Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

5 ความเข้าใจเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์ ส่งผลกับภาพถ่ายอย่างไรบ้าง

5 ความเข้าใจเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์ ส่งผลกับภาพถ่ายอย่างไรบ้าง การถ่ายภาพ เปรียบเหมือนการผสมผสานกันระหว่างงานศิลปะและวิทยาศาสตร์ ที่ฟังดูแล้วน่าจะยากเข้าไปอีก แต่ถ้าหากเราเข้าใจพื้นฐานของทั้งงานศิลปะและวิทยาศาสตร์แล้ว จะสร้างสรรค์งานได้อย่างไร้ขีดจำกัด   ตัวอย่างที่เราจะยกมาให้เห็นก็คือ ความเร็วชัตเตอร์นั้นเองครับ จะเป็นเนื้อหาทางเทคนิค แต่ถ้าเรารู้ถึงแก่นแท้ของมันแล้วจะช่วยสร้างงานศิลปะที่สวยงามออกมาได้ดีเยี่ยมมาก ๆ   

5 ความเข้าใจเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์ ส่งผลกับภาพถ่ายอย่างไรบ้าง

1. ความเร็วชัตเตอร์ หรือ  shutter speed คืออะไร 

เป็นระยะความเร็วของชัตเตอร์ที่ปิดลง โดยความเร็วชัตเตอร์ที่เร็ว จะอนุญาตให้แสงวิ่งผ่านภายในระยะเวลาอันสั้น และ ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าจะอนุญาตให้แสงวิ่งผ่านในระยะเวลาที่นานมากขึ้น  

2. หน้าที่ของความเร็วชัตเตอร์นั้น แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี  

– ความเร็วชัตเตอร์ที่สามารถหยุดเวลาได้ อธิบายให้เข้าใจมากขึ้นคือ ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงหรือการเปิดรับแสง ที่ sensor จะเปิดและปิดด้วยความรวดเร็ว และจะหยุดสิ่งกำลังเคลื่อนไหว 

– อีกกรณีหนึ่งคือ ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง คือการที่ให้ sensor เปิดรับแสงได้ที่ระยะเวลานานขึ้น จะทำให้แสงวิ่งผ่าน sensor ได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน ใช้ถ่ายภาพในที่แสงน้อยมาก ๆ 

3. สิ่งที่ท้าทายมากที่สุดคือการปรับระดับความเร็วชัตเตอร์ 

ความเร็วชัตเตอร์ส่งผลยังไงต่อภาพบ้าง เช่น ในกรณีที่เราเปิดความเร็วชัตเตอร์นานขึ้น วัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวนั้นจะเบลอ หรือแม้กระทั่งการที่ถือกล้องไม่นิ่งก็ส่งผลให้ภาพเบลอได้เช่นกัน 

ส่วนความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำนั้น ทำให้ฉากที่มีแสงไม่เพียงพอนั้น มีแสงผ่านเข้ามามากขึ้น แต่ถ้าเป็นความเร็วชัตเตอร์ที่สูง แต่เราถ่ายภาพในที่แสงน้อย ภาพที่ได้นั้นจะมืดมาก ๆ เพราะเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง ทำให้แสงเข้ามาได้น้อย 

4. หยุดเวลาด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น 

ถ้าหากเราไม่ต้องการถ่ายภาพที่ไม่คมชัด ก็ควรเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น ในการหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบโดยที่ภาพจะไม่เบลอ ในความเป็นจริงเราไม่สามารถหยุดเวลาหรือการเคลื่อนไหวใด ๆ แต่ความสามารถของกล้องนั้นสามารถทำได้อย่างไร้ที่ติ ในขณะเดียวกันระดับความเร็วชัตเตอร์ก็ทำให้เห็นสองเรื่องราวในโลเคชั่นเดียวกัน จากการเคลื่อนไหวของวัตถุในภาพที่แตกต่างกันไป 

5. เพิ่มการเคลื่อนไหวด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลง 

เรามักจะพึงพอใจกับภาพที่สวยคม สมบูรณ์แบบ แต่อาจจะดูไม่สมจริง การที่เราพยายามหยุดเวลาที่สำคัญด้วยการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงมาก ๆ ซึ่งในบางครั้งทำให้ดูไม่สมจริง เราจึงปรับมาใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลง เพื่อให้ตัวแบบได้แสดงการเคลื่อนไหว เพื่อความสมจริงมากขึ้น ทำให้ภาพที่ออกมานั้นดู make sense มากกว่า เป็นไอเดียที่น่านำไปฝึกฝนกันนะครับ

การเลือกความเร็วชัตเตอร์

การเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์นั้นขึ้นอยู่กับ ประเภทของภาพถ่ายที่เราต้องการ ซึ่งเราต้องมานั่งวางแผนแล้วว่า ภาพประเภทไหนที่ทำงานควบคู่ไปกับความเร็วชัตเตอร์ได้ดีที่สุด เราจะเห็นตัวอย่างของภาพถ่ายน้ำตก คลื่นทะเล ที่ภาพดูฟุ้ง นุ่มนวล นั้นก็เป็นเพราะว่า เราเปิดช่องการรับแสงที่นานมากขึ้น หรือตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ตำ่ลงนั้นเองครับ 

ความเร็วชัตเตอร์ มีตัวเลือกให้สองทางสำหรับช่างภาพ ว่าอยากบอกเล่าเรื่องราวในรูปแบบไหน ผ่านการเลือกใช้งานความเร็วชัตเตอร์ ที่อยู่ในมือเรา  เหมือนที่เราได้พูดถึงไปช่วงแรกของบทความ ว่าความเร็วชัตเตอร์เป็นการทำงานในทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะออกมาให้ดีมากที่สุด ทุกอย่างผ่านการคำนวณ ผ่านการฝึกฝน สังเกต เลือกใช้ ให้เหมาะสมเพื่อผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพได้ที่นี่เลย

Exit mobile version