Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

รีวิว SIGMA fp กับการถ่ายภาพในที่แสงน้อย ทดสอบประสิทธิภาพและข้อจำกัดที่ควรรู้

รีวิว SIGMA fp กับการถ่ายภาพในที่แสงน้อย ทดสอบประสิทธิภาพและข้อจำกัดที่ควรรู้กล้อง SIGMA fp เป็นกล้อง Mirrorless Full Frame ที่มีขนาดเล็กที่สุด แน่นอนว่าทาง SIGMA ได้ออกแบบกล้องตัวนี้มาเพื่อการถ่ายภาพยนตร์โดยเฉพาะ และก็มีความสามารถในการถ่ายภาพนิ่งอยู่พอสมควร ทั้งเรื่องการถ่ายภาพต่อเนื่องที่เยอะ แล้วก็ความละเอียดของเซ็นเซอร์ก็ 24.6 ล้านพิกเซล

ซึ่งแน่นอนวันนี้เราจะมาคุยเรื่องการใช้งานโดยทั่วไป มีการใช้งานกับเลนส์ต่าง ๆ และเรื่องข้อจำกัดเกี่ยวกับกล้อง SIGMA fp ในการถ่ายภาพกันครับ เดี๋ยวเรามาเริ่มทีละประเด็นกัน

การถ่ายภาพโดยทั่วไป เน้นการท่องเที่ยว ถ่ายภาพในทุก ๆ วัน

ความสุขอย่างนึงที่ทำให้ผมคาดหวังกับ SIGMA fp ก็คือ ขนาดที่เล็กจริง ๆ เมื่อติดกล้องกับ SIGMA 45mm F2.8 Contemporary เพราะเขาออกแบบให้มีขนาดเล็ก แล้วพอประกับกล้อง Full Frame อย่าง SIGMA fp ขนาดก็เลยที่พกสบาย ๆ ท่องเที่ยวสนุกมาก

อีกทั้งคุณภาพไฟล์ก็รับได้หมด ทั้ง Landscape หรือจะเป็นการถ่ายภาพรีวิวเลนส์ เน้น Portrait ผมก็ลองใช้กล้องตัวนี้ ก็ถือว่าจบงานได้ดีมาก ยิ่งงานปัจจุบันของผมต้องทำคอนเทนต์บ่อย ๆ และเราก็ยังชอบที่จะเอากล้อง Full Frame ไว้ถ่ายเป็นหลักอยู่แต่ขอขนาดเล็กหน่อยเถอะ กล้องตัวนี้ก็จบได้ดีมากเลย

ความสามารถในการโฟกัสของภาพนิ่ง

ระบบโฟกัสของ SIGMA fp นั้นจะให้ความสามารถในการ Tracking ใบหน้ามา ซึ่งผมลองใช้ก็อยู่ในระดับที่ดี โฟกัสเข้า Tracking ได้ดี แต่ด้วยที่จุดโฟกัสของกล้องมี 49 จุด เวลาถ่ายจริงผมสบายใจที่จะใช้การโฟกัสเป็นจุดแบบที่ตัวเองถนัดมากกว่า น่าจะเป็นที่พฤติกรรมการใช้ของผมเอง

อันนี้แล้วแต่ความถนัดนะครับ เรื่องของระบบโฟกัสผมอยากให้คนที่กำลังตัดสินใจซื้อลองไปใช้ของจริงก่อนตัดสินใจก็ได้ น่าจะตอบตัวเองได้ดีขึ้นว่าชอบมากแน้อยแค่ไหนครับ

ความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่อง

การถ่ายภาพต่อเนื่องอันนี้ผมไม่มีอะไรคาใจ เพราะซัดได้ถึง 18 เฟรมต่อวินาที ได้ภาพแน่นอน บัฟเฟอร์อาจจะหมดเร็วหน่อย ประมาณ 3 วินาทีก็น่าจะสุดละ แต่ระหว่างที่กล้องกำลังเคลียร์ Buffer ก็สามารถถ่ายต่อไปได้

ถ้าใครอยากถ่ายภาพต่อเนื่องได้นานหน่อยก็สามารถลดความเร็วของการเก็บภาพให้ต่ำลงก็ได้ครับ จะสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้นานขึ้น

ทดสอบประสิทธิภาพในการใช้ ISO ที่สูงนิดนึง

ในการถ่ายภาพกลางคืน ผมมองว่าไฟล์ค่อนข้างดีครับ ผมดัน ISO 5000 ก็สามารถที่จะเก็บภาพมาได้สวยงามนะ ถ่ายงานเลี้ยงนี่สบายเลย แล้วกล้องเล็ก ๆ ดูเรียบหรู ผมมองว่าเป็นกล้องตัวเก่งตอนออกงานได้เลย

ประสิทธิภาพการโฟกัสในที่แสงน้อย

ความสามารถในการโฟกัสที่แสงน้อยทำได้ดีมาก ผมไม่เคยบ่นอะไรเกี่ยวกับการถ่ายภาพในที่แสงน้อย ด้วยว่าประสิทธิภาพกล้องในปัจจุบันข้ามพ้นเรื่องนี้มาได้ดีแล้ว ในส่วนของ SIGMA fp เองก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะใช้เลนส์​ SIGMA 45mm F2.8 Contemporary หรือจะเป็นเลนส์ SIGMA 70-200mm F2.8 Sport + MC-21 ก็ไม่มีปัญหาอะไรกับประเด็นนี้ครับสบายใจได้

ข้อจำกัดในกล้อง SIGMA fp ที่ควรรู้ เกี่ยวกับการถ่ายภาพใต้แสงไฟ พวกหลอดไฟต่าง ๆ

ครางนี้มาถึงประเด็นที่ผมจะต้องพูดถึงให้ได้เลย เรื่อง Flicker เป็นประเด็นหลักที่ผมต้องอธิบายเพื่อนที่สนใจกล้องรุ่นนี้ทุกครั้ง เพราะเมื่อไหร่ที่เราใช้ความเร็วชัตเตอร์ตั้งแต่ 1/60 ขึ้นไปในพื้นที่ที่ได้รับความสว่างจากแสงหลอดไฟ จะเกิดเงา คลื่นดำ ๆ ขึ้น ประเด็นนี้จะเกิดจากการที่เราใช้ Electronic Shutter ครับ ซึ่งกล้องที่ใช้ Mechanic Shutter จะไม่เจอประเด็นนี้

ดังนั้นกล้อง SIGMA fp ที่เป็น Electronic Shutter ล้วน ผมยืนยันว่าจะเจอเรื่องนี้แน่นอน ซึ่งถ้าหากทาง SIGMA มี Firmware มาแก้ก็คงข้ามข้อจำกัดนี้ไปได้

การเลี่ยงปัญหา Flicker ใน Electronic Shutter

ต่อมาก็คือแล้วเราจัดการเรื่อง Flicker ได้ยังไง ณ ตอนนี้ผมใช้วิธีโดยใช้ Shutter Speed ไม่เกิน 1/50 ไปเลยในช่วงที่ต้องถ่ายภาพใต้อาคาร แสงไฟ ซึ่งทำให้ผมไม่ต้องกังวลเรื่องนี้อีก และถ่ายภาพได้ตามปกติ

ซึ่งข้อเสียก็คงจะเป็น ถ้าหากสิ่งที่เราอยากจะถ่ายมีการเคลื่อนที่ค่อนข้างเร็วหน่อย เช่น เด็กวิ่ง คนวิ่ง วัตถุนั้นจะเริ่มเบลอเพราะ Shutter Speed 1/50 คงถ่ายเก็บไม่ได้ แล้วถ้าใช้ Shutter Speed เกินนั้นจะเจอ Flicker แทน

กับอีกประเด็นคือถ้าหากเราใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสเกิน 50mm ขึ้นไป โอกาสภาพจะสั่นไหวก็เยอะขึ้น แต่จากการรีวิวนี้ผมก็ได้ทดสอบใช้งานกับเลนส์ Telephoto แล้ว ก็ได้ภาพที่ชัดเจนครับ แต่ก็มีโอกาสเบลอบ้างเล็กน้อย เดี๋ยวไปดูการทดสอบกัน

สรุปคือ การเลี่ยงปัญหาให้ใช้ Shutter Speed 1/50 ในช่วงที่ถ่ายภาพใต้อาคาร หรือตรงพื้นที่ ที่มีแสงจากหลอดไฟ

การใช้งานร่วมกับเลนส์ Telephoto ในข้อจำกัดของ Shutter 1/50

ผมมีโอกาสได้ใช้กล้อง SIGMA fp + SIGMA 70-200 DG OS HSM Sport ต่อผ่าน Adapter MC-21 แล้วใช้ชัตเตอร์ 1/50 ด้วยที่กล้องมี Electonic Shutter แล้วก็ตัวเลนส์มีระบบกันสั่นอยู่ ทำให้ผมที่ยังจะสามารถถ่ายภาพได้ชัดเจนอยู่เมื่อต้องใช้ชัตเตอร์ต่ำกว่าทางยาวโฟกัส

แต่ก็มีโอกาสที่จะเบลอบ้างเล็กน้อย ซึ่งผมมายืนยันว่าใช้ได้ในระดับที่สบายใจแต่อาจจะต้องย้ำเยอะหน่อยครับ

ความเห็นของผู้ใช้เกี่ยวกับ SIGMA fp

สรุปสำหรับผมในกล้องตัวนี้คือ เป็นกล้องที่ถ่ายภาพได้ดี สนุก น้ำหนักเบา เหมาะกับทุกคน แต่ก็ควรเข้าใจข้อจำกัดหลักของกล้องตัวนี้เรื่อง Flicker ครับ ถ้ารับเรื่องนี้ได้ กล้องตัวนี้ก็เป็นกล้องที่ให้ประสบการณ์ถ่ายภาพที่ดีเลย ที่สำคัญน้ำหนักเบา ราคาคุ้มค่า

ราคา SIGMA fp ในประเทศไทย

SIGMA fp (Body) ราคา 58,900 บาท (ประกันศูนย์ 2 ปี)
SIGMA fp + 45mm F2.8 DG DN ราคา 68,900 บาท (ประกันศูนย์ 2 ปี)

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SIGMA Fp

Exit mobile version