
รีวิว DJI OSMO Pocket กล้องขนาดเล็กพร้อมกันสั่นในตัว เวอร์ชั่น Activate แล้ว
รีวิว DJI OSMO Pocket กล้องพร้อมกันสั่นในตัวเวอร์ชั่นก่อนทำการ Activate จริง ซึ่งในวันนี้จะเป็นการแกะกล่องรีวิว และพูดถึงความสามารถโดยรวมก่อน ในวันที่มีการเปิดให้ใช้งานแล้วจะมีการอัพเดตอีกรอบแบบเต็ม ๆ กันอีกทีนึงแน่นอน

DJI OSMO Pocket คืออะไร ? แล้วทำไมคนพูดถึงมากมายบน Social Media
DJI OSMO Pocket เป็นกล้องขนาดเล็ก ที่มีความละเอียดสูงระดับ 4K พร้อมเลนส์มุมกว้าง ซึ่งมีระบบกันสั่นแบบ 3 แกนในตัวที่ออกแบบเป็นพิเศษ เอาจริง ๆ DJI เก่งเรื่อง Gimbal Stabilizer มาหลายปีมากแล้ว และถูกพัฒนาทั้งใน Drones และ Gimbal อื่น ๆ ที่เป็นชุดกันสั่นสำหรับงาน Video มืออาชีพ
มันมาพีคตรงกระแสแรกคือ GoPro Hero 7 ที่ออกมาใหม่ล่าสุดซึ่งมีการทำให้ GoPro ตัวล่าสุดนั้นใช้กันสั่นได้ดีกว่าเดิมแล้วเวิร์คมาก เหมาะสำหรับคนถ่าย 4K เลนส์มุมกว้าง Fisheye และดำน้ำได้

แต่หลังจากที่มีกระแสเลี้ยงไปพักนึง DJI ก็เปิดตัวแบบสายฟ้าแลบเป็น DJI OSMO Pocket ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก พกพาง่าย ถ่าย 4K ได้ พร้อมระบบกันสั่นแบบ 3 แกนติดมาที่ตัวกล้องเลย แถมดีไซน์เน้นไปทางเรียบหรู เลยทำให้ผู้ใช้อยากจะสัมผัสตัวจริงมากนั่นเอง
DJI OSMO Pocket vs GoPro Hero 7 อะไรดีกว่า
คำถามที่คาใจสำหรับคนหลายกลุ่มเลยกว่าระหว่าง DJI OSMO Pocket และ GoPro Hero 7 รุ่นไหนดีกว่า เอาจริง ๆ ผมคงไม่สามารถที่จะเคาะได้หรอกนะว่ารุ่นไหนดีกว่า เพราะอุปกรณ์มันแบ่งตามพฤติกรรมของคนใช้ซะมากกว่า
หลัก ๆ อย่างแรกคือ DJI OSMO Pocket ถ้ามาแบบเดิม ๆ ดำน้ำเหมือน GoPro ไม่ได้แน่ ๆ เว้นแต่จะใส่ชุด Housing แยกต่างหาก ซึ่ง GoPro Hero 7 ดำน้ำได้เลยตั้งแต่ซื้อมา แต่ GoPro Hero 7 ก็ไม่ได้ให้ความเรียบง่าย และการใช้งานที่สะดวกเท่ากับ DJI OSMO Pocket

ซึ่งกับบางคนอาจจะโอเคทั้งสองอย่าง ในหัวข้อนี้เดี๋ยวไปเจาะสเปคกันอีกทีนึง แต่ในภาพรวมบอกไว้เลยว่าสองตัวนี้แบ่งตามการใช้งานของเราอย่างชัดเจนครับ ถ้าชอบเรียบง่าย เน้นสบาย พกสนุก สะดวก DJI OSMO Pocket แน่นอน
แต่ถ้าใครเน้นดำน้ำ ชอบดีไซน์แนว Action Camera แล้วก็มีเลนส์ Fisheye ไป GoPro Hero 7 ได้เลย
รีวิว DJI OSMO Pocket แบบแกะกล่องเวอร์ชั่นก่อนทำการ Activate

ผมจะเริ่มตั้งแต่การแกะกล่องของ DJI OSMO Pocket กันเลยนะครับ รูปแบบของกล่องที่เขาทำออกมาจะขนาดไม่ใหญ่มาก แล้วก็เน้นเรียบหรูสไตล์ของ DJI เลย บอดี้เป็นพลาสติกแล้วก็ทำกระดาษหุ้มไว้ครับ แล้วซีลด้วยพลาสติกอีกที

พอแกะออกมาก็จะเจออุปกรณ์หลัก ๆ สองชุดครับ คือตัว DJI OSMO Pocket และชุด Case สำหรับใส่อุปกรณ์ ด้านในมีคู่มือด้วย เดี๋ยวให้ดูภาพอีกที ผมว่าแบรนด์นี้เขาใส่ใจรายละเอียดเรื่องการนำเสนอผลิตภัณฑ์กลิ่นเดียวกับ Apple เลยแฮะ

ผมจะหยิบอุปกรณ์หลักออกมาก่อนคือตัว DJI OSMO Pocket เลย ซึ่งเราจะรีวิวภาพรวมกันก่อนเรื่องการออกแบบและดีไซน์ครับ

ขนาดของตัวบอดี้และอุปกรณ์มีขนาดเล็กมาก คอนเซ็ปต์ตามชื่อของ DJI OSMO Pocket เลย โดยหลักก็เพื่อเน้นการพกพาที่ง่ายและสะดวก

ในเวอร์ชั่นนี้เรายังไม่สามารถใชั Application หรือการ Activate ใด ๆ ได้จนกว่าจะถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2561 นี้ครับ เพราะว่ากำหนดการขายและได้ตัวจริงของบุคคลทั่วไปคือวันดังกล่าว เวลาที่เปิดเครื่องขึ้นหลังจากที่เลือกภาษาแล้ว ตัวระบบจะฟ้องให้ Activate ครับ


ความละเอียดของกล้อง DJI OSMO Pocket เป็นยังไงบ้างล่ะ ?
DJI OSMO Pocket จะใช้เซ็นเซอร์ขนาด 1/2.3 เป็น CMOS Sensor แล้วก็ให้ความละเอียดกล้องที่ 12 ล้านพิกเซล เอาจริง ๆ ก็เยอะพอสำหรับการถ่ายภาพหลากหลายแนวแหละ อัพผ่าน Social Media ก็เยอะพอละ

นอกจากนี้การถ่ายวีดีโอยังรองรับแบบ 4K ด้วย ซึ่งมีรายละเอียดของการ Setting 4K ตามนี้เลย
- 4K Ultra HD: 3840 x 2160 24/25/30/48/50/60p
- FHD: 1920 x 1080 24/25/30/48/50/60/120p
รายละเอียดของเลนส์ DJI OSMO Pocket เป็นยังไงบ้าง ?
สำหรับความสามารถเลนส์ตัวนี้จะให้มุมรับภาพที่ 80 องศา ซึ่งเราดูแลอาจจะไม่เหมือนมุมกว้าง Ultra Wide อย่าง GoPro แต่ว่ามุมกว้างแบบนี้จะทำให้ภาพดูไม่พุ่ง และหน้าไม่บวมเหมือนเลนส์ Fisheye นั่นเอง ซึ่งหลังจากนี้ต้องดูว่า Content ที่ถูกผลิตจาก DJI OSMO Pocket จะเป็นยังไงอีกบ้าง แต่สำหรับคนที่ต้องการอุปกรณ์ถ่ายวีด๊โอแบบเลนส์กว้าง แล้วได้ภาพที่เป็นธรรมชาติเลย ตัวนี้ค่อนข้างสุดเลยทีเดียว

อุปกรณ์ที่มาในชุดของ DJI OSMO Pocket มีอะไรบ้าง ?
ในนี้จะประกอบไปด้วย DJI OSMO จำนวน 1 ตัว แล้วก็เคสใส่ที่ออกแบบมาให้ใช้พอดีอีกชุดนึง แล้วก็พวกอุปกรณ์ Adapter ครับ ไว้ใช้กับ iPhone, Android แล้วก็ชุดคู่มือ แล้วก็สายคล้องครับ ถือว่าให้มาครบ ๆ กันเลยทีเดียว

DJI OSMO POCKET มี Mechanical Gimbal 3 แกน สิ่งนี้แหละคือจุดเด่นของอุปกรณ์นี้
หลายคนถามว่าจำเป็นไหมที่ต้องใช้กันสั่นแบบ Mechanical หรือชุดกันสั่น 3 แกนแบบจริง ๆ ที่เป็นแกนกันสั่นเลย สำหรับผมตั้งแต่ใช้ Gimbal มาหลายแบบ ก็ยังรู้สึกว่ากันสั่นแบบจริง ๆ ที่เป็นระบบกลไกก็ยังไม่มีอะไรมาเทียบตรงนี้ได้
ซึ่งกันสั่นแบบ Gimbal Stabilizer ต้องบอกตามตรงว่ายังเป็นจุดเด่นของ DJI ที่ทำมาเสมอหลายปี แล้วก็เป็น Branding จุดเด่นหลัก ๆ ที่ทำให้แบรนด์นี้ได้รับความไว้วางใจในการออกผลิตภัณฑ์สำหรับงานวีดีโอในกลุ่มโปรนั่นเอง
ฟีเจอร์ First Person View (FPV) พร้อมความสามารถแบบ Action ที่ยกมาจาก Gimbal ระดับโปรของทาง DJI
ถ้าเราเคยเห็นฟังก์ชั่นโหด ๆ ใน DJI Ronin 2 พวก Gimbal โปร ๆ ทั้งหลาย แล้วเกิดคำถามว่า DJI OSMO Pocket จะมีโอกาสได้ใช้ระบบนี้ไหม ตอบได้เต็ม ๆ เลยว่ามีครับ เพราะโหมดเหล่านี้ถูกยกมาใส่ให้แบบเต็ม ๆ เราสามารถที่จะใช้อุปกรณ์นี้ถ่าย Action ได้แบบสุด ๆ กันเลยทีเดียว
Active Track ที่ยกมาจาก DJI Drones ทั้งหลาย มาสู่ตัว DJI OSMO Pocket
เราจะเห็นว่ามีการยกเครื่องความสามารถพวกการ Tracking จาก Drones ที่ DJI ได้พัฒนามาในผลิตภัณฑ์หลาย Product Line เช่น DJI Mavic Pro, DJI Mavic Air, DJI Phantom 4 Pro ทั้งหลาย พวกนี้ล้วนแต่มีความสามารถในการ Tracking วัตถุได้อย่างแม่นยำ แน่นอนว่าเมื่ออุปกรณ์ชุดนี้อย่าง OSMO Pocket สามารถใช้งานได้ด้วย ทำให้เราสร้างคอนเทนต์วีด๊โอได้ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก
การถ่ายภาพ Panorama แบบ 3×3 ใช้ Gimbal เป็นตัวหมุนทำให้ภาพนิ่งกว่าเดิม และง่ายกว่าเดิม
การถ่ายภาพแบบ Panorama เราจะเห็นได้ว่าปกติบนมือถือเราต้องลากมือถือไปตามจุดที่เราต้องการจะถ่าย Panorama แต่เมื่อเป็น Gimbal Stabilizer มันง่ายกว่าเดิมมาก เพราะตัว Gimbal จะหมุนให้เราเองเรียบร้อยเลย แล้วต่อได้เนียนด้วย
ระบบระบายความร้อนที่เงียบเป็นพิเศษ ลดเสียงรบกวนเมื่อถ่ายวีดีโอ และพร้อมบันทึกเสียงสำหรับงาน Content Video โดยเฉพาะ
จำเป็นด้วยเหรอที่ DJI OSMO Pocket จะต้องมีระบบนี้ จริง ๆ ต้องบอกว่าจำเป็นมาก เพราะการที่กล้องถ่ายวีดีโอแบบ 4K การประมวลผลของกล้องจะรุนแรงมาก แล้วแน่นอนมันตามมาด้วยความร้อน ซึ่งเป็นธรรมชาติของกล้องทุกตัวครับ ดังนั้นระบบระบายความร้อนจึงต้องดีเป็นพิเศษ
โดยส่วนใหญ่กล้องอย่าง DJI OSMO รุ่นที่ผ่าน ๆ มาจะมีพัดลมมาให้ด้านข้าง ซึ่งแน่นอนเกิดเสียงเข้ามาในไมค์ของตัวกล้อง ทำให้ DJI เห็นจุดที่ควรพัฒนาตรงนี้ จนล่าสุด DJI OSMO Pocket ก็เลยทำระบบระบายความร้อนแบบที่เงียบและเย็นออกมาซะเลย
Universal Port ช่องเดียว แต่ใส่ได้กับทุกอุปกรณ์เพราะมีชุด Adapter แปลงให้สารพัดสิ่ง
ความเป็นสไตล์ของ DJI OSMO Pocket ซึ่งเป็นรสนิยมความโปรและความเรียบง่ายเข้าด้วยกันที่ DJI ทำมาตลอด ตรงเรื่องพอร์ทนี้ก็ทำได้ดีด้วย ทำไมเป็นอย่างนั้นล่ะ เพราะว่าพอร์ตของเขาถูกออกแบบมาให้มีช่องเดียว แต่เปลี่ยนใช้กับ Adapter ได้ทุกอุปกรณ์ ทั้ง iOS, Android และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถจบที่อุปกรณ์นี้ในชุดเดียวได้เลย

ฟีเจอร์ Motion Timelapse สำหรับสร้าง Footage Video ที่ดีมาก แล้วใช้งานได้ง่าย
ถ้าหากใครเคยถ่าย Timelapse แบบปกติ บอกได้เลยว่าต้องคิดเยอะ แพลนเยอะ แล้วกว่าจะถ่ายให้สวยต้องเข้าใจถึงกระบวนการถ่ายวีดีโอที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน แต่ด้วยอุปกรณ์อย่าง DJI OSMO Pocket จะเน้นความเรียบง่ายเลยใส่โหมดนี้มาให้เลย แล้วยัง Timelapse แบบ Panning ได้ด้วย ถือว่าเป็นสุดยอด Killer Features ของอุปกรณ์นี้เลย
NightShot สำหรับถ่ายภาพกลางคืน สามารถตั้งค่าเหมือนกล้อง Mirrorless, DSLR ระดับโปรได้สบาย แถมเป็นการถ่ายภาพ Long Exposure แบบไม่ต้องใช้ขาตั้ง (ปกติถ่ายภาพแบบนี้มันต้องใช้ขาตั้งนะ)
โหมด NightShot เอาตรง ๆ ผมก็ไม่คิดว่าจะว๊าวอะไร เพราะปกติกล้องทั่วไปมันก็ถ่ายกลางคืนได้แหละ แต่นี่เขาใช้ NightShot แบบไม่ต้องใช้ขาตั้งและเป็นการถ่ายแบบ Long Exposure ด้วย ซึ่งผมก็คิดอยู่ว่าเขาทำได้ไง พอเดาได้ว่าเขาใช้ Software เพื่อการ Align ภาพให้ตรงกันแล้ว Merge ภาพ ควบคู่ไปกับการใช้ Gimbal เลยทำให้ภาพออกมานิ่งและสวยสำหรับการถ่ายภาพกลางคืน ซึ่งกล้องทั่วไปทำแบบนี้ไม่ได้แน่ถ้าหากไม่พกขาตั้งมา เอาเป็นว่าโหมดนี้คิดมาดีแล้วได้ใช้แน่นอน
DJI OSMO Pocket เหมาะกับใครบ้าง ?
เอาจริง ๆ เหมาะกับทุกคนที่ชอบถ่ายวีดีโอแล้วอยากจะลองผลิตคอนเทนต์คุณภาพสูงดี ๆ สักชิ้นที่เหมาะกับตัวเอง โดยเฉพาะยุคที่ Digital Content แพร่หลายและเราสามารถเป็นเจ้าของ Media ได้เอง อุปกรณ์ชุดนี้จึงเป็นของที่เหมาะมากสำหรับเราทุกคนแหละ อยู่ที่ว่าคุณจะชอบกันไหมแค่นั้นเอง

DJI OSMO Pocket ราคา 13,500 บาท สำหรับราคาไทยตอนนี้นะ จะเริ่มวางจำหน่ายวันที่ 15 ธันวาคม 2561 นี้
DJI OSMO Pocket Specification
General
Dimensions | 121.9×36.9×28.6 mm |
---|---|
Weight | 116 g |
Camera Specification
Sensor | 1/2.3” CMOS Effective pixels: 12M |
---|---|
Lens | FOV: 80° F2.0 |
ISO Range | Photo: 100-3200 Video: 100-3200 |
Electronic Shutter Speed | 8s-1/8000s |
Max Image Size | 4000×3000 pixels |
Still Photography Modes | Single Shot, Panorama, Timelapse, Motionlapse |
Video Resolution | 4K Ultra HD: 3840 x 2160 24/25/30/48/50/60p FHD: 1920 x 1080 24/25/30/48/50/60/120p |
Video Recording Modes | Auto; Slow Motion |
Max Video Bitrate | 100 Mbps |
Supported File Formats | FAT32 (≤32 GB), exFAT (≥64 GB) |
Photo Formats | JPEG/JPEG+DNG |
Video Formats | MP4/MOV (MPEG-4 AVC/H.264) |
Supported SD Cards | microSD (Max. Capacity: 256 GB) |
Audio Output | 48 KHz AAC |
Gimbal Stabilizer Specification
Controllable Range | Pan: -230° to +50° Tilt: -95° to +50° Roll: ±45° |
---|---|
Max Controllable Speed | 120°/s |
Battery Specification
Type | LiPo |
---|---|
Capacity | 875 mAh |
Energy | 6.738 Wh |
Voltage | 7.7 V |
Operating Temperature | 0°-40° C (32°-104° F) |
Operating Time | 140 mins |
Charging Time | 73 mins |
อ่านบทความเปรียบเทียบมันส์ ๆ ก่อนหน้านี้
- อ่านบทความเปรียบเทียบก่อนหน้า Nikon Z7 vs Sony A7RIII อะไรดีกว่ากัน ?
- รีวิว Hands On : Nikon Z7 และ Nikon Z6
- Nikon z6 vs Sony A7III รุ่นไหนดีกว่ากัน