
5 ทิปส์ง่าย ๆ เพื่อสร้างมิติให้กับภาพ Landscape
5 ทิปส์ง่าย ๆ เพื่อสร้างมิติให้กับภาพ LANDSCAPE ซึ่งการถ่ายภาพ Landscape เป็นการเล่าเรื่องราวผ่านการใช้วัตถุ สิ่งปลูกสร้าง ธรรมชาติ และสถานที่ในการเล่าเรื่องราว ซึ่งส่วนมากการนำเสนอจะเป็นการถ่ายภาพโดยให้ภาพชัดทั้งภาพ มองเห็นรายละเอียดทุกอย่างได้คมชัด ซึ่งทำให้หลายคนคิดว่า ไม่จำเป็นต้องสร้างมิติให้ภาพ จึงทำให้ภาพ Landscape นั้นดูแบนและไม่ดึงดูดสายตา ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีง่าย ๆ เพื่อสร้างมิติให้น่าสนใจกัน

5 ทิปส์ง่าย ๆ เพื่อสร้างมิติให้กับภาพ Landscape
1. เลือกใช้เลนส์มุมกว้าง ความโค้งของเลนส์สร้างความแปลกตาและสร้างมิติให้กับภาพด้วย
เลนส์มุมกว้างมีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์คือความโค้งของเลนส์ที่สร้างความแปลกตาและมิติลึกตื้นให้กับภาพได้อย่างน่าสนใจ เช่นการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติด้วยเลนส์มุมกว้าง จะสร้างภาพที่ให้ความรู้สึกและสร้างตัวแบบให้ดูมีมีความยิ่งใหญ่ หรือมีสัดส่วนในภาพที่ใหญ่ขึ้น กว้างขึ้น ซึ่งนอกจากเลนส์มุมกว้างจะทำให้ดูเหมือนวัตถุใหญ่ขึ้นแล้ว เรายังใช้เลนส์มุมกว้างถ่ายสถานที่แคบให้ดูกว้างขึ้นได้ด้วย

2. ใช้ฉากหน้าช่วยสร้างความโดดเด่นและสร้างมิติลึกตื้นให้กับภาพ
ฉากหน้าอาจจะดูเหมือนเป็นองค์ประกอบโดยทั่วไปที่เป็นเพียงองค์ประกอบแวดล้อม ใช้เพื่อจัดกรอบภาพ แต่จริง ๆ แล้ว ฉากฉากหน้าเป็นจุดสำคัญที่จะสร้างความโดดเด่นและสะดุดตาให้กับภาพได้ด้วยเช่นกัน เพราะฉากหน้าจะเป็นองค์ประกอบพิเศษที่บ่งบอกถึงระยะใกล้ไกลได้อย่างดี โดยถ้าฉากหน้าเบลอแสงดงว่าฉากหน้าอยู่ใกล้และตัวแบบอยู่ไกลระยะหนึ่งและฉากหน้าก็สามารถใช้เป็นตัวแบบหลักได้ด้วยเช่นกัน

3. มองลึกเข้าไปในภาพโดยการใช้เส้นนำสายตาสร้างมุมมองแบบ Perspective
มุมมองแบบ Perspective คือการใช้เส้นสายและแสงเงาในภาพ สร้างให้ดูเหมือนว่ามีช่องว่างในภาพที่กำลังจะดึงสายตาของผู้มองภาพให้จมลงไปในภาพ หรือลึกเข้าไปข้างใน ลักษณะการสร้างภาพแบบนี้เป็นการสร้างมิติให้ภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. เลือกใช้วัตถุหรือขนาดอ้างอิง เพื่อสร้างมิติด้านขนาด
วัตถุ สิ่งของ ตัวบุคคล หรือต้นไม้ สามารถเป็นวัตถุอ้างอิงได้ เพื่อสร้างมิติภาพด้านขนาด เพื่อให้เห็นว่าตัวแบบมีขนาดที่ใหญ่ หรือขนาดเล็ก โดยอาจจะเทียบจากขนาดมาตรฐานเช่น การใช้ตัวบุคคลยืนเทียบกับต้นไม้เป็นตัววัดขนาด ของต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่

5. ใช้เมฆ หมอก แสงและเงาให้เป็นประโยชน์เพื่อสร้างเลเยอร์ให้กับภาพ
การมีระดับชั้นในภาพ หรือการนำเสนอภาพเพื่อให้เห็นการซ้อนทับหรือสลับซับซ้อนก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะบ่งบอกได้ถึงมิติใกล้ไกลของภาพได้ดี ตัวอย่างเมื่ออยู่ในสถานที่ที่เป็นธรรมชาติ ช่างภาพสามารถใช้ก้อนเมฆ หมอก แสงและเงาเพื่อช่วยสร้างเลเยอร์ให้กับภาพ หรือการเรียงตัวของภูเขาเพื่อให้เห็นส่วนของภาพที่อยู่ด้านหน้า ส่วนกลางและส่วนที่อยู่หลังสุดของภาพ มีแสงและเงาช่วยให้เห็นขอบมืด จุดสว่างสร้างความโดดเด่นและความน่าสนใจให้กับภาพได้ไม่น้อยเลยครับ

รวมบทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่และการใช้โหมดต่าง ๆ
- การตั้งค่ากล้องถ่าย PORTRAIT สำหรับมือใหม่
- EXPOSURE TRIANGLE พื้นฐานการตั้งค่า APERTURE, SHUTTER SPEED, ISO รู้เรื่องนี้ ถ่ายโหมด M ได้แน่นอน!
- โหมด P A S M ต่างกันยังไง ควรใช้โหมดไหนถ่ายภาพ
- โหมดวัดแสง การวัดแสง และ ระบบวัดแสง ฉบับมือใหม่เข้าใจง่าย เลือกใช้ได้ไม่พลาด
- การตั้งค่า White Balance สำหรับมือใหม่
- 7 วิธีลัดสำหรับมือใหม่ ถ่ายโหมด M ด้วยตัวเอง
- 9 เทคนิคถ่ายภาพตอนกลางคืน
- ถ่ายภาพในที่มืดยังไงให้คม
- วิธีการใช้ Auto ISO สำหรับมือใหม่และการตั้งค่าไม่ให้ Noise เยอะเกินไป