Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

5 รูปแบบเส้นนำสายตากับการถ่ายภาพ

5 รูปแบบเส้นนำสายตากับการถ่ายภาพ เส้นนำสายตา เป็นเทคนิคในการจัดองค์ประกอบของภาพ ที่ไม่ว่ามนุษย์หรือธรรมชาติสามารถสร้างขึ้นได้ โดยหน้าที่ของมันคือ การนำสายตของผู้ชมให้โฟกัสไปที่จุดสำคัญของภาพ ประเภทของเส้นนำสายตาจะโดดเด่นหรือแนบเนียนไปกับภาพก็ได้ ตราบใดที่ยังทำหน้าที่ของมันได้อย่างชัดเจน ตรงตามคอนเซปต์ของการนำสายตา สร้างความสมดุลและบอกเล่าเรื่องราวของภาพได้

ตัวอย่างเช่น กฎสามส่วน เส้นนำสายตานั้นสามารถถูกใช้ได้กับภาพทุกประเภทตั้งแต่ภาพถ่ายบุคคลจนไปถึงภาพวิวทิวทัศน์รูปแบบของเส้นนำสายตานั้นจะเป็นในรูปแบบไหนก็ได้ อาจจะเป็นเส้นถนน แนวต้นไม้ แพทเทิร์นที่ซ้ำ ๆกัน เป็นต้น และภาพบางภาพ จะมีเส้นนำสายตาที่ชัดเจนและโดดเด่นมาก ๆ ไม่ว่าลักษณะของเส้นนำสายตาจะเป็นแบบไหนก็ตาม เส้นนำสายตาจะเปลี่ยนภาพธรรมดาให้กลับมาโดดเด่นและดึงดูดให้กับภาพของเรา

5 รูปแบบเส้นนำสายตากับการถ่ายภาพ

การประยุกต์ใช้เส้นนำสายตากับภาพถ่าย

รูปแบบและประเภทของเส้นนำสายตานั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งต่อไปนี้เราจะมาดูประเภทหลัก ๆ ที่มักถูกใช้เป็นประจำ

1. เส้นนำสายตาแนวนอน (horizontal lines)

เมื่อนึกถึงเส้นแนวนอน หลาย ๆ คนจะนึกถึงเส้นขอบฟ้า ที่มักจะพบเห็นได้บ่อยในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์โดยการใช้แนวถนนหนทางหรือแนวต้นไม้ เป็นเส้นนำสายตาจากซ้ายไปขวา ที่ให้ความรู้สึกมั่นคงสมดุลเห็นความแบ่งแยกได้อย่างชัดเจน

2. เส้นนำสายตาแบบแนวตั้ง (vertical lines)

เส้นนำสายตาแบบแนวตั้งจะนำสายตาของผู้ชมให้มองตั้งแต่ด้านบนลงสู่ด้านล่าง ซึ่งให้พลังที่โดดเด่นแข็งแรง ตระหง่าน มั่นคง

3. เส้นทะแยงมุม (diagonal lines)

เป็นเส้นนำสายตาที่สามารถสัมผัสได้ถึงการเคลื่อนไหว ความมีชีวิตชีวา เส้นทะแยงมุมจะเป็นถูกว่าอยู่ในจุดสำคัญจากฉากหน้าไปยังฉากหลัง และยังคงนำสายตายังนำไปในทิศทางเดียวกัน แต่มักจะไม่ค่อยพบเห็นคนใช้วิธีนี้กันสักเท่าไหร่ครับ

4. เส้นนำสายตาแบบบรรจบกัน (Converging lines)

เส้นนำสายตาแบบบรรจบกัน จะสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ชมเป็นอย่างมากเหมือนเส้นนำสายตาทั้งสองเส้นนั้นมาบรรจบกันอย่างพอดี และมีระยะชัดลึกของภาพจากฉากหน้าและฉากหลังอย่างลงตัว

5. เส้นนำสายตาแบบโค้ง (curved lines)

เส้นที่คดเคี้ยว สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ เส้นถนนที่โค้งไปตามแนวพื้นดิน ซึ่งจะสามารถนำสายตาได้ดีเยี่ยมมาก ๆเป็นเส้นนำสายตาที่จะทำให้ผู้ชมมองเห็นตั้งแต่ฉากหน้าไปสู่ฉากหลังอย่างสมบูรณ์

การเลือกเส้นนำสายตา

วางแผนล่วงหน้า

ศึกษาเส้นทางการเดินทางของสถานที่ที่เราเลือกไปนั้น และวางแผนว่าเราจะเลือกใช้เส้นนำสายตาจากอะไรได้บ้าง อาจจะเป็นถนนที่คดเคี้ยว สายน้ำ ทางรถไฟ สะพาน ที่สัมพันธ์กับประเภทของเส้นนำสายตาและการศึกษาเรื่องการปรับตั้งค่ากล้องให้คุ้นชินก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยทที่สำคัญในการออกไปถ่ายภาพ

โฟกัสกับตัวแบบหลัก

แน่นอนว่าเส้นนำสายตานั้นจะพ้อยท์ไปที่ตัวแบบและดึงความสนใจจากผู้ชม เพื่อเป็นการใช้เทคนิคเส้นนำสายตาให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีมากที่สุด คือการวางตัวแบบไว้ที่เส้นนำสายตานั้นชี้ไปนั้นเองครับ

ยืดหยุ่นกับแผนการ

แม้ว่าเราจะสามารถวางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว ว่าเราจะไปถ่ายอะไร แต่บางครั้งเราสามารถมองข้ามแผนเหล่านั้น แล้วลองทำการสำรวจมองหาสิ่งที่น่าสนใจรอบ ๆ ตัว ที่จะนำมาใส่ในองค์ประกอบของเราเพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับภาพได้

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพได้ที่นี่เลย

Exit mobile version