Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 รูปแบบการจัดองค์ประกอบ

7 รูปแบบการจัดองค์ประกอบ ศาสตร์ที่ใช้ในการถ่ายรูปนั้นมีความหลากหลายทางด้านการจัดวางองค์ประกอบและรูปแบบการจัดวางครับ นอกจากจะมีเรื่องของการจัดเรื่องแสงและสีของภาพ ความคมชัดของภาพ การจัดวางมุมกล้อง และการจัดวางองค์ประกอบของภาพ  และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งกว่าที่จะได้ภาพมาหนึ่งภาพนั้นทุกอย่างในภาพจะต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านั้นภาพจึงจะออกมาสมบูรณ์ 

ซึ่งการจัดวางรูปแบบและองค์ประกอบของภาพนั้นถูกนำไปใช้ในงานศิลปะ งานกราฟิก แม้กระทั้งงานถ่ายภาพ ซึ่งงานเหล่านี้เราจะต้องวางองค์ประกอบให้สัมพันธ์กัน เพื่อใช้เป็นตัวกลางที่จะเล่าเรื่องราวที่ต้องการจะสื่อไปยังผู้ชมได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งหลักการณ์ออกแบบเบื้องต้นนี้สามารถปรับใช้กับงานศิลปะ งานออกแบบรวมไปถึงการถ่ายภาพได้ครับ

7 รูปแบบการจัดองค์ประกอบ

1. การจัดวางให้ใกล้ชิด (Proximity) 


จะเป็นการจัดความสัมพันธ์ของกลุ่มข้อมูลให้มาตำแหน่งอยู่ใกล้กันมากที่สุด ทั้งรูปภาพและข้อความ เพื่อให้เห็นความคล้ายคลึงกัน หรือไปในแนวเดียวกันและการแยกออกจากกัน จะทำให้ความหมายต่างออกไป

จากภาพ การเรียงกันของเสาทั้งสี่ต้น ช่วยให้เกิดภาพสี่เหลี่ยม ที่เป็น Negative space ของภาพ แต่ถ้าเสาทั้งสี่ต้น มีการเรียงตัวต่างไป หรือมีกาีหันออกเพียงต้นใดต้นหนึ่ง ก็จะไม่เกิดภาพสี่เหลี่ยมตรงกลางภาพครับ

2. ลำดับความสำคัญ (Hierarchy)


การจัดลำความสำคัญขององค์ประกอบที่มีมากกว่าสองสิ่งขึ้นไป ว่าส่วนไหนเป็นจุดที่สำคัญที่ต้องการสร้างความโดดเด่นให้กับชิ้นงานของเรา สามารถจัดความสำคัญจากการใช้สีที่แตกต่าง รูปร่าง ขนาด ตำแหน่งบนล่าง หน้าหลัง ซึ่งเมื่อมองดูภาพแล้ว จะเห็นทันทีและจะมองที่จุดนั้นเป็นจุดแรก

3. การจัดวางตำแหน่ง ( Alignment )


เป็นการจัดระเบียบการจัดวางโดยให้มีการนำสายตา เป็นการเรียงตัวของวัตถุ หรือตัวแบบเพื่อนำสายตาไปยังจุดที่ต้องการ

4. การสร้างความแตกต่าง (Contrast) 


เป็นการถ่ายภาพเพื่อบ่งบอกความต่างระหว่างวัตถุสองสิ่งซึ่งเป็นการเปรียบเทียบได้ทั้ง สีสัน ขนาด รูปร่าง และคุณภาพ

5. การซ้ำ  (Repetition)


เป็นการนำวัตถุที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายกันมาเรียงต่อ ๆกัน ซ้ำ ๆ เพื่อสร้างความน่าสนใจ บางครั้งเราจะได้ยินคำว่าการจัดเรียงแบบใช้ Pattern นั่นเองครับ

6. ความสมดุล (Balance) 

ความสมดุลขององค์ประกอบนั้นมีสองประเภทครับ  1.  สมดุลเท่ากัน (Symmetrical balance) คือสองส่วนของภาพจะมีความเท่าเทียม ในแง่ของน้ำหนัก การนำเสนอเรื่องราว สีสัน หรือเป็นลักษณะของเงาสะท้อนซึ่งกันเละกัน ก็ได้เช่นกัน 2. สมดุลไม่เท่ากัน (Asymmetrical balance) ซึ่งเราสามารถวัตสมดุลด้วยการใช้สายตาของเราครับ ซึ่งถึงแม้จะมีรูปร่างไม่เหมือนกัน จำนวนสิ่งของในภาพ ทั้งสองฝั่งของภาพไม่เท่ากัน แต่เมื่อมองภาพกลับให้ความสมดุลที่ดูน่าประหลาดเลยครับ 

7. สี (Color)

สีก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในองค์ประกอบ เพราะสีจะให้ความรู้สึกและอารมณ์ที่ต้องการสื่อสารออกมา ซึ่งเราสามารถใช้สีสันในการจัดองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สีที่อยู่ตรงข้ามของวงล้อสี เพื่อสร้างความเปรียบต่างระหว่างตัวแบบกับพื้นหลัง อย่างเช่น เขียว-แดง น้ำเงิน-ส้ม ก็จะช่วยให้ตัวแบบดูโดดเด่น แยกออกมาจากพื้นหลังอย่างเห็นได้ชัดครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมก่อนเดินทางท่องเที่ยวได้ที่นี่

Exit mobile version