
5 เทคนิคการถ่ายภาพในที่แสงน้อย ภายใต้ข้อจำกัด
5 เทคนิคการถ่ายภาพในที่แสงน้อย ภายใต้ข้อจำกัด เมื่อพูดถึงการถ่ายภาพในที่แสงน้อยและการถ่ายภาพในที่ถูกจำกัดด้านแสง เราจะนึกถึงปัญหาที่อาจจะตามมาคือ ภาพที่ได้อาจจะเบลอ ไม่ชัด แม้จะเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย หรือใช้ขาตั้งกล้องแล้วก็ตาม และการปรับ ISO มากเกินไปก็เกิดน็อยซ์ขึ้นในภาพอีก ซึ่งการถ่ายภาพในที่แสงน้อยมักจะเป็นปัญหาของมือใหม่ ที่สร้างความหนักใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว วันนี้เรามาดูกันครับว่า เราจะแก้ปัญหาเรื่องการถ่ายภาพในที่แสงน้อยกันได้อย่างไรบ้าง

5 เทคนิคการถ่ายภาพในที่แสงน้อย ภายใต้ข้อจำกัด
1. การถ่ายภาพโดยเปิดรูรับแสงกว้างๆ
รูรับแสงก็ทำหน้าที่เหมือนรูม่านตาของเรา โดยรูม่านตาของเราจะขยายกว้างขึ้น เมื่ออยู่ในที่แสงน้อย และจะหดตัว บีบรูม่านตาให้เล็กลงเมื่ออยู่ในที่สว่างจ้า เช่นเดียวกันการเปิดรูรับแสงกว้างก็จะช่วยให้แสงเข้ามาได้มากขึ้น (F/ตัวเลขน้อย) ในทางกลับกันการทำให้รูรับแสงแคบลง (F/ตัวเลขมาก) ดังนั้นการถ่ายภาพในที่แสงน้อยนั้นต้องใช้แสงเข้ามาชดเชยด้วยการเปิดรูรับแสงให้กว้างเข้าไว้ เพราะถ้าหากว่าเราเปิดรูรับแสงน้อย แสงที่กล้องเก็บได้ก็จะน้อยลง ภาพมืด เห็นรายละเอียดได้ไม่ชัดเจน

2. ปรับความเร็วชัตเตอร์
การปรับความเร็วชัตเตอร์เหมือนการการกระพริบตา กระพริบตาเร็ว ก็จะเห็นภาพเพียงเสี้ยวเวลาหนึ่ง แต่ถ้าลืมตาเป็นเวลานานก็จะเห็นแแสง การเคลื่อนไหวมากขึ้น การปรับชัตเตอร์กล้องก็เช่นกัน จะเป็นการช่วยจับความเคลื่อนไหวของภาพ โดยการปรับให้หน้ากล้องเปิดปิดเร็ว (1/ตัวเลขมาก) ก็ช่วยให้จับภาพการเคลื่อนไหวได้เร็ว ภาพหยุดนิ่ง แต่แสงที่เข้ามาจะเข้ามาได้น้อย ส่วนการปรับความเร็วชัตเตอร์ให้เปิดปิดช้าลง (1/ตัวเลขน้อย) จะช่วยให้แสงเข้ามามากขึ้น ยิ่งทำให้เกิดภาพเบลอ มักจะใช้ในการถ่ายภาพโดยให้เห็นการเคลื่อนไหวภายในภาพ เกิดเอฟเฟกต์แบบเส้นแสง น้ำไหลแบบฟุ้งนุ่ม และในการถ่ายภาพในที่มืด ความเร็วชัตเตอร์ก็มีผลในการที่จะช่วยให้ภาพชัดด้วยเช่นกัน

ดังนั้นเวลาถ่ายภาพในที่แสงน้อย สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลาคือความเร็วชัตเตอร์ต้องปรับขึ้นให้เร็วขึ้นและสัมพันธ์กับระยะเลนส์ เช่น 1/50 วินาที ถ้าใช้เลนส์ 50 mm โดยลองปรับค่าเริ่มเป็นสองเท่าในที่แสงน้อย 1/25 วินาที และลองเพิ่มค่า หรือปรับชดเชยแสงโดยการปรับ ISO เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดมากที่สุด
3. ปรับค่า ISO
ค่า ISO มีผลต่อความสว่างโดยรวมของภาพ ISO สูงภาพก็จะสว่างมากขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วเทคนิคการปรับค่า ISO ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ซึ่งช่างภาพบางคนเลือกที่จะปรับ ISO ก่อนเพื่อเลือกช่วง ISO ที่มากที่สุดที่จะใช้ได้ ซึ่งอาจจะอยู่ที่ ISO 800-1600 โดยไม่ทำให้ภาพเกิดน็อยซ์ หรือจุดสีที่ทำให้ภาพดูฟุ้ง ไม่คมชัด แล้วค่อยปรับค่าอย่างอื่น หรืออาจจะปรับค่าอื่นก่อนแล้วค่อยปรับ ISO ให้สัมพันธ์กัน เพื่อปรับให้พอดีทีหลัง ก็ได้เช่นกัน

4. ถ่ายภาพโดยใช้ไฟล์ RAW
การถ่ายด้วยกล้องโปร ส่วนมากเราจะเน้นย้ำให้ถ่ายด้วยไฟล์ RAW เพื่อเมื่อเรานำภาพไปใช้งานหรือไปตัดต่อจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ปรับสี แต่งแสงมากขึ้น น้อยลงได้อย่างยืดหยุ่นมากกว่า ยิ่งเป็นการถ่ายในที่แสงน้อย อาจจะต้องผ่านวิธีปรับแต่งภาพในการบวนการ Post-Processing จึงแนะนำว่าให้ใช้ไฟล์ RAW จะดีกว่าเพื่อช่วยแก้ไขภาพได้ครับ

5. การแต่งภาพ ปรับแสงในโปรแกรม Lightroom
หลังจากการถ่ายภาพในที่แสงน้อย ด้วยการปรับตั้งค่าต่าง ๆ ที่เหมาะสมแล้วทั้งความเร็วชัตเตอร์ ความไวแสง ISO แล้วพบว่ารูปที่ถ่ายยังเห็นว่ายังมี noise ปรากฎอยู่บนภาพ หรือมีสีที่ดูไม่เป็นธรรมชาติ เราสามารถปรับเพิ่มแสง ตกแต่งปรับภาพเพื่อให้ได้ภาพที่สวยถูกใจเรามากขึ้นด้วย โปรแกรม Lightroom
ดูวิดีโอการปรับแต่งภาพด้วย Lightroom ได้จากที่นี่เลยครับ
สรุปแล้วว่าการถ่ายภาพในที่แสงน้อยนั้น ก็คือการนำทักษะเรื่องของ ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสงและ ค่าความไวแสง รวมไปถึงการใช้ไฟล์ RAW ด้วยมาใช้ในงานถ่ายภาพในที่แสงน้อยให้ภาพออกดูสวยงามมากที่สุด เทคนิคสุดท้ายและท้ายสุดที่เราอยากจะแนะนำคือ ให้เราใช้ประโยชน์จากกล้องให้คุ้มค่ามากที่สุดครับ
รวมบทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่และการใช้โหมดต่าง ๆ
- การตั้งค่ากล้องถ่าย PORTRAIT สำหรับมือใหม่
- EXPOSURE TRIANGLE พื้นฐานการตั้งค่า APERTURE, SHUTTER SPEED, ISO รู้เรื่องนี้ ถ่ายโหมด M ได้แน่นอน!
- โหมด P A S M ต่างกันยังไง ควรใช้โหมดไหนถ่ายภาพ
- โหมดวัดแสง การวัดแสง และ ระบบวัดแสง ฉบับมือใหม่เข้าใจง่าย เลือกใช้ได้ไม่พลาด
- การตั้งค่า White Balance สำหรับมือใหม่
- 7 วิธีลัดสำหรับมือใหม่ ถ่ายโหมด M ด้วยตัวเอง
- 9 เทคนิคถ่ายภาพตอนกลางคืน
- ถ่ายภาพในที่มืดยังไงให้คม
- วิธีการใช้ Auto ISO สำหรับมือใหม่และการตั้งค่าไม่ให้ Noise เยอะเกินไป