fbpx

10 ที่สุดของกล้องมิลเลอร์เลสฟูลเฟรม ปี 2020 ตัวเลือกสำหรับช่างภาพระดับผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ

การเลือกกล้องมิลเลอร์เลสฟูลเฟรมที่ดีที่สุดอาจจะเป็นเรื่องค่อนข้างยากลำบาก เนื่องจากต้องเกี่ยวพันกับตัวของผู้ใช้ และงบประมาณที่มีอยู่ อย่างไรก็ตามในช่วงหลายปีที่มีมาหลายค่ายในวงการกล้องมีการพัฒนากล้องแบบนี้ออกมามากมายเพื่อให้คุณได้มีโอกาสเลือกที่หลากหลาย

อย่าง Sony ก็มีการผลิตกล้องมิลเลอร์เลสฟูลเฟรม ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยรุ่น Alpha A7 เป็นตัวแรกที่มีการออกมาสู่ตลาดในปี 2013 ผ่านไปครึ่งทศวรรษตอนนี้มีคู่แข่งที่ออกกล้องในแนวนี้เพื่อขับเคี่ยวกับค่าย Sony มากมาย อย่างเช่น Leica ที่มีโมเดลหลายรุ่น แต่ก็ติดตรงที่ราคาค่อนข้างสูง

ขณะที่เมื่อปี 2018 Nikon, Panasonic และ Canon ต่างก็ออกมาประกาศในการผลิตกล้อง มิลเลอร์เลสฟูลเฟรม เป็นครั้งแรก และในปี 2019 ก็ยังมีกาคพัฒนาในส่วนของตัวบอดี้ใหม่ และเลส์ด้วย สำหรับ Nikon Z6 ตอนนี้เป็นกล้องมิลเลอร์เลสฟูลเฟรม ที่ดีที่สุดที่สามารถจับต้องได้ มีขนาดเล็ก, น้ำหนักเบา และราคาไม่แพง ขณะเดียวกันก็ให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ยอดเยี่ยม

ฉะนั้นการจะเลือกกล้องมิลเลอร์เลสฟูลเฟรม นั้นจะต้องวิเคราะห์ในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะการนำไปใช้ และงบประมาณที่มีอยู่

1.Nikon Z6 ใช้งานได้ทุกรูปแบบ ระบบ Z ดีเยี่ยม

เซ็นเซอร์ : ฟูลเฟรม CMOS
ความละเอียด : 24.5 ล้านพิกเซล
ออโต้โฟกัส : 273 จุด AF
หน้าจอ : 3.0 นิ้วแบบทัชสกรีนพับหน้าจอขึ้นลง, ความละเอียด 2.1 ล้านจุด
ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด : 12 เฟรมต่อวินาที
ถ่ายภาพยนตร์ : 4K ที่ 30p
ระดับผู้ใช้ : ผู้ที่สนใจ/ผู้เชี่ยวชาญ

  • ระบบความไวแสง ISO ดีเยี่ยม
  • ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์สุดยอด
  • มีช่องใส่การ์ดแค่ 1 ช่อง
  • ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง AF น่าจะดีกว่านี้ Nikon เป็นกล้องมิลเลอร์เลสฟูลเฟรม ที่มีการเปิดตัวในช่วงซัมเมอร์ 2018 โดยหลายแสดงความเห็นในเชิงเดียวกันว่ามันทำทุกอย่างได้ดีเยี่ยมเหมือนกับที่รุ่น Z7 สามารถทำได้ แต่จ่ายเงินน้อยกว่า ขณะเดียวกันก็มีบางอย่างที่เหนือกว่ารุ่น Z7 ด้วย นั่นก็คือในเรื่องอัตราการถ่ายภาพแบบรัวๆ ที่เร็วกว่า รวมทั้งการตั้งค่าสำหรับการบันทึกวีดิโอ
  • Handling สำหรับจับตัวกล้องทั้งสองรุ่นใช้โครงสร้างแบบเดียวกัน ดังนั้นคุณจะได้ช่องมองภาพที่โดดเด่นเหมือนกัน
  • หน้าจอก็สามารถปรับขึ้นลงได้ อีกจุดที่มีการเพิ่มขึ้นมาก็คือระบบกันสะเทือนแบบ 5 แกนที่ติดตั้งมาพร้อมกับตัวกล้อง ซึ่งนี่เป็นจุดเด่นของกล้อง DSLR จากค่าย Nikon
  • จริงๆ แล้วเรื่องสำคัญเพียงเรื่องเดียวที่มีการบ่นกันสำหรับกล้องรุ่นนี้ก็คือช่องใส่การ์ดมีเพียง 1 ช่องเท่านั้นซึ่งต้องทำการฟอร์แมตการ์ด XQD ในขณะเดียวกันกล้องจะได้ประโยชน์จากการฟอร์แมตการ์ด CFexpress ซึ่งกำลังเป็นการ์ดที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

2. Sony A7 III กล้อง Sony รุ่นที่ 3 ที่ใช้งานได้ทุกรูปแบบ และเป็นกล้องมิลเลอร์เลสที่สุดเลอค่า

เซ็นเซอร์ : ฟูลเฟรม CMOS
ความละเอียด : 24.2 ล้านพิกเซล
ออโต้โฟกัส : 693 จุด AF
หน้าจอ : 3.0 นิ้ว แบบทัชสกรีนหน้าจอปรับขึ้นลงได้
ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด : 10 เฟรมต่อวินาที
ถ่ายภาพยนตร์ : 4K
ระดับผู้ใช้ : ผู้ที่สนใจ/ผู้เชี่ยวชาญ

  • ช่วงการรับแสงที่กว้าง (Dynamic Range) ดีเยี่ยม
  • ภาพนิ่งและวีดิโอคุณภาพคับแก้ว
  • ช่องมองภาพ EVF บาง
  • ระบบทัชสกรีนน่าจะดีกว่านี้ แม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่กล้องรุ่นใหม่ล่าสุดที่อยู่ในลิสต์นี้ แต่สำหรับ Sony A7 III ยังคงเป็นกล้องที่มีออปชั่นเหมาะสมในปัจจุบัน แน่นอนว่ากล้องรุ่นนี้มีความสมดุลลงตัวทั้งฟีเจอร์กับการทำงานซึ่งคุ้มค่ากับราคา คุณสามารถคาดหวังรายละเอียดที่ชัดเจนจากเซนเซอร์ขนาด 24 ล้านพิกเซล ขณะเดียวกันการทำงานในสภาวะที่มีแสงน้อยก็ดีเยี่ยม
  • ในส่วนของความละเอียดก็ใช้ได้สำหรับการถ่ายภาพขนาดเล็ก ส่วนที่เด็ดสุดๆ ก็คือคุณจะได้ระบบกันสะเทือนแบบ 5 แกน และการบันทึกวีดิโอที่มีคุณภาพสูง คุณสามารถเลือกใช้งาน Sony A7 III เพราะราคาถือว่าใช้ได้ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนราคาจะลดลงมานับตั้งแต่ที่มีการเปิดตัว เนื่องจากมีคู่แข่งเยอะมากในตลาดกล้องรุ่นนี้

3. Sony A7R IV กล้องขนาดกลางแบบ Medium Format ที่มาพร้อมกับความละเอียดสูงสุด

เซ็นเซอร์ : ฟูลเฟรม CMOS
ความละเอียด : 61 ล้านพิกเซล
ออโต้โฟกัส : 567 จุด AF
หน้าจอ : 3.0 นิ้ว ระบบทัชสกรีนปรับขึ้นลงได้, ความละเอียด 1.44 ล้านจุด
ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด : 10 เฟรมต่อวินาที
ถ่ายภาพยนตร์ : 4K
ระดับผู้ใช้ : ผู้เชี่ยวชาญ

  • ให้ความละเอียดสูง
  • ถ่ายวีดิโอ 4K ได้อย่างสุดยอด
  • ระบบทัชสกรีนน่าจะดีกว่านี้
  • ราคาแพงระยับ นี่คือกล้องโมเดลใหม่ล่าสุดของ Sony ในตระกูล A7 โดยการเพิ่มตัว “R” เข้าไปหมายถึง “ความละเอียด” และคุณคงไม่มีทางพบอะไรที่จะให้ความละเอียดสูงมากกว่านี้อีกแล้ว กล้องรุ่นนี้มีความละเอียดถึง 61 ล้านพิกเซล นี่เป็นกล้องขนาดกลางที่สุดยอดที่สุด โดยจะให้ความละเอียดยิ่งกว่านี้เมื่อใช้กับเลนส์ G (G Lens)
  • Sony Alpha A7R IV เป็นรุ่นที่สี่สำหรับกล้องในตระกูล A7R และสำหรับตัวรุ่น A7R IV มีโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาจากรุ่นยอดฮิตได้แก่ A7R, A7R II และ A7R III ขณะเดียวกันการบันทึกวีดิโอเป็นแบบ 4K พร้อมกับระบบกันสะเทือน 5 แกนที่ทรงประสิทธิภาพ และยังมีช่องมองภาพสุดแจ่มความละเอียด 5.76 ล้านจุด (ดีที่สุดในตลาดกล้องรุ่นนี้)
  • ถ่ายภาพแบบรัวๆ ได้ถึง 10 เฟรมต่อวินาที พร้อมด้วยระบบ Hybrid AF 567 จุด, ช่องใส่การ์ดคู่, ระบบ Eye AF และอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนในจุดที่ไม่ชอบแทบจะไม่มีในโมเดลนี้ ความอึดของแบตเตอรี่ มีการพัฒนาขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับโมเดลตัวก่อนๆ สามารถถ่ายได้ถึง 530 ภาพต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

แน่นอนว่าคุณต้องตกหลุมรักกล้องที่ให้ความละเอียดสูงถึง 61 ล้านพิกเซล และเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจหากว่าคุณอยากลงทุนกับกล้องตัวนี้ ขณะเดียวกันถ้าคุณมีคอมพิวเตอร์ที่ช้า หรือค่อนข้างเก่า มันอาจจะเป็นอุปสรรคในการรับมือกับกระบวนการทำงานของไฟล์

4. Nikon Z7 กล้องมิลเลอร์เลสที่มีครบทุกอย่าง

เซ็นเซอร์ : ฟูลเฟรม CMOS
ความละเอียด : 45.7 ล้านพิกเซล
ออโต้โฟกัส : 493 จุด AF
หน้าจอ : 3.2 นิ้ว ทัชสกรีนพับขึ้นลงได้, ความละเอียด 2.1 ล้านจุด
ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด : 9 เฟรมต่อวินาที
ถ่ายภาพยนตร์ : 4K
ระดับผู้ใช้ : ผู้เชี่ยวชาญ

  • คุณภาพของภาพชัดเจน
  • จับถนัดมือ
  • มีข้อจำกัดในการเลือกใช้เลนส์
  • ช่องใส่การ์ดมีแค่ช่องเดียว สำหรับรุ่น Z7 เป็นตัวเรือธงในค่าย Nikon ตระกูล Z โดยมาพร้อมกับเซนเตอร์ความละเอียด 45.7 ล้านพิกเซล
  • โครงสร้างและความละเอียดเหมือนกับกล้อง DSLR รุ่น D850 ดังนั้นในส่วนที่มีความแตกต่างกันก็คือในเรื่องของความใหญ่, ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ความคมชัด และความละเอียดสูง, ระบบทัชสกรีนหน้าจอพับขึ้นลงความละเอียด 2.1 ล้านจุด
  • มีระบบกันสะเทือน และสามารถบันทึกวีดิโอ 4K ภายในทั้งหมดนี้ขนาดเล็ก และตัวบอดี้ก็เบา นอกจากนี้ยังระบบ Hybrid AF 493 จุด ครอบคลุมการโฟกัส 90 เปอร์เซ็นต์ของเฟรมภาพ ซึ่งมากกว่ารุ่น D850 และยังสามารถถ่ายรัวๆ ได้ถึง 9 เฟรมต่อวินาที

5. Canon EOS RP บางครั้งอะไรที่ว่าใหญ่ก็ไม่ใช่จะดีที่สุด เพราะ EOS RP พิสูจน์ให้เห็นแล้ว

เซ็นเซอร์ : ฟูลเฟรม CMOS
ความละเอียด : 26.2 ล้านพิกเซล
ออโต้โฟกัส : 5,655 จุด AF
หน้าจอ : 3 นิ้ว ระบบทัชสรีนปรับได้หลายทิศทาง, ความละเอียด 1.4 ล้านจุด
ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด : 5 เฟรมต่อวินาที
ถ่ายภาพยนตร์ : 4K
ระดับผู้ใช้ : ผู้ที่สนใจ

  • บอดี้เล็กแต่เซนเซอร์ฟูลเฟรม
  • ราคาสุดคุ้ม
  • แบตเตอรี่ไม่ค่อยแจ่ม
  • มีข้อจำกัดของเลนส์ ทางเลือกสำหรับตัวเรือธงในตระกูล EOS R โดยถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ถูกทางสำหรับ Canon ในการผลิตกล้องมิร์เรอร์เลส โดยในรุ่น EOS RP มีออปชั่นที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้คนที่สนใจ ขณะเดียวกันยังมีขนาดเล็ก, เบา และราคาค่อนข้างถูกเลยทีเดียว กระนั้นก็ยังมีระบบออโต้โฟกัสที่ดีมากๆ
  • Buffer ก็สุดยอด และยังมีระบบทัชสกรีนที่ดีมากๆ นอกจากนี้หน้าจอยังปรับได้หลายองศาทั้งมุมก้ม มุมเงย หรือพลิกมาเซลฟี่ก็ได้ สำหรับกล้องรุ่นนี้หากใช้เพื่อถ่ายวีดิโอยังถือว่าไม่ใช่ตัวเลือกแรก
  • เลนส์ Native lens ยังคงมีข้อจำกันในการเลือกเนื่องจากอาจจะไม่เข้ากับตัวบอดี้ที่เล็ก
  • รองรับการใช้กับเลนส์ EF ได้ แน่นอนว่าด้วยออปชั่นและศักยภาพของกล้องรุ่นนี้ ไม่มีทางที่จะขวางกันสำหรับคุณในการที่จะลองเปลี่ยนมาใช้กล้องมิลเลอร์เลสที่ไม่ได้ลดความสุดยอดในเครื่องคุณภาพเลย

6. Panasonic S1R ฟีเจอร์เด็ดความละเอียดสูง บอดี้ใหญ่ไปหน่อย

เซ็นเซอร์ : ฟูลเฟรม CMOS
ความละเอียด : 47.3 ล้านพิกเซล
เลนส์ : 24-105 มม. f/4
หน้าจอ : 3.2 นิ้ว ระบบทัชสกรีนพับขึ้นลงได้
ช่องมองภาพ : EVF
ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด : 9 เฟรมต่อวินาที
ถ่ายภาพยนตร์ : 4K 60fps
ระดับผู้ใช้ : ผู้เชี่ยวชาญ

  • ช่องมองภาพสุดยอด
  • การควบคุมเสียงดีเยี่ยม ความไวแสง ISO สูง
  • บอดี้ใหญ่และหนัก
  • ขนาด/น้ำหนักเยอะเกินไป Panasonic S1R มาพร้อมกับฟีเจอร์ที่น่าเหลือเชื่อ โหมด High Resolution ให้ความละเอียดในการจับภาพที่สูงถึง 187 ล้านพิกเซล พร้อมทั้งยังมีระบบกันสะเทือนภายในตัวเครื่องที่ทรงประสิทธิภาพมากๆ และยังสามารถจับภาพการถ่ายวีดิโอที่ไม่ใช่แค่ 4K เท่านั้น แต่ยังเป็น 4K/60p. เลยทีเดียว
  • Sony A7R IV อาจจะเหนือกว่าในแง่ของความละเอียดแบบเดิมๆ ที่ไม่ต้องปรับโหมดก็ตาม แต่ในส่วนของรายละเอียดต้องบอกเลยว่า Panasonic S1R สุดยอดมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพนิ่งแบบมาตรฐาน หรือการถ่ายภาพซ้อนด้วยโหมด High Resolution
  • เรื่องของขนาดอาจจะเป็นอุปสรรค โดย Panasonic S1R ให้ความรู้สึกเหมือนกับกล้อง DSLR รุ่นดั้งเดิม เพราะฉะนั้นมันก็เลยเสียความเป็นเอกลักษณ์ของกล้องมิลเลอร์เลส ปุ่มต่างๆ ก็เล็กด้วย
  • การโฟกัสในที่ที่มีแสงน้อยก็ไม่ค่อยไว หรือวางใจได้เหมือนกับคู่แข่งบางรุ่นของค่ายอื่น เเต่ถึงแม้ว่ามันอาจจะยากในการที่จะแข่งขันกับกล้องมิลเลอร์เลสฟูลเฟรมกับค่ายอื่น แต่ Panasonic S1R ก็ยังคงเป็นกล้องที่น่าประทับใจจริงๆ

7. Sony A9 II ราคาอย่างโหดแต่โหมดอย่างแรง แถมเจ๋งอีกต่างหาก

เซ็นเซอร์ : ฟูลเฟรม CMOS
ความละเอียด : 24.2 ล้านพิกเซล
ออโต้โฟกัส : 693 จุดจากการตรวจจับแบบ Phase-Detect
หน้าจอ : 3.0 นิ้ว ระบบทัชสกรีนพับขึ้นลงได้, ความละเอียด 1.44 ล้านจุด
ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด : 5 เฟรมต่อวินาที (20 เฟรมต่อวินาทีด้วย E-Shutter)
ถ่ายภาพยนตร์ : 4K
ระดับผู้ใช้ : ผู้เชี่ยวชาญ

  • จอไม่มืดเมื่อถ่าย 20 เฟรมต่อวินาที
  • Buffer ใหญ่
  • โคตรแพง
  • แบตเตอรี่ไม่อึด ในปีนี้ที่มีการจัดโอลิมปิก นั่นหมายความว่าคุณจะมีโอกาสได้ใช้กล้องเพื่อถ่ายการแข่งขันกีฬาอาชีพ และ Sony ก็โดดเข้าร่วมในการสร้างกล้องเพื่อแข่งขันกับค่ายอื่นๆ สำหรับใช้ในการถ่ายภาพในแนวนี้ โดยมีการอัพเดทล่าสุดจากรุ่นเดิมของ Sony A9 II ซึ่งโมเดลนี้ให้ความเร็วที่น่าเหลือเชื่อ และทรงพลังอย่างมาก
  • การพัฒนาแบบนี้ก็เพื่อที่จะแข่งขันกับคู่แข่งที่มีศักยภาพสูงในเรื่องการผลิตกล้องเพื่อใช้ด้านกีฬาอย่าง Canon 1DX Mark III และ Nikon D6 สำหรับส่วนที่มีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัดนั่นก็คือตัวกริปที่ลึก ซึ่งทำให้คุณสามารถถือ Sony A9 II ได้สบายๆ เป็นเวลานานๆ และยังสามารถถ่ายเบิ้ลได้เร็วพอๆ กับรุ่นก่อนหน้านี้
  • มีชัตเตอร์กลไกล ซึ่งตัว Canon 1DX Mark II สามารถกดรัวๆ ได้ 10 เฟรมต่อวินาที แต่ก็ยังไม่เร็วเท่ากับ Canon 1DX Mark III ที่ทำได้ 20 เฟรมต่อวินาที
  • สิ่งเดียวที่เป็นข้อจำกัดก็คือฟังค์ชั่นทัชสกรีนซึ่งถือเป็นจุดอ่อนของค่าย Sony ขณะที่การ์ดแบบ XQD หรือ CFExpress ช่วยสนับสนุนในเรื่องความเร็วในการถ่ายแบบต่อเนื่อง
  • Sony A9 II ก็ถือเป็นกล้องมิลเลอร์เลสที่มีประสิทธิภาพที่คุณสามารถซื้อและใช้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการถ่ายภาพกีฬา และการถ่ายภาพในป่า

8. Canon EOS R กล้องเรือธงของค่าย Canon ในปัจจุบัน ที่มาพร้อมกับลูกเล่นเพียบ

เซ็นเซอร์ : ฟูลเฟรม CMOS
ความละเอียด : 30.3 ล้านพิกเซล
ออโต้โฟกัส : 5,655 จุด AF
หน้าจอ : 3.15 นิ้ว ระบบทัชสกรีนปรับได้หลายทิศทาง, ความละเอียด 2.1 ล้านจุด
ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด : 8 เฟรมต่อวินาที
ถ่ายภาพยนตร์ : 4K
ระดับผู้ใช้ : ผู้ที่สนใจ/มืออาชีพ

  • ช่องมองภาพโดดเด่น
  • ใช้งานได้ดีกับเลนส์ EF
  • การควบคุม M-Fn ยังไม่ค่อยดี
  • ขนาดไม่ได้เล็กไปกว่ากล้อง DSLR Canon EOS RP อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับคุณที่มีงบประมาณจำกัด และไม่จำเป็นต้องใช้กล้องระดับเรือธง แต่สำหรับรุ่น EOS R นั้น Canon ถือว่าได้เปรียบอย่างมากสำหรับกล้องแบบมิลเลอร์เลสในปัจจุบัน โดยสิ่งที่เหนือกว่ารุ่น EOS RP ก็คือขนาดที่ใหญ่กว่า และมีช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ความละเอียดเยอะมากพร้อมกับหน้าจอ LCD ที่ดีกว่า และมีเซนเซอร์ความละเอียดสูงรวมทั้งการถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว
  • ตัวบอดี้ที่ใหญ่ถือเป็นเรื่องดีในการรองรับเลนส์ที่มีน้ำหนักเยอะ ขณะเดียวกันในเรื่องของอะแด็ปเตอร์นั่น Canon มั่นใจว่าคุณจะสามารถใช้เลนส์ EF ได้อย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่มีปัญหาใดๆ เลย
  • ระบบออโต้โฟกัส และการล็อกค่าแสงอัตโนมัติ (AE :Auto Exposure) ทำงานได้เวิร์กสุดๆ อย่างที่คุณคาดหวัง ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการเปิดเผยว่าทาง Canon ได้เตรียมทำการพัฒนากล้องรุ่น EOS R ออกมาอีก บอกเลยว่านี่คือทางเลือกที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับคนที่นิยมใช้กล้องของค่ายนี้ ซึ่งแน่นอนว่าพวกเขาไม่สนใจที่จะใช้กล้องแนว DSLR อยู่แล้ว

9. Sony A7S II แม้จะรุ่นเล็ก แต่เป็นตัวเลือกเด็ดสำหรับการถ่ายวีดิโอ และถ่ายในที่แสงน้อย

เซ็นเซอร์ : ฟูลเฟรม
ความละเอียด : 12.2 ล้านพิกเซล
ออโต้โฟกัส : 169 จุด AF
หน้าจอ : 3.0 นิ้ว หน้าจอพับขึ้นลงได้, ความละเอียด 1.22 ล้านจุด
ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด : 5 เฟรมต่อวินาที
ถ่ายภาพยนตร์ : 4K
ระดับผู้ใช้ : ฝีมือปานกลาง/มืออาชีพ

  • ช่วงการรับแสงที่กว้าง
  • เซนเซอร์หลักมีระบบกันสะเทือน
  • ไม่มีระบบ Hybrid AF
  • สเปกการถ่ายวีดิโอยังน้อย แม้จะรู้สึกว่า Sony A7S II มีการอัพเดทมานานแล้วก็ตามซึ่งในตลาดก้องก็น่าจะประมาณ 4 ปีแล้ว
  • ความละเอียดก็ยังให้ความสมบูรณ์ไม่มีอะไรต้องกังวล ส่วนในเรื่องการถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อย หรือการถ่ายวีดิโอ ยังถือว่าโดดเด่นสำหรับรุ่นนี้
  • เซ็นเซอร์ที่ให้ความละเอียด 12.2 ล้านพิกเซลถือว่าเป็นหัวใจของกล้องรุ่นนี้ พร้อมกับให้ค่าความไวแสง ISO 102,400 แบบเดิม และขยายได้เพิ่มขึ้นไปถึง ISO409,600
  • การถ่ายวีดิโอ 4k มาพร้อมกับการอ่านค่าแบบฟูลพิกเซล และระบบกันสะเทือนแบบ 5 แกน
  • ข้อเสียมีแค่ระบบการการตรวจสอบความเปรียบต่าง(Contrast detection AF) เท่านั้น และยังไม่มีระบบทัชสกรีน แม้ว่าจะมีจุดด้อยก็ตามแต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับคนที่เป็นช่างภาพมืออาชีพซึ่งต้องการช่วงการรับแสงที่กว้าง และประสิทธิภาพที่สุดยอดในการถ่ายภาพในสถานที่ที่มีแสงน้อย

10. Panasonic Lumix S1 ฟูลเฟรมตัวแรกของค่าย Panasonic

เซ็นเซอร์ : ฟูลเฟรม CMOS
ความละเอียด : 24.2 ล้านพิกเซล
ออโต้โฟกัส : 225 จุด AF
หน้าจอ :3.2 นิ้ว ระบบทัชกรีนหน้าจอพับขึ้นลงได้, ความละเอียด 2.1 ล้านจุด
ความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด :9 เฟรมต่อวินาที
ถ่ายภาพยนตร์ : 4K
ระดับผู้ใช้ : ฝีมือปานกลาง/มืออาชีพ

  • ภาพคมชัด และวีดิโอสุดยอด
  • ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์เจ๋งจริง
  • ขนาดใหญ่และหนัก
  • เลนส์ราคาไม่แพงมีให้เลือกไม่เยอะ Panasonic ลองอะไรใหม่ๆ กับกล้องในตระกูล S ซีรี่ส์ โดยสำหรับรุ่น S1 ถือเป็นออปชั่นที่ดีซึ่งราคาไม่แพงมากนัก แต่ยังอัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีที่น่าประทับใจ และมาพร้อมกับเซนเซอร์ฟูลเฟรมความละเอียด 24.2 ล้านพิกเซลซึ่งมีประสิทธิภาพสูงเมื่อมีการถ่ายภาพนิ่ง และวีดิโอ 4K
  • เซนเซอร์หลักเป็นระบบกันสะเทือนซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีเยี่ยม ในส่วนของจุดที่โดดเด่นสำหรับกล้องรุ่นนี้คงหนีไม่พ้นช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกสื ต้องบอกเลยว่า ณ ตอนนี้ ถือว่าดีที่สุด
  • ข้อเสียก็อยู่ตรงที่มีขนาดใหญ่และหนัก ทำให้การถ่ายในบางครั้งค่อนข้างติดขัด
  • ระบบออโต้โฟกัส ยังคงตามหลังคู่แข่งในค่ายอื่นๆ อย่างไรก็ตามนี่ยังคงเป็นเพียงโมเดลแรกๆ ของค่าย Panasonic เท่านั้น และในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าค่ายนี้จะผลิตกล้องที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดียิ่งกว่านี้

รวมบทความถ่ายภาพเเละไอเดียถ่ายภาพเพิ่มได้ที่นี่

source : https://www.techradar.com/

Start typing and press Enter to search

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save