
12 ข้อผิดพลาดสำหรับมือใหม่ ในการถ่ายภาพท่องเที่ยว
12 ข้อผิดพลาดสำหรับมือใหม่ ในการถ่ายภาพท่องเที่ยว อันนี้จะเป็นประเด็นที่ตอนเราเป็นมือใหม่เริ่มต้นทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ก็ต้องมีเรื่องผิดพลาดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ซึ่งในประเด็นวันนี้จะเจาะเรื่องของการที่เราถ่ายภาพท่องเที่ยวแล้วอาจจะเผลอ หรือว่าพลาดในการทำเพื่อใช้เช็คตัวเองและลองปรับไอเดียกันดูนะ
สำหรับคนที่เพิ่งถ่ายรูป แนะนำอ่าน 180 บทความสอนถ่ายภาพมือใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนโปรด้วยนะ
– 180 บทความพื้นฐานถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ ให้เริ่มต้นได้ง่าย และเลือกอ่านได้สะดวก

12 ข้อผิดพลาดสำหรับมือใหม่ ในการถ่ายภาพท่องเที่ยว
1. ถ่ายภาพติดวัตถุ คน หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ดูไม่เป็นเรื่องราวเดียวกันลงไปในภาพ
ในการถ่ายภาพท่องเที่ยว บางครั้งมีสิ่งของซึ่งไม่ควรจะอยู่ในภาพ หรืออาจจะมีผู้คนในภาพเยอะมากเกินไป ส่วนมากก็จะแก้ไปหลังจากได้ภาพกลับไปแล้ว บ้างก็ตัดออก บ้างก็ลบออก คนที่ถ่ายภาพบ่อย ๆ จะเริ่มรู้สึกและสัมผัสได้ว่า สิ่งไหนควรหรือไม่ควรอยู่ในภาพ

ดังนั้นการที่ทำให้ภาพสมบูรณ์ตั้งแต่แรกจะช่วยได้เยอะเลย
- ไปถึงสถานที่ถ่ายภาพก่อนจะดีสุด – บางสถานที่ ต้องเดินทางไปให้เร็ว ถึงก่อนคนอื่น ตื่นเร็วกว่าคนอื่น จึงเลี่ยงฝูงชนได้
- ถ่ายภาพให้เยอะ เพื่อใช้ในการปรับแต่งและแก้ไขภาพ และได้จังหวะที่ดีขึ้น – ตั้งกล้องไว้บนขาตั้ง แล้วถ่ายรูปซ้ำซักสามสี่รูป แล้วย้ายมุมไปให้รอบ ถ่ายให้ได้ทุกมุม และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยลบคนออกจากรูปได้
- ฝึกตกแต่งภาพบ้าง เพราะได้ใช้ทักษะเหล่านี้แน่นอน – ใช้เครื่องมือนี้ในการลบวัตถุที่ไม่พึงประสงค์ออก อาจจะเป็นบางจุด ถุงขยะ หรือ สายไฟ เสาไฟฟ้า
2. มีปัญหาการถ่ายย้อนแสง
เคยไปเที่ยว อยากจะถ่ายกับสถานที่สำคัญ แล้วเอากลับมาอวดเพื่อน แต่กลับไม่เป็นอย่างที่ใจคิด สถานที่นั้นอยู่มุมที่ย้อนแสงพอดี ถ่ายมาแล้วอาจจะแบบ มืดหนัก ๆ เลยก็ได้ ซึ่งถ้าเราอยากจะได้มุมแบบนั้นต้องทำยังไงล่ะ

- เข้าใจแสงให้มากขึ้น – วางแผน และรู้จักสถานที่ที่จะไปก่อน แสงเข้าทางไหน ช่วงเวลาไหนที่สถานที่นั้นจะมีแสงที่สวยที่สุด
- เปลี่ยนด้าน เปลี่ยนมุม – บางครั้ง การถ่ายภาพบุคคลจากมุมหนึ่งอาจจะได้ภาพที่เจอกับแสงโดยตรง ลองเปลี่ยนมุมเปลี่ยนทิศ การลองแก้ปัญหาเหล่านี้ จะทำให้ ได้พัฒนาทักษาด้านการแก้ปัญหาได้ แถมยังได้ภาพที่สวย ดูดีอีกด้วย
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายภาพย้อนแสงให้มากขึ้น – ในการถ่ายภาพย้อนแสงจริง ๆ มีวิธีที่จะทำความเข้าใจสำหรับมือใหม่ให้ง่ายขึ้นอยู่นะ ลองอ่านบทความเสริมเรื่องการถ่ายภาพย้อนแสงได้เลย
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพย้อนแสง
3. ไม่เปลี่ยนมุมมองบ้าง เพื่อลองถ่ายภาพในมุมมองใหม่ให้มากขึ้น
ถ้าภาพที่ถ่ายออกมา เป็นภาพที่ถ่ายที่มีมุมเดิม ระดับการมองแบบเดิม เช่น ถ่ายภาพขณะยืนหรือนั่งเพียงมุมเดียว ซึ่งจริง ๆ แค่การเปลี่ยนจากยืน เป็นนั่ง ก็เป็นการเปลี่ยนมุมมองได้แล้ว ลองเปลี่ยนมุม แล้วภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนความรู้สึกไปด้วย เช่น การพยายามหาจุดที่สูงขึ้น จากตึกข้าง ๆ หรือ มุมสูงด้วยโดรน มุมเงยก็ให้ภาพที่ได้เรื่องราวต่างกันออกไป

อาจจะก้มลงถ่ายแนวระนาบกับพื้น ใช้ดอกไม้ ต้นไม้แถวนั้น เป็นฉากหน้า (Foreground) ใช้ถนนที่ลาดยาว เป็นเส้นนำสายตาไปสู่ตัวแบบก็ได้นะ

4. แต่งภาพเกินจริง หรือหนักมือเกินไปหน่อย
เมื่อถ่ายภาพออกมาแล้ว การตกแต่งภาพหลังจากนั้น ก็เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ด้วย พยายามจัดทุกอย่างให้สมบูรณ์มากที่สุด แล้วใช้กระบวนการ post-processing เพื่อช่วยให้ดึงความโดดเด่นของภาพให้มากขึ้น แต่บ่อยครั้งตอนที่เราถ่ายภาพแรก ๆ เราก็มักจะคิดว่าภาพที่สวยคือภาพที่แต่งเยอะ ๆ (ก็มีส่วนถูกอยู่บ้างแต่ไม่ใช่ทั้งหมด)

บางครั้งการแต่งภาพ หรือเปลี่ยนโทนสีโดยการใช้พรีเซ็ต ทำให้ภาพออกมาสวยและดูโดดเด่น แต่ในบางครั้งถ้ามากเกินไป หนักมือเกินไป หรือสีสัน โทนภาพไม่ได้สื่อสารได้ตรงกับเรื่องราวในภาพได้อย่างสอดคล้องกันก็อาจจะดูเป็นภาพที่ไม่สมจริง และดูเยอะเกินไปได้
5. คิดว่าภาพจะสวยอยู่ที่การตั้งค่ากล้องเป็นหลัก จริง ๆ ไม่ใช่แบบน้านนนน
ตอนที่เราถ่ายภาพเนี่ย แน่นอนว่าการตั้งค่าที่ถูกต้องช่วยให้เราได้ค่าแสงที่เหมาะสม หรือได้ภาพอย่างที่เราตั้งใจไว้ ซึ่งนั่นมักจะเกิดกับคนที่เข้าใจแล้วว่าจะปรับการตั้งค่ากล้องไปเพื่อตอบโจทย์อะไร แต่สำหรับคนที่เริ่มต้นนั้นอยากให้ปรับมุมมองเล็กน้อยครับ เพราะตอนที่เราเริ่มหัดถ่ายภาพ เรามักจะคิดว่า ทุกอย่างต้องอยู่ที่การตั้งค่ากล้อง ถึงจะได้ภาพสวย ซึ่งก็มีส่วนถูกนะ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดครับ การเล่าเรื่อง การถ่ายทอดอารมณ์ การจัดองค์ประกอบ สิ่งเหล่านี้ก็มีความสำคัญมาก ๆ เหมือนกัน

ดังนั้นการตั้งค่ากล้องที่ถูกต้องก็ควรจะรู้แหละ แต่อยากจะให้มีมุมมองในหัวว่าเรากำลังจะถ่ายภาพเพื่อบอกเล่าอะไร สื่อสารอะไร ค่อยโยงไปถึงว่าการตั้งค่ากล้องเพื่อตอบโจทย์ให้เราได้ถ่ายภาพตรงนั้นน่าจะดีกับคนเริ่มต้นมากกว่า
6. โฟกัสไม่ถูกจุด
การถ่ายภาพให้คมชัดเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ดังนั้นจะให้ภาพชัดได้ ก็ต้องเข้าใจและรู้จักการโฟกัส การตั้งค่าเป็นโฟกัสอัตโนมัติให้กล้องคิดแทนให้ ก็ใช้ได้ดี แต่บางครั้งกล้องจะโฟกัสในจุดที่ไม่ถูกต้องก็จะทำให้ภาพตรงส่วนที่ควรจะถูกโฟกัสเบลอไปได้

ดังนั้น มือใหม่ควรสังเกตให้มากขึ้น เริ่มจากง่าย ๆ อย่างภาพบุคคลจะเข้าใจง่ายเลย ถ้าหากภาพที่เราต้องการให้เห็นถึงสายตาที่แบบสื่อสารออกมา แต่เราโฟกัสที่จุดอื่นนอกจากสายตา ภาพก็สื่อสารความรู้สึกหรืออารมณ์ไม่ได้เป็นต้น ภาพแนวอื่น ๆ ก็เหมือนกันครับ จุดสนใจที่เราอยากจะสื่อสาร เราก็ควรโ
7. ควรแลกเปลี่ยนมุมมองกับคนที่มีประสบการณ์มากกว่าเราบ้าง
การถ่ายภาพต้องใช้การฝึกฝน และเรียนรู้ตัวตัวเองอยู่เสมอ แต่ก็มีข้อดีที่ต้องหาเพื่อน หรือคนที่ถ่ายภาพเก่งกว่า เพื่อขอคำแนะนำ คำติชมที่ได้รับจะเป็นตัวที่ช่วยให้งานถ่ายภาพพัฒนาขึ้น เช่นการเข้าร่วมทีมหรือการร่วมทริปถ่ายภาพ กับคนอื่น เพื่อเรียนรู้แนวคิดของผู้อื่น เพราะแต่ละคนมีความรู้ที่แตกต่างกัน ต่างมุมมอง ดังนั้นการที่ได้มีประสบการณ์และได้แบ่งปันประสบการณ์ระหว่างช่างภาพด้วยกันเอง เป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากเลยนะ

8. ยังหาสไตล์ที่เป็นของตัวเองไม่เจอ
การหาสไตล์ของตัวเองไม่เจอ เป็นปัญหาของทุกแขนงงานด้านศิลปะ มันดูง่ายสำหรับบางคน แต่บางครั้งก็รู้สึกยากที่จะหาสไตล์ของตัวเอง การเรียนเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญ และนำเทคนิคเหล่านั้นมาลองทำ และลองปรับให้เข้ากับตัวของเรา ก็จะช่วยให้หาสไตล์ของตัวเองได้เหมือนกัน และอีกอย่างที่ช่วยได้ คือการอยู่รวมกลุ่มกับช่างถ่ายภาพคนอื่น ใช้เวลาร่วมกัน แบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ก็จะช่วยให้หาสไตล์ของตัวเองได้ด้วยนะ

สิ่งสำคัญคือลองกลับมาถามตัวเองว่า อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เราอยากถ่ายภาพ หรือภาพแนวไหนที่เราชอบเป็นพิเศษแล้วอยากจะพัฒนาให้มากขึ้น อยากถ่ายภาพแนวนี้มากขึ้น หรืออยากพัฒนาแนวนี้ให้รู้สึกมีความสุข เติมเต็มมากขึ้น เราก็จะเริ่มเข้าใจแนวทางหรือความชอบของตัวเองง่ายขึ้นครับ
9. ไม่เรียนรู้เพิ่มเติมให้มากขึ้น
เมื่อเรียนรู้ทุกอย่าง ตัดภาพเป็น จัดองค์ประกอบได้ มีกลุ่มเพื่อนช่างภาพ มีสไตล์เป็นของตัวเอง พอได้แล้วก็หยุดพัฒนาตัวเอง เป็นเรื่องที่พลาดอย่างมาก การถ่ายภาพ มีการวิวัฒน์ และพัฒนาอยู่เสมอ แนวทางการถ่ายภาพ การใช้สี หรือแม้แต่เทรนด์การแต่งภาพ ก็ยังคงต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้กล้องรุ่นใหม่ ก็มีการพัฒนา รวมถึงอุปกรณ์เสริมที่มีก็ช่วยให้ถ่ายภาพได้ดีขึ้น ดังนั้น อย่าคิดว่าทำได้แล้ว พอแล้ว แต่ให้พัฒนาตัวเองเรื่อยไป อย่าหยุด

10. ไม่มีตัวแบบหลัก
บางครั้งมือใหม่มักคิดว่า การถ่ายภาพวิว ไม่จะเป็นต้องมีคน หรือไม่จำเป็นต้องมีตัวแบบหลัก จริง ๆแล้ว การถ่ายภาพทุกแนวต้องเข้าใจว่า ภาพที่ถ่ายออกมานั้น ต้องการนำเสนอจุดไหนเป็นหลัก ตัวแบบหลักคือสิ่งที่อยากจะให้คนดู เห็นเป็นอันดับแรกนั่นแหละ ในบางครั้งการถ่ายภาพวิว ก็จำเป็นจะต้องมีภาพคนข้ามา เพื่อช่วยให้คนเป็นตัวแบบหลักของภาพนั่นเอง

11. มีสิ่งอื่นรบกวน ดึงความสนใจออกจากตัวแบบ
เมื่อมีตัวแบบหลักแล้ว ก็ต้องวางตัวแบบหลักให้เด่นที่สุด อย่าให้สิ่งอื่น มาแย่งความเด่นของตัวแบบหลักไป เช่น การถ่ายภาพวิว ต้องพยายามจัดเฟรมให้กับภาพ ดังนั้นอย่าลืมว่า อย่าให้ตัวฉากหน้า หรือ ฉากหลัง มาแย่งความสนใจออกไปจากตัวแบบ ใช้เลนส์ มุม ระยะของเลนส์ หรือ รูรับแสง เพื่อลดความสนใจจุดอื่น หรือเบลอตัวที่ไม่อยากให้เด่นนั่นแหละ

12. องค์ประกอบไม่เหมาะสม
การจัดองค์ประกอบ หมายถึงการจัดสัดส่วนภาพ การจัดเฟรม การใช้เส้นนำสายตา ดังนั้นมือใหม่ควรจะเริ่มศึกษาจาก เรื่องการจัดองค์ประกอบพื้นฐานเหล่านี้ก่อน เพื่อจะได้เป็นพื้นฐานความคิด ก่อนที่จะถ่ายภาพอะไรก็จาก จะได้มีหลักเพื่อยึดไว้ก่อน และเมื่อคล่องแล้ว ก็อาจจะเริ่มหามุมและแนวของตัวเอง โดยไม่ทำตามกฎบ้างก็ได้

รวมบทความถ่ายภาพ PORTRAIT เบื้องต้นสำหรับมือใหม่ ตั้งแต่ BASIC PHOTOGRAPHY และ PORTRAIT PHOTOGRAPHY แบบครบจบทุกหัวข้อ
- การตั้งค่ากล้องถ่ายภาพ Portrait สำหรับมือใหม่
- 7 ไอเดียถ่ายภาพ Portrait แฟนที่ไม่ใช่นางแบบ
- 7 เทคนิคการถ่ายภาพ Portrait ตอนกลางคืน และที่แสงน้อย ที่มือใหม่สามารถทำตามได้ง่าย ๆ
- 10 เทคนิคในการใช้ Flash ถ่ายภาพ Portrait สำหรับมือใหม่
- 14 ไอเดียถ่ายภาพ Portrait แฟนให้สวย มือใหม่ก็สามารถทำตามได้
- 20 วิธีจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจที่สุด