
8 วิธีสร้างสรรค์ภาพดีๆ จากการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย
8 วิธีสร้างสรรค์ภาพดีๆ จากการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย เมื่อมือใหม่เริ่มต้นถ่ายภาพ เราจะมีหลายเรื่องที่เราจะต้องศึกษาอะไรก็ดูเหมือนเป็นเรื่องใหม่และสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ ทั้งเรื่อง กฎสามส่วน (Rule of thirds) ที่ฟังดูเหมือนง่ายแต่ถ้าเจาะลึกในรายละเอียดแล้วจะพบว่ามีหลักการณ์ต่างๆ มากมายซึ่งบางครั้งเราไม่รู้ว่าจะต้องใช้ข้อไหนมาใช้กับงานถ่ายภาพของเรา ปัญหามันอยู่ที่จุดนี้คือการที่เราไม่รู้วิธีการจัดวางองค์ในการถ่ายภาพที่ถูกต้อง ไม่รู้วิธีการแบ่งสัดส่วน และไม่รู้ว่าจะดูเส้นกริด (grid) อย่างไร วันนี้เรามี 8 วิธีการง่าย ๆที่จะทำช่วยเราได้พัฒนาในเรื่องของจัดวางองค์การประกอบในการถ่ายภาพ เพื่อสร้างสรรค์ภาพที่สวยงามที่สุด

8 วิธีสร้างสรรค์ภาพดีๆ จากการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย
1. ตำแหน่งและมุมมองของช่างภาพ
สิ่งที่จะช่วยให้วางตำแหน่งและจัดวางภาพได้ดีคือการวางตำแหน่งของวัตถุหลักและตำแหน่งของตากล้อง (มุมและระยะห่าง) สองหลักการนี้สามารถพลิกแพลงได้ตามอารมณ์ ความรู้สึก ณ ตอนนั้นๆ ซึ่งตำแหน่งของแบบและช่างภาพนั้น มีผลต่อมุมกล้องที่ได้ โดยถ้าช่างภาพหมุนเวียนตำแหน่งที่ยืนถ่ายไปเรื่อยๆ จะทำให้ได้ภาพหลายๆมุม และเรื่องราวของภาพจะถูกเปลี่ยนไปตามมุมที่ได้

การถ่ายภาพไม่จำเป็นที่จะต้องถ่ายในระดับสายตาเสมอไป เราอาจจะลองถ่ายในมุมสูง มุมเงยดูบ้าง จะทำให้ได้เรื่องราวใหม่ ๆ และแตกต่างออกไป การทดลองถ่ายภาพในมุมใหม่ๆ ที่จะทำให้เราก้าวออกจาก comfort zone ของเราเองด้วย

2. ใช้สมาร์ทโฟนของเราเป็นตัวช่วยในถ่ายพรีวิว
ณ ปัจจุบัน คนโดยส่วนมากหันมาใช้สมาร์ทโฟนกันมากขึ้นเนื่อด้วยเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาอยู่ตลอดเวลา การใช้สมาร์ทโฟนเป็นตัวช่วยในการถ่าย พรีวิวเป็นประโยชน์มากๆ ในแง่ของการเก็บรายละเอียดว่าจะมีสิ่งใดมาบดบังหรือดึงความสนใจของผู้ชมไปจากวัตถุหลักหรือไม่

หรือแม้กระทั่งการเช็คโทนแสง ณ เวลานั้นๆ ตัวอย่างเช่น การถ่ายภาพขาวดำ ให้เราเลือกโหมดถ่ายภาพขาวดำในสมาร์ทโฟนของเรา และปรับตั้งค่าแสงเพื่อให้ได้มู้ดและโทนที่เหมาสมพอดีกับการความต้องการของเรา ซึ่งการถ่ายพรีวิวจากกล้องสมาร์ทโฟนนั้นจะทำให้เราเข้าใจรายละเอียดต่างๆได้มากขึ้น โดยที่ไม่ต้องไปเสียเวลาเซทอัพหน้างานเลย
3. ระวังการใช้กฎสามส่วน
ถ้าเราลองหาอ่านบทความที่เกี่ยวกับการสอนถ่ายภาพ เรามักจะเคยได้ยินเกี่ยวกับกฎสามส่วนอยู่บ่อยครั้ง เป็นกฎข้อแรก ๆที่เราจะนึกถึงในการจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพ การใช้กฎสามส่วนไม่ใช่แค่การจัดวางวัตถุหลักของภาพไว้ตามจุดภาพ แต่ต้องมองภาพรวมทั้งหมด ในการใช้กฎสามส่วนบางครั้งมักจะเหลือพื้นที่ว่างเยอะมาก ๆ จะทำให้ภาพนั้นไม่บาลานซ์ นอกจากการบาลานซ์ภาพแล้ว ยังมีเรื่องของน้ำหนักแสงเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย ว่าเราให้แสงมากหรือน้อยในข้างใดข้างหนึ่งไปมากหรือเปล่า

ซึ่งการจัดวางองค์ประกอบก็เหมือนงานศิลปะขิ้นหนึ่งที่มีวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่ในขณะเดียวกันเราต้องรู้ด้วยว่าเราอยากได้งานถ่ายแบบคลาสสิคก็ต้องใช้ การจัดวางองค์ประกอบแบบคลาสสิค เช่น การจัดวางแบบให้สมดุลกัน แต่เราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้หลักการณ์ทั้งหมดกับงานถ่ายภาพ สามารถประยุกต์กฎต่างๆ เข้ากับความคิดสร้างสรรค์ของเราได้เสมอ

4. ใช้การหรี่ตามององค์ประกอบรวมของภาพ
เวลาที่เราจัดองค์ประกอบของฉากให้เราลองหรี่ตามองรายละเอียดที่อยู่ตรงหน้า ไม่ว่าจะเป็น สี รูปร่าง โดยปกติสายตาของมนุษย์เรานั้น มองเห็นภาพปกติที่ปรากฎอยู่รอบๆตัว แต่การมองให้ลึกลงไปในสิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกวันๆ ถ้ามองด้วยสายตาปกติแล้วละก็ เราก็จะเห็นว่าทุกทิ่งดูเหมือนอย่างที่ตาเราเห็น หากแต่การมองด้วยการหรี่ตาของเรา จะทำให้เราเห็นความแตกต่างทั้งความอิ่มตัวของภาพและสี การสังเกตสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราบาลานซ์องค์ประกอบของภาพได้ดียิ่งขึ้น

5. วางคอนเซปท์ในการถ่ายภาพแต่ละครั้ง
เราถ่ายภาพไปทำไม ถ่ายภาพเพื่ออยากให้คนเห็นอะไรในภาพหรืออยากให้ที่ชมนั้นรู้สึกอย่างไรต่อภาพถ่ายของเรา ทุกๆอย่างที่เราจัดวางองค์ประกอบของภาพ เป็นเหมือนการเล่าเรื่อง เรื่องหนึ่งให้กับผู้ชมว่าเราต้องการจะสื่ออะไร เช่น การใช้มุมกล้องในการถ่ายก็จะทำให้ความรู้สึกแตกต่างกันออกไป ถ้าถ่ายมุมสูง ที่มองเห็นองค์ประกอบทุกอย่างที่ในระดับสายตามองไม่เห็น เขาเลยเปรียบเทียบว่าเนี่ยละ เป็นมุมที่เวลาพระเจ้ามองลงมายังโลก คือมองเห็นทุกรายละเอียดของโลกไม่ว่าจะจากจุดไหน

อีกตัวอย่างหนึ่งคือการถ่ายให้ตัวแบบกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมรอบๆ แต่อย่าลืมว่าอะไรเป็นจุดโฟกัสที่สำคัญของภาพ เราสามารถใช้เส้นนำสายตาเข้าช่วยได้ เพื่อดึงความใจไปยังแบบหลักของเรา เพื่อที่จะไม่สร้างความสับสนให้กับผู้ชม การวางคอนเซปท์อย่างสร้างสรรค์สามารถทำได้พร้อมกับการประยุกต์ไปกับกฎการถ่ายภาพได้อย่างลงตัว

6. ทำให้เรียบง่ายมากที่สุด
พยายามทำให้ภาพดูเรียบง่ายไม่ยุ่งยากมากที่สุด การจัดวางองค์ประกอบที่ใส่รายละเอียดเยอะเกินไป จะสร้างความสับสนให้กับผู้ชม การจัดวางเฟรมนั้นหรือฉากหลังนั้นควรจะให้มันสอดคล้องไปกับตัวแบบ แต่ถ้ามีวัตถุใดที่ดึงความสนใจจากแบบหลักเราสามารถทำการลบออกด้วยโปรแกรมได้ทีหลัง เพราะฉะนั้น พยายามลองมองหาฉากหลังที่ดูไม่วุ่นวายหรือซับซ้อนมากเกินไป

7. ตัดขอบภาพให้ดี
ในการถ่ายภาพแต่ละครั้ง พยายามให้ทุกส่วนที่สำคัญอยู่ในโฟกัส อย่าครอปภาพออกจนมาเกินไป จนทำให้ขาดความสมดุลของภาพ จะเป็นการเบนความสนใจผู้ชมไปที่จุดบกพร่อง เช่น การครอปภาพส่วนหัวหรือแขนออก พยายามอย่าตัดขอบส่วนของวัตถุออกจนทำให้ภาพเกิดจุดด้อย
8. การแก้ไขและแต่งภาพ
อย่ากลัวที่จะปรับแต่งภาพภายหลังจากการถ่ายเพื่อให้ภาพออกมาสมบูรณ์แบบมากที่สุด การใช้เวลากับการจัดวางนั้นก็สำคัญแต่เราอาจจะพลาดช่วงเวลาสำคัญไป การปรับแต่งภาพในภายหลังนั้นยังสามารถทำได้ เรามองแล้วว่าภาพของเรายังไม่บาลานซ์หรือมีสิ่งอื่นที่มารบกวนตัวแบบของเรา สามารถลบออกจากซีนได้ ข้อควรระวังคืออย่าทำเรื่องมันยากเกินไปสำหรับเรา

ให้เราฝึกฝนและลองผิดถูกให้มาก ใช้เวลากับการฝึกฝนให้เยอะขึ้น และเราจะซึมซับสิ่งเหล่านี้จนเข้าใจรูปแบบของมัน ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพครับ
รวมบทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่และการใช้โหมดต่าง ๆ
- การตั้งค่ากล้องถ่าย PORTRAIT สำหรับมือใหม่
- EXPOSURE TRIANGLE พื้นฐานการตั้งค่า APERTURE, SHUTTER SPEED, ISO รู้เรื่องนี้ ถ่ายโหมด M ได้แน่นอน!
- โหมด P A S M ต่างกันยังไง ควรใช้โหมดไหนถ่ายภาพ
- โหมดวัดแสง การวัดแสง และ ระบบวัดแสง ฉบับมือใหม่เข้าใจง่าย เลือกใช้ได้ไม่พลาด
- การตั้งค่า White Balance สำหรับมือใหม่
- 7 วิธีลัดสำหรับมือใหม่ ถ่ายโหมด M ด้วยตัวเอง
- 9 เทคนิคถ่ายภาพตอนกลางคืน
- ถ่ายภาพในที่มืดยังไงให้คม
- วิธีการใช้ Auto ISO สำหรับมือใหม่และการตั้งค่าไม่ให้ Noise เยอะเกินไป