
4 เคล็ดไม่ (ลับ) ของการถ่ายภาพมาโครด้วยมือถือ
4 เคล็ดไม่ (ลับ) ของการถ่ายภาพมาโครด้วยมือถือ ฟีเจอร์การถ่ายนึงที่น่าสนใจ บนกล้องสมาร์ทโฟนที่ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ จนสามารถนำมาใช้งานได้จริงบนสมาร์ทโฟน จากเมื่อก่อนที่จะต้องใช้ตัวเลนส์เสริมเข้ามาช่วยในการถ่ายภาพอยู่เสมอ หรือ วิธีการที่นำเลนส์กล้องเข้าไปใกล้วัตถุ กล้องก็จะไม่โฟกัส เพราะเป็นการถ่ายจากเลนส์ธรรมดา หรือแม้กระทั่งการซูมแบบดิจิตัล ก็จะทำให้คุณภาพของภาพถ่ายดรอปลงด้วย

4 เคล็ดไม่ (ลับ) ของการถ่ายภาพมาโครด้วยมือถือ
ซึ่งการมีฟีเจอร์มาโครใส่เข้ามาบนกล้องสมาร์ทโฟนนั้นก็ช่วยในเรื่องของความสะดวกสบายที่จะไม่ต้องพกตัวเลนส์เสริม แต่ถ้าหากเพื่อนๆ อยากได้ภาพมาโครที่มีคุณภาพที่ละเอียด ก็ยังแนะนำว่าควรจะใช้เลนส์เสริมครับ
ในวันนี้เราจะมาดูไอเดียและเคล็ดลับในการถ่ายภาพมาโครด้วยสมาร์ทโฟนกันนะครับ
1. หาตัวแบบหลักแนวธรรมชาติที่ดูน่าสนใจ
แนวทางการเลือกตัวแบบเพื่อนำมาถ่ายภาพมาโคร ที่นิยมมักจะเป็นแมลงตัวเล็ก ดอกไม้หรือวัตถุที่มีรายละเอียดที่เล็กมากๆ แม้กระทั่งสายตาปกติของเราไม่สามารถมองเห็นหรือการใช้เลนส์ปกติก็ยังไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดของวัตถุที่เล็กมากๆ ได้ เลนส์มาโครจึงเป็นตัวช่วยที่ดีครับ

ตัวแบบที่น่าสนใจที่จะใช้ถ่ายมาโครนั้น เช่น แมลงตัวเล็กๆ ดอกไม้ ใบไม้ ที่มีสีสันและรายละเอียดที่น่าสนใจ ในโลกของมาโครนั้นการได้เห็นแบบหลักเหล่านี้ ในมุมมองที่แตกต่างออกไป ทำให้ตัวแบบที่ดูธรรมดานั้นดูน่าสนใจมากขึ้น
2. ใช้สี รูปร่างและลักษณะของวัตถุมากระตุ้นความสนใจ
การสร้างความน่าสนใจให้กับตัวแบบ การเลือกโทนสีของวัตถุ ที่มีความโดดเด่น สีที่โดดเด่นจะช่วยสร้างความสนใจให้กับภาพถ่าย ได้อย่างดีเลยครับ นอกจากนั้นยังมีในเรื่องของ รูปร่างของวัตถุที่จะทำให้ภาพโดดเด่น เมื่อเราอยู่ท่ามกลางธรรมชาติเราจะได้เรียนรู้ว่า รูปร่างของใบไม้และดอกไม้ มีรูปร่างแตกต่างกันออกไปเยอะมาก เผื่อว่าจะเจอรูปร่างที่น่าสนใจและแปลกตาก็นำมาถ่ายภาพเพื่อสร้างสตอรี่ที่น่าดึงดูดได้ครับ ต่อมาเราจะมาดู texture ของวัตถุตามธรรมชาติ การถ่ายภาพให้เห็นพื้นผิวของวัตถุที่ชัดเจน ทำให้ภาพใบไม้ หรือ สิ่งที่หมดอายุขัยของมัน กลับมามีชีวิตชีวาขึ้น เมื่อสภาพพื้นผิวถูกทำให้โดดเด่นและยังดูน่าค้นหา

3. จับโฟกัสของวัตถุหลักให้คมชัด เพื่อให้เห็นรายละเอียดได้ชัดเจน
เรื่องของการโฟกัสนั้นสำคัญมาก การถ่ายมาโครจะต้องเน้นโฟกัสให้ถูกจุด โดยพิจารณาจากจุดที่เรามองเห็นแล้วว่าดูโดดเด่นกว่าทุกส่วนของภาพ ให้เราทำการล็อกโฟกัสไปยังจุดนั้นและจะต้องคอยปรับระยะห่างระหว่างกล้องกับตัวแบบไว้ให้ดี เพื่อให้ตัวแบบนั้นอยู่ในระยะโฟกัสที่เหมาะสม เพื่อคงความคมชัดไว้

4. เช็คให้แน่ใจว่าฉากหลังนั้นซัพพอร์ทตัวแบบหลักได้ดี
ฉากหลังที่ดีจะต้องทำหน้าที่รับส่ง ทำให้ตัวแบบโดดเด่น ไม่ดูกลมกลืนไปกับพื้นหลัง ถึงแม้ว่าฉากหลังจะถูกทำให้เบลออยู่ตลอดเวลา แต่นั่นก็เป็นส่วนที่สำคัญเช่นกันครับ ฉากหลังที่ดีจะส่งเสริมให้ตัวแบบดูโดดเด่น จะต้องไม่เบนความสนใจไปฉากหลังนั้นเองครับ พยายามควบคุมฉากหลังให้ดูไม่ซับซ้อนมากเกิน อาจจะเน้นเป็นแบบเรียบง่ายเข้าไว้

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND
รวมบทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่และการใช้โหมดต่าง ๆ
- การตั้งค่ากล้องถ่าย PORTRAIT สำหรับมือใหม่
- EXPOSURE TRIANGLE พื้นฐานการตั้งค่า APERTURE, SHUTTER SPEED, ISO รู้เรื่องนี้ ถ่ายโหมด M ได้แน่นอน!
- โหมด P A S M ต่างกันยังไง ควรใช้โหมดไหนถ่ายภาพ
- โหมดวัดแสง การวัดแสง และ ระบบวัดแสง ฉบับมือใหม่เข้าใจง่าย เลือกใช้ได้ไม่พลาด
- การตั้งค่า White Balance สำหรับมือใหม่
- 7 วิธีลัดสำหรับมือใหม่ ถ่ายโหมด M ด้วยตัวเอง
- 9 เทคนิคถ่ายภาพตอนกลางคืน
- ถ่ายภาพในที่มืดยังไงให้คม