Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

EP.5 : Creative Professional So Easy ถ่าย Videography แบบมือโปรด้วยมุมกล้องและการเล่าเรื่องราวแบบมืออาชีพ

ใน EP ที่ 5 นี้ เราจะมาลงลึกเรื่องของมุมกล้องสำหรับงานภาพยนตร์ที่ช่วยให้ดูน่าสนใจและดึงอารมณ์ออกมามากยิ่งขึ้น

เมื่อเราดูภาพยนตร์เราจะเห็นการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านมุมมองกล้องที่แตกต่างกัน เช่น มุมกว้าง มุมแคบ มุมบน มุมระยะใกล้ มาดูกันก่อนว่าทำไมมุมกล้องถึงสำคัญ 

1. มุมมองภาพ กล้องหลายมุมก็ทำให้คนดูเห็นได้หลายมุม เมื่อเห็นหลายมุมก็ช่วยให้เข้าใจอารมณ์และเรื่องราวมากยิ่งขึ้น 
2. อารมณ์ ชีวิตชีวา การใช้มุมกล้องหลายมุมช่วยให้สื่ออารมณ์ได้หลายอารมณ์เช่นกัน
3. แก้ไขวิดีโอง่ายขึ้น เมื่อมีมุมกล้องหลายมุม เราจะเลือกได้ว่ามุมไหน หรือแบบไหนที่จะเล่าเรื่องได้ชัดเจนที่สุด

ซึ่งเราจะมาดูกันถึง 12 มุมกล้องสำหรับงานภาพยนตร์ที่ช่วยให้ดูน่าสนใจและดึงอารมณ์ออกมามากยิ่งขึ้น ว่ามีมุมไหนบ้าง

1. ถ่ายให้เห็นมุมกว้าง (WIDE)

คือการถ่ายมุมกว้างเพื่อให้เห็นสิ่งที่อยู๋โดยรอบ สถานที่และบรรยากาศหรือสถานการณ์โดยรวมเพื่อให้เข้าใจว่าซีนนั้นต้องการให้เห็นอะไร อาจจะเป็นกิจกรรมของตัวดำเนินเรื่อง การเดินทาง แลการถ่ายมุมกว้างยังช่วยให้สื่อสารอารมณ์ได้ชัดขึ้นด้วยเช่น การให้เห็นมุมกว้าง ของตึกหรือถนนและมีตัวแบบเดินเพียงลำพังหรือยืนเพียงลำพังเป็นการเน้นเพื่อให้เห็นถึงความเหงา และความโดดเดี่ยว

2. ถ่ายให้เห็นตัวดำเนินเรื่องเต็มตัว (LONG)

เป็นการถ่ายทำที่ให้เห็นตัวดำเนินเรื่องแบบเต็มตัว ว่ากำลังอยู่ในสถานที่ไหน กำลังทำอะไรอยู่ เพื่อให้เห็นกิจกรรมที่กำลังดำเนินไปหร้อมกับการระบุถึงสถานที่

3.ถ่ายให้เห็นตัวดำเนินเรื่องครึ่งตัว (MEDIUM)

การถ่ายแบบครึ่งตัวเป็นการเน้นถึงกิจกรรมที่ตัวดำเนินเรื่องกำลังทำ ช่วยให้คนดูรูสึกเข้าใกล้และรู้จักตัวแบบมากขึ้นเพราะเป็นมุมที่เราเห็น เหมือนเรากำลังพูดสนทนากับคนนั้น

4. ถ่ายให้เห็นตัวแบบช่วงเลยเข่าขึ้นไป (COWBOY) 

เป็นมุมระหว่างครึ่งตัวและเต็มตัวโดยการถ่ายตัวดำเนินเรื่องเหนือหัวเข่าขึ้นมา ที่เรียกแบบนี้เพราะเป็นมุมที่มักจะใช้ถ่ายหนังแบบคาวบอย เพื่อให้เห็นรายละเอียดที่อยู่ด้านล่างของตัวแบบลงไปอีกหน่อย เช่น กระบอกปืนที่ถูกคาดไว้ปริเวณช่วงขา มุมนี้ก็สามารถใช้ถ่ายงานเพื่อให้เห็นกิจกรรมที่กำลังดำเนินไปของตัวดำเนินเรื่องได้

5. ถ่ายมุมแคบ (TIGHT)

ปกติจะถ่ายมุมแคบเป็นแบบเป็นมุมบนคือเห็นส่วนของไหล่จนถึงศีรษะของตัวดำเนินเรื่องแบบเต็มเฟรมเพื่อเน้นให้เห็นถึงสิ่งที่พูดคุย สนทนา เน้นส่วนใบหน้า ที่จะแสดงออกถึงอารมณ์ เลนส์ที่เหมาะสมเช่น 50- 100 มม. 

6. ถ่ายภาพระยะใกล้เพื่อให้เห็นรายละเอียด (EXTREME CLOSE-UP)

เป็นมุมถ่ายทำที่เน้นให้เห็นรายละเอียดและสิ่งสำคัญของเรื่อง เช่นถ่ายระยะใกล้ในสิ่งที่ตัวดำเนินเรื่องกำลังทำ ถ่ายวัตถุใกล้ ๆ เพื่อให้เห็นรายละเอียดที่ชัดเจน ซึ่งเป็นมุมที่สร้างความลึกลับและดึงความสนใจของผู้ชมได้มากเลนส์ที่เหมาะสมเช่น 50- 100 มม. หรือแบบมาโครเลนส์

7. การถ่ายแบบมุมต่ำ หรือมุมเงย (LOW)

คือการถ่ายทำโดยให้กล้องอยู่ระดับที่ต่ำกว่าตัวดำเนินเรื่อง ทำให้ตัวแบบดูใหญ่โต มีอำนาจ โดดเด่น ทั้งยังทำให้ดูน่าค้นหา เสริมความตื่นเต้นผจญภัย หลายครั้งมุมเงยให้อารมณ์ด้านความสับสนด้วยเหมือนกัน หรือกำลังหลงทาง โดยให้ตัวดำเนินเรื่องอยู่กลางภาพรายล้อมไปด้วยตึกสูงหรือต้นไม้สูง

8. การถ่ายมุมสูง (HIGH)

การถ่ายภาพมุมสูง หรือให้กล้องอยู่สูงกว่าตัวแบบ ตัวดำเนินเรื่องจะดูเล็กกว่าสิ่งรอบข้าง ซึ่งมุมสูงจะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับมุมเงย เพราะจะให้ความรู้สึกว่าตัวแบบดูเล็ก  สร้างความรู้สึกที่อ่อนแอ ไร้ค่า ไม่มีอำนาจ

9. การถ่ายแบบมุมเอียง (DUCTH) 

เป็นการถ่ายมุมเอียง โดยปรับเอียงเส้นขอบฟ้าเล็กน้อย มุมนี้ปกติจะใช้อธิบายเรื่องราวที่ยุ่งยาก งุนงง สับสนหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง 

10. การถ่ายภาพคู่สนทนาแบบมองผ่านไหล่ (OVER THE SHOLDER)

เป็นมุมที่ใช้เมื่อมีการสนทนาระหว่างสองคน โดยถ่ายให้เลยหัวไหล่ข้ามไปยังคู่สนทนาให้ตคนหนึ่งเป็นฉากหน้าและเน้นไปบุคคลฝั่งตรงข้าม เพื่อเน้นอารมณ์ที่ตัวดำเนินเรื่องสองคนกำลังคุย สื่อสารและส่งความรู้สึกถึงกัน

11. การถ่ายเพื่อให้เห็นเหมือนกำลังเป็นตัวดำเนินเรื่อง (POINT OF VIEW SHOT)

การถ่ายทำมุมลักษณะนี้เพื่อให้เห็นถึงมุมมองของตัวดำเนินเรื่องโดยจะเห็นกิจกรรมที่ทำเป็นเป็นบุคคลที่ 1 พร้อมกับบรรยากาศโดยรอบไปด้วย เหมือนผู้ชมกำลังทำหรือกำลังมองเดียวกับตัวดำเนินเรื่อง ว่ากำลังคิดอะไร ทำอะไรปกติเราจะเห็นตอนซีน Action เพื่อติดตามดูการกระทำกับการถ่ายทำมุมมองตอนเล่นกีฬา 

12. การถ่ายซีนแทรก (CUT AWAY)

เป็นเหมือนมุมมองที่แทรกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน เช่นในระหว่างที่ตัวดำเนินเรื่องกำลังขับรถ มีซีนแทรกเป็นภาพมุมกว้างของถนน หรือสัตว์ที่อยู๋ข้างถนน ไม่ได้เป็นซีนที่สำคัญมาก แต่ช่วยให้ประกอบเรื่องราวของซีนนั้นและมุมมองแบบ CUT AWAY เป็นซีนที่ช่วยในการเปลี่ยนสลับฉากได้ง่ายขึ้น

สรุป 

หลายครั้งที่มือใหม่ยังไม่เข้าใจเรื่องการวางมุมภาพ มัดจะใช้มุมมองเพียงมุมมองเดียวเพื่อถ่ายทำเหตุการณ์ทั้งหมด เช่นมุมแคบทั้งหมดและหลายครั้งเป็นมุมที่ไม่ได้สำคัญกับเรื่องแต่กลับใช้ถ่ายทำมุมที่ให้เห็นรายละเอียด จึงสร้างความสับสนให้ผู้ชม และกระทบต่อความต่อเนื่องของภาพยนตร์ ซึ่ง 12 มุมกล้องที่ได้บอกไปข้างต้น จะช่วยให้งานภาพยนตร์ดูน่าสนใจ เข้าใจมากขึ้นและดึงอารมณ์ออกมามากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งการถ่ายทำต้องมีอย่างน้อย 5 มุม เช่น เริ่มจากมุม wide> tight >medium >long >close up >high >low ซึ่งมุมมองที่ได้จะเติมประสบการณ์และทำให้ผู้ชมซึมซับกับอารมณ์และเรื่องรวที่ต้องการสื่อสารได้ชัดเจนมากขึ้นลองกลับไปดูหนังแล้วสังเกตมุมมองก็จะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาในตอนนี้ได้ดีขึ้นครับ 

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

Exit mobile version