
5 วิธีตั้งค่ากล้องมือใหม่ จำง่ายใช้จริง สำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพ
5 วิธีตั้งค่ากล้องมือใหม่ จำง่ายใช้จริง สำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพ เทคนิควิธีการถ่ายภาพมีให้เรียนรู้กันอย่างมากมาย ทั้งสิ่งที่ต้องจำ เเละสิ่งที่ต้องฝึกฝนเรียนรู้กันอย่างไม่รู้จบ บางเทคนิคก็ยากที่จะเข้าใจ ขนาดความรู้พื้นฐานยังคงต้องเปิดโน๊ตที่จดไว้ก่อนถ่ายภาพซะอีก บทความนี้จะช่วยให้ผู้เริ่มต้นถ่ายภาพ จดจำค่าต่าง ๆ และวิธีการตั้งค่าได้ง่ายขึ้น

5 วิธีตั้งค่ากล้องมือใหม่ จำง่ายใช้จริง สำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพ
1. ISO ปรับเป็นค่าเเรก แต่เปลี่ยนทีหลังสุด (ควรปรับค่ารูรับแสง, ความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการให้เรียบร้อยก่อนตั้ง ISO นะครับ)
ก่อนที่จะถ่ายภาพ ถามตัวเองก่อนว่า เเสงตอนนี้มีลักษณะอย่างไร เเสงเข้ม เเดดเเรง หรือเเสงอ่อนตอนเช้า หรือเย็น ค่ำ มืด ก็ให้ตั้งค่าตามลักษณะของเเสงก่อน เช่น
- เเดดเเรงจัด เเสงจ้า : ISO 100-200
- พลบค่ำ เเสงทึม ๆ : ISO 400-800
- แสงไฟในตัวอาคาร: ISO 800-1600 (บางสถานที่เค้าจัดเเสงดีอาจจะปรับเเค่ 200-400 ก็ยังไหวนะ)
- เเสงน้อย ตอนค่ำ ตอนกลางคืน : ISO มากว่า 1600 (ขึ้นอยู่กับความสามารถของกล้องด้วยจะปรับสูงได้นะเเต่ถ้าเกิด noise ก็ให้ปรับต่ำลงมาก็ได้ เเล้วปรับเเสงโดยใช้ค่าหลักอื่น ๆ เช่นรูรับเเสงเเละความเร็วชัตเตอร์เเทน)

เเล้วถ้าปรับค่ารูรับเเสงเเละความเร็วชัตเตอร์เเล้ว ยังคงได้เเสงที่ยังไม่ใช่อย่างที่คิด ค่อยปรับ ISO ทีหลังสุดเลย
2. ความเร็วชัตเตอร์ รูรับเเสงใช้ควบคุมเเสง
ทั้งความเร็วชัตเตอร์ และรูรับเเสง ทั้งคู่ต่างทำหน้าที่ควบคุม เเละกำหนดปริมาณเเสงที่เข้ามาในกล้อง เเต่ทั้งคู่ก็มีจุดมุ่งหมายในการทำงานที่ต่างกัน ความเร็วชัตเตอร์จะเกี่ยวข้องกับการจับการเคลื่อนที่ของวัตถุตัวเเบบ เเละ รูรับเเสงจะช่วยทำให้ภาพมีมิติตื้นลึก

ดังนั้นต้องมีเป้าหมายว่า อยากได้ภาพเเบบไหนไว้ในใจ เเล้วจึงค่อย ๆปรับสองค่านี้ ตามลักษณะที่วางเเผนไว้นั่นเเหละ เช่นอยากจะได้ภาพ portrait หน้าชัดหลังเบลอ คมชัด หรือถ่ายทิวทัศน์ เพื่อให้เห็นรายละเอียดชัดทั้งภาพ หรือ น้ำตกที่ตกลงมาเป็นเส้นสาย ก็ปรับค่าตามความเหมาะสมได้ ซึ่งเราจะมาดูต่อไปว่า เเล้วตั้งค่าสองค่านี้อย่างไร
3. ความเร็วชัตเตอร์: ช้า – ไฟเป็นเส้น เร็ว – หยุดการเคลื่อนไหว
หลัก ๆ เเล้วความเร็วชัตเตอร์ ก็คือการจับการเคลื่อนที่ คือ ถ้าต้องการเป็นทิศทางการเคลื่อนที่ เช่น น้ำตกเป็นเส้น เเสงไฟเป็นเส้น ฟ้าเป็นเส้น ก็ให้ใช้ความเร็ซชัตเตอร์ที่ช้า เเต่ถ้าอยากจะหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุ เช่น ถ่ายภาพกระโดดน้ำกระเซ็นเป็นหยด นักเทนนิสที่กำลังหวดลูก หรือจังหวะการกระโดดของสัตว์เลี้ยง ก็ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เร็ว เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวนั่นเองครับ

ตัวอย่างการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ (เเค่เริ่มปรับจากตรงนี้ จะปรับขึ้นลง ก็ดูกันอีกทีนะ)
รถที่กำลังเคลื่อนที่ : 1/4000
คนวิ่ง: 1/1000
เด็ก ๆ วิ่งเล่น: 1/500
ถ่ายภาพบุคคล (ตอนอยู่นิ่ง ๆ): 1/100
วัตถุที่ตั้งอยู่เฉย ๆ: 1/60
4. รูรับเเสง : ตัวเลขมาก ชัดทั้งภาพ ตัวเลขน้อย ละลายหลังเยอะ
เมื่อพูดถึงค่ารูรับเเสง (f) ให้นึกถึงภาพที่ทุกอย่างอยู่ในระนาบเดียวกัน ทั้งตัวเเบบเเละพื้นหลัง เเต่ค่า f จะทำให้มีบางจุดที่จะดูเหมือนอยู่ด้านหน้า เเละชัดกว่าจุดอื่น เเละส่วนอื่นจะถูกลดความสำคัญให้เบลอไปที่เค้าเรียกว่า ระยะชัดลึกชัดตื้นนั่นเเหละ (depth of field)
โดยถ้า f-ตัวเลขที่มีค่ามาก ภาพก็จะมีโฟกัสหลายจุดมากขึ้น ภาพชัดกว้างขึ้น เเละคมขึ้น จนชัดทั้งภาพ เช่นการถ่ายภาพทิวทัศน์ การถ่ายภาพบุคคลเเบบหมู่

ในทางตรงกันข้าม f-ตัวเลขที่มีค่าน้อย จุดโฟกัสก็จะมีบริเวณที่น้อยลง ระยะที่อยู่ห่างออกจากจุดโฟกัส ก็จะเบลอออกไป ใช้กับภาพที่ต้องการให้พื้นหลังเบลอเช่นการถ่ายภาพบุคคลที่ตัวเเบบมีเพียงคนเดียวเเต่ก็ขึ้นอยู่กับการดีไซน์ภาพด้วยนะว่าต้องการอยากให้ภาพออกมาเเบบไหน

5. ฝึกมองภาพ ฝึกมองเฟรม
ฝึกการมองภาพโดยให้มีสัดส่วน มีการจัดวางองค์ประกอบ การวางจุดสมดุล หรือการใช้สัดส่วนการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ รวมทั้ง การมองเพื่อสร้างกรอบให้ภาพ อาจจะขยับ เคลื่อนที่รอบ ๆตัวเเบบ เพื่อลองหามุม หรือจุดที่สร้างกรอบภาพ หรือให้องค์ประกอบที่มีบังบางส่วนที่ไม่เข้ากันออกได้เช่นกัน

การตีกรอบให้ภาพ จะช่วยให้ความสนใจถูกจำกัดในบริเวณที่กำหนดไว้ ดังนั้นจะช่วยได้มากเลยนะ ถ้าต้องการให้ความสนใจ มุ่งไปยังจุดโฟกัส ก็จะทำให้ตัวเเบบโดดเด่นเเละทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้นได้

อ่านเพิ่มเติม กฏ เคล็ดลับ เเละ เทคนิคการถ่ายภาพในรูปแบบต่าง ๆ
- 10 เทคนิคถ่ายภาพเบื้องต้นสำหรับมือใหม่
- RULE OF THIRD กฎสามส่วน และ จุดตัดเก้าช่อง
- กฎสามส่วน สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ ตั้งแต่ต้นจนจบ
- 30 ไอเดียการจัดองค์ประกอบภาพที่จะทำให้ภาพถ่ายของคุณสวยขึ้น
- 20 วิธีจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจที่สุด
- เทคนิคถ่ายภาพให้มีความสมดุล แค่เข้าใจมือใหม่แค่ไหนก็ทำได้
- เทคนิคการถ่ายภาพความเร็วสูง และวิธีการถ่ายภาพแบบ PANNING
- การประยุกต์ใช้ ELEMENT OF DESIGN จัดคอมโพสภาพถ่ายให้ดึงดูดน่าสนใจ
- ถ่ายภาพให้สวยด้วย การใช้ FOREGROUND และ LAYER ในภาพ
- 47 เคล็ดลับการถ่ายภาพที่ต้องรู้สำหรับมือใหม่
- 11 เคล็ดลับพื้นฐานที่ควรรู้สำหรับช่างภาพมือใหม่
source : https://digital-photography-school.com