุ่มและแป้นควบคุมอีกหลายอย่าง โดยคุณยังสามารถใช่ปุ่ม Customize ด้วยการเข้าไปที่เมนู “Q” และสร้าง “My Menu” ก็ได้
ชดเชยเเสง โฟกัสง่าย ถ่ายภาพในที่เเสงน้อยได้ดี
การตั้งค่าความไวแสง ISO แบบอัตโนมัติได้ 3 วิธี โดยถือว่าเยอะมากสำหรับกล้องแค่ตัวเดียวแบบนี้ ในการเลือกตั้งค่าความไวเริ่มต้นและสูงสุด รวมทั้งการใช้ Speed Shutter เพียงนิดเดียวหากคุณต้องการให้กล้องได้ใช้ตัวนี้ สำหรับการตั้งค่า Speed Shutter เพียงนิดเดียวทำได้ด้วยการใช้โหมด “Auto” ซึ่งจะช่วยวัดระยะโฟกัสเมื่อมีการกำหนดว่าจะใช้สปีดเร็วหรือช้าเท่าไหร่

ขณะเดียวกัน Auto ISO ยังสามารถปรับเองหรือบังคับด้วยมือสำหรับการถ่ายภาพยนตร์ และการถ่ายรูป โดยที่สามารถใช้งานร่วมกับตัวค่าชดเชยการเปิดรับแสง (Exposure compensation) ดังนั้นคุณสามารถเลือกตัว Speed Shutter , รูรับแสง และความสว่างของเป้าหมายที่ต้องการถ่ายได้ ซึ่งนี่เป็นส่วนสำคัญสำหรับการใช้ ISO
นอกจากนี้ Fujifilm X-T20 มีการพัฒนาในส่วนของเซนเซอร์ให้ดีขึ้น นั่นก็ทำให้ในส่วนของค่าความไวแสง ISO นั่นดีขึ้นไปด้วย โดยสามารถจัดการเรื่องสัญญาณรบกวน Noise ได้ดี และยังสามารถตั้งค่า ISO สูงถึง 6,400 แต่ยังถือว่าใช้ได้ดีโดยเฉพาะในการโพสต์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ส่วน ISO ที่ระดับ 12,800 ก็ยังน่าพอใจในระดับหนึ่ง
คุณภาพของภาพคมชัด
จากการทดสอบด้วยการถ่ายภาพในที่สว่าง และที่ที่มีแสงน้อย เมื่อเลือกกดปุ่ม “Lighting” ฉากที่ถ่ายในที่ที่มีแสงสว่างจะให้ความสมดุลของสีขาวไปจนถึงสีเทา แต่หากเลือกใช้การตั้งค่าแบบออโต้สำหรับการถ่ายภาพในสภาวะที่มีแสงน้อย ควรที่จะใช้ไฟล์ Raw จะให้ภาพออกมาคมชัด

ขณะเดียวกัน Fujifilm X-T20 ยังแสดงให้เห็นถึงภาพที่มีคุณภาพเหมือนกันกับการถ่ายด้วยกล้องรุ่น X-Pro2 และ X-T2 โดยคุณจะเห็นถึงแรงต้านมอเร่ซึ่งกล้องในตระกูลนี้ทำได้ดีเยี่ยม ฉะนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไม Fujifilm X-T20 ถึงกำลังเป็นที่สนใจของบรรดาคนที่สนใจอยากเล่นกล้อง
การบันทึกภาพด้วยไฟล์ JPEGs และการตอบสนองของสีทำงานได้อย่างดีเยี่ยม
การบันทึกภาพด้วยไฟล์ JPEGs กล้องรุ่นนี้ก็ทำงานได้อย่างดีเยี่ยม โดยมันสามารถลดในเรื่องของสัญญาณรบกวน Noise ซึ่งบางครั้งอาจจะเกิดรอยเปื้อนบนใบหน้า และรายละเอียดส่วนอื่นๆ แต่โดยทั่วไปแล้วการถ่ายด้วยการตั้งค่าความไวแสง ISO สว่าง/สูง จะให้ความสมดุลที่ดีเยี่ยมระหว่าง Noise และรายละเอียดของภาพ

สำหรับในเรื่องของการตอบสนองของสี (ไม่ใช่แค่การตั้งค่าในโหมด Standard/Provia แต่ยังรวมไปถึงโหมด Film Simulation) ยังถือว่ายอดเยี่ยม โดยจากการทดสอบแล้วแสดงให้เห็นว่าจะค่อนข้างประทับใจกับผลลัพธ์ที่ออกมาจากกล้องรุ่นนี้
ตัวเซ็นเซอร์ CMOS III ขนาด APS-C ความละเอียด 24.3 ล้านพิกเซล คมชัดมากกว่า CMOS Sensor แบบธรรมดาในกล้องยี่ห้ออื่น
ในส่วนของสเปคกล้องรุ่นนี้ต้องบอกเลยว่าทีเด็ดอยู่ที่เซนเตอร์ของ Fujifilm X-T20 มาพร้อมกับเซนเตอร์ขนาด APS-C ความละเอียด 24.3 ล้านพิกเซลโดยเป็นแบบ X-Trans CMOS III ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับกล้องรุ่นใหม่ๆของทาง Fuji เท่านั้นซึ่งให้ความคมชัดมากกว่า CMOS Sensor แบบธรรมดาในกล้องยี่ห้ออื่นๆ

X-Processor Pro ที่มีความเร็วสูงกว่าเดิม 4 เท่า
ด้วยการที่ระบบทำงานร่วมกับหน่วยประมวลผลภาพ X-Processor Pro ที่มีความเร็วสูงกว่าเดิม 4 เท่า ทำให้ X-T20 มีประสิทธิภาพในทุกๆ ด้านสูงขึ้น ให้ภาพมีความใสเคลียร์ เต็มไปด้วยสีสัน มีความเป็นธรรมชาติ สัญญาณรบกวน Noise ตํ่าแม้ใช้ความไวแสงสูง ให้ภาพที่มีคุณภาพดี แม้ใช้ความไวแสงถึง ISO 12,800 มีความเร็วในการทำงานสูง และรองรับการบันทึกวิดีโอ 4K

Autofocus Tracking รวดเร็ว เเม่นยำ
นอกจากนี้ยังมีระบบ Autofocus Tracking หรือ ระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบติดตาม สามารถรับมือกับวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวที่ไร้แบบแผนโดยสามารถใช้ฟังก์ชั่น “Set 5” ที่ออกแบบมาสำหรับ “วัตถุที่ยากจะติดตามซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันทีในอัตราที่มีความเร็ว แต่ยังเคลื่อนไหวได้หลากหลายทั้งด้านหน้าไปหลัง และซ้ายไปขวา”
ขณะเดียวกันกล้องรุ่นนี้ยังมีอัตราการถ่ายภาพต่อเนื่องได้ดีเยี่ยมโดยขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้ชัตเตอร์แบบไหน ในกรณีที่ใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถถ่ายภาพแบบรัวๆ ได้ 14 เฟรมต่อวินาที (หรืออาจจะได้ถึง 15 เฟรมต่อวินาที) พร้อมกับระบบออโต้โฟกัสต่อเนื่องที่จะถ่ายได้ 22 ชอต (โดยที่ยังไม่ย่อภาพ RAW+JPEG)

ตัวชัตเตอร์กลไกอัตราการถ่ายภาพต่อเนื่องจะอยู่ที่ 8 เฟรมต่อวินาที (หรืออาจจะ 8.5 เฟรมต่อวินาที) สำหรับการถ่าย 23 ชอต ขณะเดียวกันการถ่ายภาพจะไม่มีพวกเงามารบกวน และคุณยังสามารถเข้าโหมดย้อนภาพหรือเมนูต่างๆ ได้ แต่หากคุณอยากใช้โหมด Live View ในช่วงเวลาเรียลไทม์ขณะที่ถ่ายภาพรัวๆ อัตราการถ่ายต่อเนื่องอาจจะลดลงเหลือ 5 เฟรมต่อวินาที
Multiple Exposures และ Panorama
โหมดถ่ายภาพเเบบ Multiple Exposures และ Panorama เพื่อการถ่ายภาพที่สนุกสนานเเละเก็บภาพได้หลากหลายมุมมองมากยิ่งขึ้น

ปรับเเต่งสีเพื่อให้ได้ภาพตามที่ต้องการอย่างง่ายดายด้วยฟิลเตอร์ที่มีให้เลือกกว่า 8 เเบบ
ด้วยฟิลเอตร์ทั้ง 8 แบบที่มีมาให้เลือกใช้ จะช่วยให้ภาพดูมีเอกลักษณ์เเละดูน่าสนใจ เพิ่มสีสันและความสนุกสนานให้กับภาพ เพื่อผู้ให้ใช้ดีไซน์ภาพออกมาได้อย่างตรงใจมากที่สุด

การถ่ายวีดิโอแบบ 4K ประสิทธิภาพสูง
อีกหนึ่งทีเด็ดของ Fujifilm X-T20 ก็คือการถ่ายวีดิโอแบบ 4K UHD ที่ให้ความละเอียดที่ 29.97p, 25p, 24p และ 23.98p ในเวลา 10 นาที โดยอัตราความเร็วของที่ 100Mbp แต่อาจจะลดลงมาเมื่อมีการถ่ายแบบ Full HD ซึ่งอัตราเฟรมที่ให้ความละเอียดอยู่ที่ 59.94p, 50p, 29.97p, 25p, 24p และ 23.98p ในเวลาจำกัด 15 นาที และให้ความเร็วที่ 36Mbps

X-T20 มีเซนเซอร์ที่ดีมากๆ ทำให้การถ่ายวีดิโอแบบ 4K ออกมาได้มีประสิทธิภาพสูง แม้ในช่วงเวลาที่มีแสงน้อยก็ยังทำงานได้ดี ที่สำคัญยังมีมอเร่ (moire) น้อย นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกกับอุปกรณ์ภายนอกในระดับ 4K ผ่านช่องต่อ HDMI ได้ มีช่องต่อไมโครโฟนภายนอก และสามารถใช้โหมด Film- Simulation กับการบันทึกวิดีโอได้ เพื่อให้ได้โทนสีของภาพในรูปแบบที่ต้องการ ลดขั้นตอนการปรับโทนสีในขั้นตอนการตัดต่อ
แบตเตอรี่ พลังไฟ 8.7 Wh (วัตต์-ชั่วโมง) ถ่ายภาพได้ 350 ชอตจากการชาร์จเพียงครั้งเดียว
ความอึดของแบตเตอรี่ รุ่น NP-W126S มีการระบุว่าสามารถถ่ายภาพได้ 350 ชอตจากการชาร์จเพียงครั้งเดียวด้วยแบตเตอรี่พลังไฟ 8.7 Wh (วัตต์-ชั่วโมง) โดยเมื่อใช้ในโหมดการทำงานระดับสูง (High Performance) ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาในโหมดการทำงานแบบ AF และคุณภาพของหน้าจอ LCD/EVF จะใช้งานแบตเตอรี่ค่อนข้างสูง

ดังนั้นจำนวนของการถ่ายขึ้นอยู่กับว่าคุณถ่ายยังไง และหากใช้ทั้งสองระบบถือว่าเป็นการใช้งานที่ไม่ปกติย่อมต้องกินแบตเตอรี่มากพอสมควร อย่างไรก็ตามกล้องรุ่นนี้ก็สามารถชาร์จแบตฯ ผ่าน Power Bank ได้ ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มความสะดวก และไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถชาร์จแบตฯ กล้องได้สบายๆ
ซอฟท์แวร์สำหรับการควบคุมระยะไกล

นอกจากนี้ Fujifilm ยังได้ทำซอฟท์แวร์สำหรับการควบคุมระยะไกลเพื่อให้สามารถควบคุมกล้องผ่านทางสมาร์ทโฟน, การดาวน์โหลดภาพเก็บในเมมโมรี่การ์ด และการรวมข้อมูลสถานที่ที่คุณใช้ในการถ่ายภาพ นอกจากนี้ในการควบคุมระยะไกลคุณยังสามารถปรับค่าชดเชยการเปิดรับแสง, การโฟกัส และการตั้งค่ากล้องให้เหมาะสม
บทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่
- การตั้งค่ากล้อง สำหรับมือใหม่ เริ่มพื้นฐานจากศูนย์กันเลย ใครก็ทำได้
- รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ระบบโฟกัส โหมดโฟกัส วิธีโฟกัส ตั้งแต่ต้นจนจบ
- โหมด P A S M ต่างกันยังไง ควรใช้โหมดไหนถ่ายภาพ
- 7 เหตุผลสำหรับมือใหม่ ทำไมต้องใช้โหมด M
- 7 วิธีลัดสำหรับมือใหม่ ถ่ายภาพโหมด M ด้วยตัวเอง
- โหมดวัดแสง การวัดแสง และ ระบบวัดแสง ฉบับมือใหม่เข้าใจง่าย เลือกใช้ได้ไม่พลาด
- EXPOSURE TRIANGLE พื้นฐานการตั้งค่า APERTURE, SHUTTER SPEED, ISO รู้เรื่องนี้ ถ่ายโหมด M ได้แน่นอน!