Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

6 สิ่งที่ต้องยอมรับเเละวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายภาพท่องเที่ยว

6 สิ่งที่ต้องยอมรับเเละวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายภาพท่องเที่ยว การเดินทางท่องเที่ยวมีหลายปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ทั้งเรื่องเเสง เรื่องสภาวะอากาศ ถ้ายิ่งเป็นเเหล่งท่องเที่ยวดัง ๆ ยิ่งต้องเจอกับกลุ่มนักท่องเที่ยวมากมาย เเต่ก็ทำอะไรไม่ได้ต้องยอมรับเเละเเก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้ากันไป

6 สิ่งที่ต้องยอมรับเเละวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายภาพท่องเที่ยว

1. เเสงไม่สวย แสงอึมครึม

เดินทางไปทั้งที ก็ต้องคาดหวังว่าอากาศจะดีเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม เเต่พอไปถึง อาจจะเดินทางไปช้ากว่าที่วางเเผนไว้ เเสงสว่างเกินไปที่จะถ่ายภาพ หรือฟ้าไม่เปิด หมอกลงจัดเกินไป วิธีการเเก้ปัญหา คือ  ถ่ายภาพบุคคลเเทน จริงอยู่อาจจะไม่สามารถถ่ายภาพสถานที่ที่สวยงามกลับไปได้ เเต่ก็สามารถถ่ายรูปบุคคลสวย ๆ จากสถานที่เหล่านั้นได้ บางวันฟ้าอาจจะมืด เเต่เเสงช่วงฟ้ามืด หรือช่วงครึ้มฝน จะให้เเสงอ่อน ไม่จัดมาก ทำให้ได้เเสงที่พอดี สวยงาม 

ถ้าเเสงจัดไป อาจจะต้องเตรียมการล่วงหน้าในการถ่ายภาพวิวโดยการพก polarizing filter ไปด้วย เพราะฟิลเตอร์จะช่วยลดความสว่างของเเสงให้เห็นรายละเอียดของภาพชัดเจนขึ้น เเละดึงสีให้เข้มขึ้นด้วย 

และถ้าเป็นการถ่าย Portrait ก็พยายามหาร่ม หรือให้เเสงส่องเข้าด้านหลังของตัวเเบบแทน เเต่ถ้ามีโอกาสได้กลับไปอีกครั้งก็ขอให้ได้ภาพที่ต้องการในเวลาเเละเเสงที่ต้องการละกันนะ

2. มีคนหรือวัตถุที่ไม่ต้องการอยู่ในเฟรม

ถ้าอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ซึ่งเเหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้นก็จะมีจำนวนของนักท่องเที่ยวต่อวันสูงมาก เเละทำให้บางครั้งการถ่ายภาพกลับมา มีคน หรืออาจจะมีวัตถุ เข้ามาในภาพโดยไม่ตั้งใจได้  ทางที่ดีอาจจะต้องรอจังหวะที่คนไม่เดินผ่าน หรือถ้าถ่ายติดคนอื่นไปแล้ว และยังมีโอกาสก็ถ่ายใหม่อีกครั้งก็ดีนะ เเต่ถ้าไม่ได้ อย่าเพิ่งลบทิ้งไปก่อน 

พยายามหาทาง Crop ออก หรือลบออก (ถ้าพอจะลบออกได้นะ) โดยใช้ซอฟต์เเวร์ หรือแอพพลิเคชั่นที่มี หรือถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็ปรับให้พื้นหลังเบลอไปเลย  วิธีการเเก้ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลง เพื่อให้สิ่งที่เคลื่อนไหว เบลอไป เเต่วิวที่นิ่งอยู่กับที่ ยังชัดเจนเหมือนเดิม

3. ภาพไม่คม เบลอ ไม่ชัด

ถ้าถ่ายภาพออกมาเบลอ ลองถ่ายโดยตั้งค่าให้ค่าความเร็วชัตเตอร์ตรงกับระยะเลนส์ เช่น ถ่ายภาพโดยใช้เลนส์ 50mm ความเร็วชัตเตอร์จะลองตั้งที่ 1/50 และถ่าถ้าเป็นเลนส์ที่มีระยะ 200mm ก็ต้องตั้งค่าความเร็วชัตเตร์อยู่ที่  1/200 ดูก่อน เเล้วค่อยปรับให้หมาะสมอีกที

 ลองแก้อีกวิธีหนึ่งคือการปรับค่ารูรับเเสง จริงอยู่ที่พกเลนส์รูรับเเสงเปิดกว่าสุดที่ f/1.4 ก็อยากจะถ่ายภาพให้สวยงาม หน้าชัดหลังเบลอ เเต่ว่า ในบางสถานการณ์ ที่ f/1.4 อาจจะเก็บรายละเอียดภาพได้ไม่หมด ก็ปรับให้รูรับเเสงกว้างขึ้นอีกนิดเช่น f/2 และถ้าเป็นการถ่ายภาพบุคคลที่มีมากกว่าสองคนยิ่งต้องปรับรูรับเเสงให้เเคบลงไปอีกด้วย การถ่ายภาพวิวก็เช่นกัน ภาพที่ได้อาจจะต้องชัดทั้งภาพ จึงต้องปรับค่า f  ให้เเคบลงไปด้วยนั่นเอง

4. ภาพเกิดน็อยส์เวลาถ่ายในที่แสงน้อย

การที่ปรับตั้งค่าให้ภาพสว่างขึ้น ก็สามารถปรับง่าย ๆ ด้วยการเพิ่มค่า ISO เเต่จะมีสิ่งหนึ่งที่จะบอกว่า ISO สูงเกินไป นั่นคือการเกิดน็อยส์ในภาพนั่นเอง ดังนั้นถ้าเห็นว่ามีน็อยส์เกิดขึ้น ก็ให้ปรับค่า ISO ลง อาจจะ 1600 สำหรับกล้องตัวคูณ และ  ไม่เกิน 6400 สำหรับกล้องฟูลเฟรม (ทั้งนี้ก็ต้องลองปรับกันดูอีกที ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของกล้องเเละเเสงในที่นั้น ๆ) เเล้วปรับค่ารูรับแสงให้กว้างขึ้นและความเร็วชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กัน ก็จะช่วยให้ภาพถ่ายตอนกลางคืน ดูมีรายละเอียดชัดเจนขึ้น

5. คนที่ไปด้วยไม่ใช่นางเเบบ โพสท่าไม่เป็น 

อยากไปเที่ยว เเล้วมีรูปเที่ยวสวย ๆ เเบบ Blogger เเต่คนที่ไปด้วยกลับโพสท่าไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะต้องทำท่าเเบบไหน เเต่งตัวอย่างไร ถ้านึกท่าไม่ออก เปิดหาท่าโพสได้ในอินเตอร์เน็ตมีให้เลือกมากมาย อาจจะให้การถ่ายมุมเผลอมาเเทนก็ได้นะ

หรือเเก้ปัญหาด้วยการไม่ต้องโพส เเต่ยืนหันหลังหรือหันข้างให้กล้องก็พอ

6. ภาพสว่างเกินไป มืดเกินไป

ถ้าภาพถ่ายที่ดูเเล้วมืดเกินไปพอจะสามารถปรับเเต่งด้วยซอฟต์เเวร์ได้ ส่วนภาพที่สว่างเกินไปอาจะช่วยดึงเเสงออกมาได้มาหน่อย เเต่รายละเอียดบางอย่างจะหายไป การถ่ายภาพด้วย .raw จะช่วยให้กระบวนการตกเเต่งภาพ สีสัน ทำได้ง่ายเเละให้รายละเอียดที่ดี ทั้งยังปรับ preset  ให้ภาพดูสวยเเละน่าสนใจมากขึ้นด้วย

ดังนั้นตั้งค่ากล้องให้ถ่าย .raw ไว้ก่อนเลย เพื่อว่าพอจะเเก้ไขภาพในกระบวนการตกเเต่งได้ง่ายเเละดีขึ้น 

Exit mobile version