Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

Chapter 4: สอนแต่งภาพ Portrait สำหรับมือใหม่โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานใน Adobe Lightroom

Adobe Lightroom ตอนที่ 4 จะสอนแต่งภาพ Portrait โดยเครื่องมือพื้นฐานซึ่งมือใหม่จะได้ฝึกวิเคราะห์ภาพถ่ายยที่เป็นภาพบุคคลรวมถึงการใช้เครื่องมือแต่ละอย่าง ว่าใช้อย่างไร และส่งผลต่อภาพอย่างไร 

ดูวิดีโอสอนได้ที่นี่เลยครับ

Chapter 4: สอนแต่งภาพ Portrait สำหรับมือใหม่โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานใน Adobe Lightroom

ก่อนที่จะแต่งภาพเรามาดูก่อนว่าภาพนี้จะตอบโจทย์อะไร ซึ่งภาพนี้จะใช้ตอบโจทย์การใช้กล้องและเลนส์ เพราะเป็นการรีวิวกล้อง จึงเน้นไปที่ตัวแบบและบรรยากาศโดยรอบที่ดูสวยงาม 

อันดับแรกผมเริ่มจากการ Crop ก่อน (ซึ่งก็อยู่ที่เทคนิคของแต่ละคน) โดยผมจะ Crop ส่วนที่แย่งความสำคัญของตัวแบบออกไปก่อนผมตัดส่วนด้านบนด้านล่าง และด้านข้างออกและจัดวางให้เหมาะกันสัดส่วนที่เรา Crop มา 

หลังจาก Crop แล้ว เรามาปรับความสว่างกันครับผมไม่อยากให้กะด้วยสายตาถึงแม้จะทำได้ก็ตาม แต่ผมแนะนำว่าใช้ Histogram เพื่อช่วยในการปรับตั้งค่าแสงได้อย่างแม่นยำขึ้น 

Histogram  จะบ่งบอกคุณภาพแสงของภาพโดยรวมว่า แสงในภาพเป็นอย่างไร ถ้าแสงเยอะกราฟจะเทไปด้านขวา ถ้าภาพติดมืดกราฟจะเทไปทางด้านซ้าย 

เริ่มแรกผมปรับค่า Exposure ของภาพ โดยเป็นการปรับแสงโดยรวมของภาพ ผมปรับขึ้นจะเห็นว่าภาพสว่างขึ้นไปทั้งภาพ เหตุผลที่ต้องปรับให้สว่างขึ้น เพราะตอนที่ถ่ายผมจะเก็บรายละเอียดทั้งหมดโดยการถ่ายภาพให้มืดหน่อย ผมก็เลยจะปรับให้แสงสว่างสูงขึ้น 

และเมื่อเห็นว่ายังรู้สึกไม่กระจ่างใสพอ เราก็เลยทำการปรับที่  Highlight  โดยการปรับเพิ่มและลดลงเพื่อให้ผิวของนางแบบสว่างขึ้น โดย Highlight จะปรับส่วนที่เป็นจุดสว่างของภาพ โดยเมื่อปรับ  Exposure แล้วแสงสว่างจะมากขึ้น เราจึงอาจจะต้องปรับ Hightlight ให้ลดลง 

หลังจากปรับความสว่างแล้ว ผมเริ่มน้ำหนักของภาพ เพราะตอนที่เราเพิ่มแสง Exposure และ Highlight จะมีบางส่วนที่ควรมืดก็จะสว่างขึ้น น้ำหนักภาพจะหายไป ผมเลยจะใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Contrast 

โดย Contrast จะทำงานกับส่วนมืดและสว่นสว่างของภาพพร้อมกัน ถ้าดึงไปด้านขวา ส่วนสว่างจะสว่างขึ้น และส่วนมืดก็จะมืดลง ดังนั้นถ้าเพิ่ม Contrast แสงสว่างเพิ่มขึ้น เราอาจจะต้องปรับเรื่องของแสงสว่างให้ลดลง ดังนั้งเราจึงต้องปรับแสงในอีกหลาย ๆ ส่วนซึ่งเมื่อปรับแล้ว เราจะเห็นว่าน้ำหนักของภาพจะมากขึ้น เช่นหมวกของนางแบบจะมืดลง แต่ผิวของนางแบบจะสว่างขึ้น  

ผมเป็นคนที่ชอบภาพที่มี Contrast สูง ผมเลยปรับให้ Contrast สูงภาพจะดูหนังแน่นขึ้น และภาพนี้ผมถ่ายผ่านกระจก จะเป้นรอยฟุ้ง ๆ ด้านหน้า ซึ่งเมื่อเราปรับ Contrast หน้าน้องจะเด่นขึ้น ทีนี้เราจะเพิ่มให้สูงขึ้นเลยดีมั้ย บางภาพอาจจะเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามก็แล้วแต่สไตล์การแต่งภาพของแต่ละคนครับ ซึ่งสำหรับผม ผมเป็นคนที่ถ่ายภาพแล้วติด Contrast เยอะ ก็จะได้ประมาณนี้ครับ

หลังจากนั้นพอเพิ่มแล้ว ผมอาจจะอยากให้น้ไนักในส่งนเงาทำงานดีขึ้น ผมก็จะไปทำงานในเครื่องมือ Shadow ซึ่ง Shadow จะทำงานกับส่วนที่เป็นเงาโดยเฉพาะ ถ้าเราดึงไปด้านขวาส่วนที่เป็นเงาจะสว่างขึ้นและถ้าเลื่อนไปด้านซ้าย เงาจะเข้มขึ้น แต่ส่วน Hightlight จะไม่ถูกแก้ไข ซึ่งเครื่องมือนี้จะแก้ไขในส่วนที่มืด ควรมืดลงไป  อย่างไรก็ตามเมื่อปรับแล้ว Shadow ก็ลองปรับค่า ๆ เพื่อให้ลงตัวอีกครั้ง  

เครื่องมือ White จะจัดการส่วนที่เป็นพื้นที่สีขาวในภาพ โดยเมื่อเลื่อนไปด้านขวา สีขาวจะสว่างขึ้น และถ้าไปด้านซ้ายส่วนสีขาวจะลดความสว่างลง 

Black จะจัดการส่วนที่เป็นสีดำในภาพ ลองปรับขึ้นลง เพื่อให้ภาพเราดูลงตัว ซึ่งผมก็จะปรับผสม ๆ กันครับ

ทั้งหมดนี้เราได้ไป 6 เครื่องมือนะครับ คือ 

1. Exposure เป็นการจัดการความสว่างโดยรวมของภาพ
2. Contrast จะปรับความสว่างและความมืดพร้อมกัน ถ้าเพิ่มส่วนสว่างจะสว่างขึ้นส่วนมืดจะมืดลง
3. Highlight  ปรับส่วนสว่างของภาพถ้าดึงไปด้านขวาก็จะปรับให้ส่วนสว่าง สว่างขึ้น และถ้าดึงลงส่วนสว่างในภาพก้จะมืดลง
4. Shadow เป็นการทำงานที่ส่วนเงาของภาพ ถ้าอยากให้เงาเข้มขึ้นใหดึงไปด้านซ้าย โดยเมื่อเลื่อนไปด้านขวาเงาก็จะสว่างขึ้น 
5. White เป็นการปรับส่วนสีขาวของภาพ ถ้าดึงขึ้นส่วนสีขาวจะขาวสว่างขึ้น แต่ถ้าดึงลงสีขาวก็จะมืดลง
6. Black เป็นการปรับส่วนสีดำของภาพ ถ้าดึงขึ้นส่วนสีดำจะมืดลง แต่ถ้าดึงสีดำก็จะดูขาวขึ้น สว่างขึ้น

เรามาดูอีกนิดนึงเรื่องการปรับ White Balance ซึ่งเป็นเรื่องของสมดุลสีขาว ถ้าเราปรับได้ดีสีก็จะไม่เพี้ยน ถ้าเราอยากปรับโทนภาพให้อุ่นขึ้น เราสามารถดึง White Balance ให้มันติดส้มหรือเหลืองได้ โดยการดึงไปด้านขวา ถ้าดึงไปทางซ้ายโทนจะเย็น ติดสีฟ้ามากขึ้น 

จากภาพผมอยากให้โทนภาพดูอุ่นขึ้นอีกนิดหนึ่ง ผมเลยขยับขึ้นนิดเดียว สีจะต่างกันเลย ผมปรับจาก 5000K ไปอีกหน่อยเป็นประมาณ 5090 ก็จะมีสีสันของแสงแดดเข้ามาอีกนิดหนึ่ง

หรือมีการเจือสีหรือการทำงานกับเงา โดยใส่สีเข้าไปในเงา โดยผมจะลองให้ติดม่วงเล็กน้อย โดยการเลือกการเกรดดิ้งที่ Midtone และจะเติมสีส้มในส่วนของ Highlight เล็กน้อย การเติมแบบนี้อาจจะแล้วแต่คนและสไตล์ครับ

สุดท้ายผมจะใส่ Effect ในภาพ โดยผมจะใส่ในส่วน Vignette เป็นการปรับขอบมืดในภาพ ถ้าดึงไปทางซ้ายขอบจะมืดลง แต่ถ้าดึงไปทางขวา ขอบจะฟุ้ง ๆขาว ๆ ซึ่งผมจะปรับเล็กน้อย เพื่อให้รู้สึกเหมือนเพ่งมองไปที่ตัวแบบ 

อีกนิดหนึ่งครับ การปรับ Vibrance และ Saturation ในการปรับ Portrait ผมแนะนำว่าเราควรจะปรับที่ Vibrance ดีกว่า เพราะมันจะไม่ไปยุ่งกับสีผิวของตัวแบบ เมื่อเพิ่มแล้ว สีผิวจะยังคงเหมือนเดิม แต่ถ้าเพิ่ม Saturation สีผิวของนางแบบจะถูกรบกวน 

ในวันนี้เราเรียนรู้ถึงเครื่องมือในการปรับทั้งความสว่างและเรื่องสีสันของภาพ ไปครับ เราลองมาดูภาพก่อนและหลังกันเลยครับ  

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

อ่านบทความ ADOBE LIGHTROOM ได้ที่นี่

Exit mobile version