เมื่อต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ภายในบ้าน การเลือกที่จะมีกิจกรรมเพื่อใช้เวลาว่างในการเรียนรู้เเละพัฒนาตัวเองจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ การถ่ายภาพก็เป็นเรื่องหนึ่งที่สามารถเรียนรู้ได้ไม่ว่าจะอยู่สถานที่ไดก็ตามบทความนี้จะบอกถึง 7 เทคนิคการถ่ายภาพอาหารทำเองที่บ้านให้สวยน่าทาน ว่าเราต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกันเลย

7 เทคนิคการถ่ายภาพอาหารทำเองที่บ้านให้สวยน่าทาน
1. ตกเเต่งจานด้วยส่วนผสมหลักของอาหาร หรือเครื่องเคียงที่ทานควบคู่กัน
เมนูอาหารที่ต้องการจะนำเสนอ จะมีกระบวนการเเละสวนผสมที่ยุ่งยากซับซ้อนเเตกต่างกันไป การที่นำเครื่องปรุง ส่วนผสม หรือวัตถุดิบบางอย่างมาตกเเต่งจาน จะช่วยให้ภาพมีเรื่องราว เเละสื่อออกมาให้เห็นถึงกระบวนการที่เกิดขึ้น ระหว่างทำอาหารจานนี้ด้วย

2.ใช้เเสงธรรมชาติเพื่อให้ภาพถ่ายดูเป็นธรรมชาติ สีสันธรรมชาติ เเต่ถ้าเเสงไม่พออาจจะต้องใช้ไปเสริมได้บ้าง
ใช้เเสงที่ลอดผ่านหน้าต่าง หรือเเสงสว่างในช่วงกลางวันในการถ่ายภาพอาหาร เพราะเเสงสีขาวในธรรมชาติช่วยให้สีสันของอาการดูเป็นธรรมชาติ เเสงเเละเงาที่เกิดขึ้น ก็จะช่วยให้ภาพดูมีมิติ ลึกตื้นมากขึ้นด้วย เเต่ถ้าในกรณีที่เเสงในบ้านไม่พอ ก็อาจจะต้องมีไฟเสริม หรือเเผ่นสะท้อนเเสงเพื่อช่วยเพิ่มเเสงให้ส่องไปที่อาหาร

3. เลือกใช้ภาชนะที่สีพื้น ๆ ไม่ดึงความสนใจออกจากอาหารที่ต้องการนำเสนอ
ภาชนะที่ใช้ควรเลือกสีพื้น (ถ้าอาหารมีสีสันอยู่เเล้ว) เพื่อไม่ให้ภาชนะที่ใส่ ดึงความสนใจออกจากเมนูที่กำลังถ่ายภาพ หรือทำให้ภาพมีความซับซ้อนมากเกินไป เพราะจะสร้างความสับสนให้กับผู้มองภาพได้

4. จัดองค์ประกอบภาพโดยใช้จุดกฏสามส่วน และคำนึงถึงความสมดุลของภาพ
ใช้การจัดวางความน่าสนใจไปที่จุดตัดของกฏสามส่วนหรือจะวางตรงกลางภาพก็ได้ เพื่อให้ความสนใจมุ่งไปยังที่ที่เรากำหนด จาน เครื่องเคียง หรืออุปกรณ์ประกอบฉาก ไม่วางเยอะจนเกินไป เเละไม่วางภาพให้รู้สึกเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยคำนึงถึงความสมดุลของภาพด้วย

5. ใช้รูรับเเสงกว้าง เพื่อให้อาหารชัด พื้นหลังเบลอ
ต้องการให้เมนูอาหารเป็นจุดสนใจ การใช้รูรับเเสงที่กว้าง จะช่วยลดความสำคัญของพื้นหลัง หรือองค์ประกอบอื่น ๆภายในภาพโดยการเบลอภาพของวัตถุที่อยู่ห่างจากระยะเลนส์ออกไป เเต่จะดึงความน่ารับประทานเเละความน่าสนใจไปยังเมนูอาหารที่วางไว้นั่นเอง

6. ถ่ายภาพอาหารให้หลาย ๆ มุมเพื่อหามุมนำเสนอที่ดีที่สุด
มุมมองที่ดีที่สุดของอาหารเเต่ละอย่างไม่เหมือนกัน บางเมนูเหมาะที่จะถ่ายจากมุมบน (top view) หรือในบางเมนูอาจจะเป็นมุมที่อยู่ในระดับสายตา ซึ่งก็ต้องลองถ่ายภาพออกมาให้หลายมุม เพื่อจะเลือกว่า มุมไหนที่จะสื่ออกมาถึงความน่ารับประทานของเมนูนั้นมากที่สุด

7. มีช้อนส้อม ตะเกียบ หรือ มือ เพื่อให้ผู้ชมได้จินตนาการถึงวิธีการรับประทาน
ความน่ารับประทานของอาหารจะเพิ่มขึ้น เมื่อสร้างจินตนาการให้กับผู้ชมว่า กำลังได้ลิ้มลองอาหารเมนูนั้น ๆ อยู่ ดังนั้นในภาพก็อาจจะเพิ่ม ช้อนส้อม ตะเกียบ หรือ มือ เพื่อเติมเรื่องราวของอาหารให้ครบ ทั้งหระบวนการทำ เเละท้ายสุด คือการรับประทานนั่นเอง

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดไฟสตูดิโอได้ที่นี่
- ไฟสตูดิโอที่ดีช่วยให้ VIDEO CONTENT ของเราโดดเด่นกว่าคนอื่นได้ยังไงบ้าง
- 5 เทคนิคเลือกไฟสตูดิโอสำหรับ YOUTUBER ในการทำ CONTENT ที่บ้าน
- 5 ไอเดียการจัดไฟสตูดิโอ ในงานวิดีโอสำหรับคนเริ่มต้น
- 5 เหตุผลสำคัญในไฟสตูดิโอ ที่คุณควรใส่ใจเพื่อช่วยให้คุณสามารถทำคลิปวิดีโอออกมาได้ดีมากขึ้น
- 5 คุณสมบัติเด่นของ NICEFOTO HC-1000B II ไฟ LED เสริมสำหรับการทำงานสตูดิโอระดับเริ่มต้น
- 5 เหตุผลที่ชุดไฟสตูดิโอมีความสำคัญ มากสำหรับงาน VIDEO
source : https://www.photoschoolthailand.com/