Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

การจัดวางองค์ประกอบแบบไม่สมมาตร (Asymmetrical balance)

การจัดวางองค์ประกอบแบบไม่สมมาตร (ASYMMETRICAL BALANCE) ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้ในเรื่องของ การจัดวางองค์ประกอบแบบไม่สมมาตร (Asymmetrical balance) กันบ้างนะครับ

การจัดองค์ประกอบแบบสมมาตร

เพื่อให้เข้าใจคอนเซปต์ของมันและวิธีการมองภาพให้ออกครับ หลายๆคนอาจจะคุ้นชินกับการจัดวางองค์ประกอบที่สมมาตรกันซะส่วนใหญ่ เช่นภาพซ้ายขวาเท่ากัน บนล่างเท่ากัน หรือการถ่ายภาพที่ทั้งสองฝั่ง จะเท่ากันพอดี โดยการจัดวางองค์ประกอบที่สมมาตรนั้นก็คือ วัตถุสองสิ่งจะทำหน้าที่เหมือนกระจกสะท้อนซึ่งกันและกัน น้ำหนักและระยะห่างเท่ากัน จึงทำให้ภาพที่เห็นนั้นดูออกง่ายกว่าว่าบาลานซ์กัน

สิ่งที่น่าทึ่งอีกอย่างหนึ่งคือ สายตาของมนุษย์มักตรวจสอบความเท่ากันเป็นอันดับแรกและสายตาของมนุษย์นั้นเป็นเหมือนไม้บรรทัดตรวจวัดความตรงและความเป็นระเบียบได้ดีที่เดียวครับ ซึ่งความไม่สมมาตรเนี่ยไม่ได้มีความผิดปกติอะไรนะครับ ดูผิวเผินเหมือนว่าองค์ประกอบมันไม่บาลานซ์กัน แต่จริงๆแล้ว มันบาลานซ์กันครับ เราต้องใช้เซนส์ในการมองภาพให้ออกว่าองค์ประกอบมันถูกวางให้บาลานซ์กันแต่รูปแบบการวางจะแตกต่างออกไป 

การจัดองค์ประกอบแบบไม่สมมาตร

 องค์ประกอบที่ไม่สมมาตรนั้นจะไม่ใช้แนวคิดการสะท้อนของกระจก ในบางครั้งจึงทำให้สายตาของเราตัดสินไปแล้วว่าภาพนี้ไม่สมบูรณ์แบบ ซึ่งลักษณะของการจัดวางองค์ประกอบแบบไม่สมมาตรนั้น จะมีลักษณะดังนี้
1) ลักษณะของตัวแบบไม่จำเป็นจะต้องมีรูปร่างที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน
2) ให้ความรู้สึกถึงน้ำหนักของภาพที่พอดี ไม่หนักข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป
3) ตำแหน่งการจัดวางนั้นไม่จำเป็นจะต้องมีระยะห่างที่เท่ากันแต่ยังคงความบาลานซ์ของภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ซึ่งถ้าเราลองมองจากภาพเราจะเห็นได้ว่าจากรูปภาพนั้นจะเห็นรูปร่างและวัตถุนั้นแตกต่างกันออกไป รวมถึงขนาดและสีของวัตถุด้วยครับเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงการวางองค์ประกอบแบบไม่สมมาตรได้ชัดเจนมาก แต่เมื่อเรามองภาพ เราจะรู้สึกได้ถึงความพอดีของน้ำหนักภาพและสีได้อย่างน่าประหลาดครับ

แต่ไม่ใช่ทุกภาพไม่บาลานซ์นั้นจะถูกผลักให้มาเป็นการวางองค์ประกอบแบบไม่สมมาตรนะครับ องค์ประกอบที่อยู่ในภาพนั้นจะต้องดูไม่สับสนและมีรูปร่างและสีที่ชัดเจนในตัวมันเองครับ จึงจะเป็นองค์ประกอบที่ไม่สมมาตรได้อย่างสมบูรณ์ 

ลักษณะการจัดองค์ประกอบดังกล่าวเราจะเป็นบ่อยในงานศิลปะครั้ง ซึ่งการจัดองค์ประกอบแบบนี้ เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการถ่ายภาพของเราได้ครับ จริง ๆแล้วการฝึกจัดวางตำแหน่งของตัวแบบบนจุดดัดเก้าช่องจะช่วยให้เราเข้าใจเรื่องการจัดองค์ประกอบได้ดี และถ่ายภาพได้ง่ายขึ้นครับ

หวังว่าเพื่อนๆจะมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการจัดวางองค์ประกอบแบบไม่สมมาตรนะครับ เมื่อเวลามองงานศิลปะหรือรูปถ่าย นอกจากจะได้เห็นความสวยงามแล้ว เพื่อนๆ ก็จะนึกถึงทฤษฎีเหล่านี้ปรากฎอยู่บนผลงานของศิลปิน จะช่วยให้เราได้ชื่นชมผลงานและเข้าใจในทฤษฎีไปในตัวด้วยครับ เรียกได้ว่าเสพย์งานศิลป์อย่างมีคุณภาพครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมก่อนเดินทางท่องเที่ยวได้ที่นี่

Exit mobile version