Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของไมโครโฟน Lensgo 348C ในด้านของการบันทึกเสียง

หลายคนคงเคยเห็นไมโครโฟนไร้สายของ Lensgo ในรุ่น 348C กันไปบ้างแล้ว ซึ่งในตอนนี้เราจะเจาะลึกในส่วนของประสิทธิภาพการทำงานกันครับว่าไมโครโฟน Lensgo 348C นั้นมีความสามารถในการทำงานจริงอยู่ที่ระดับไหนเมื่อเอาไปใช้จริงในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งการทดสอบจะมีอยู่ 4 รูปแบบที่แตกต่างกันไป

วัตถุประสงค์ของการทดสอบนี้ก็เพื่อให้เราได้มั่นใจกับการทำงานของไมโครโฟน Lensgo 348C และรู้ถึงข้อจำกัดที่อาจจะเกิดขึ้นในการทำงานจริงได้ครับ

การทดสอบที่ 1 แบบการใช้ไมโครโฟน Built In ในตัวกล้อง + ใช้ตัวกันลมที่มากับตัวไมโครโฟน

ในการทดสอบนี้เราจะใช้ความสามารถของไมโครโฟนแบบเดิม ๆ ในตัวกล้องเลย ซึ่ง Lensgo 348C นั้นจะเป็นไมโครโฟนแบบ Built In อยู่แล้วครับ เราสามารถต่อตัวรับสัญญาณของไมโครโฟนไว้กับกล้อง เมื่อเปิดตัวอุปกรณ์ทั้งตัวรับตัวส่ง เราก็สามารถที่จะพร้อมบันทึกเสียงได้เลย

การทดสอบที่ได้คือเนื้อเสียงสามารถที่จะรับรายละเอียดได้ดี คาแรคเตอร์ของไมโครโฟนแบบ Bulit In นั้นสามารถเก็บเสียงได้มิติที่กว้างมาก และมีความคมชัดที่ดี สามารถที่จะติดไมโครโฟนตรงหน้าอกแล้วพร้อมที่จะใช้งานได้เลย

ข้อจำกัดที่พบเห็นคือการรับเสียงนั้นจะมีการรับเสียงที่ค่อนข้างกว้าง ถ้านับว่าเป็นข้อดีก็ทำได้ดีทีเดียวครับ แต่ถ้าพื้นที่ไหนมีเสียงรบกวนดังหน่อย เสียงรบกวนเหล่านั้นก็มีโอกาสที่จะเข้ามาที่ไมโครโฟนเราได้ง่ายขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการต่อไมโครโฟนแบบ Lavalier เพิ่มเติม ซึ่งเราจะพูดในขั้นตอนต่อไปครับ

การทดสอบที่ 2 การใช้ไมโครโฟนแบบต่อไมโครโฟน Lavalier

ไมโครโฟนแบบ Lavalier ก็เป็นไมโครโฟนแบบหนีบปกครับ ซึ่งข้อดีของไมโครโฟนประเภทนี้ก็คือจะช่วยให้การรับเสียงของไมโครโฟนมีระยะที่แคบลง และเจาะจงกับการเก็บเสียงพูดได้ชัดเจนขึ้นนั่นเอง ซึ่งการเอาไมโครโฟนแบบ Lavalier มาใช้กับไมโครโฟน Bulit In จะช่วยให้การทำงานนั้นสะดวกมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ ที่มีเสียงรบกวนเยอะนั่นเอง

จากการทดสอบเมื่อเราใช้ไมโครโฟนแบบ Lavalier ต่อเข้ากับตัวส่งสัญญาณของ Lensgo 348C ตัวไมโครโฟนก็จะเปลี่ยนรูปแบบการรับเสียงมาใช้ไมโครโฟนที่ต่อเพิ่มทันที สิ่งที่ได้คือเราสามารถที่จะซ่อนไมโครโฟนแบบหนีบปกไว้ที่ขอบเสื้อ หรือติดไว้ใกล้ตำแหน่งปากได้ง่ายมากขึ้น

และระยะการรับเสียงก็จะสั้นลงมา ทำให้เสียงรบกวนต่าง ๆ เข้ามาน้อยลงกว่าการใช้เพียงแค่ Microphone แบบ Built In เดิม

เสริมเพิ่มเติมคือการทำงานในลักษณะนี้จะเหมาะกับการบันทึกเสียงหรือถ่ายวิดีโอที่เน้นไปยังเสียงของผู้พูดเป็นหลักครับ เพราะจะช่วยให้เนื้อเสียงพูดที่ได้มีความคมชัดมาก แต่เสียง Ambient ต่าง ๆ ที่เข้ามานั้นน้อยลง อาจจะไม่เหมาะกับการถ่ายวิดีโอบางประเภทที่เราต้องการเน้นเสียงบรรยากาศด้วย

การทดสอบที่ 3 การทดสอบประสิทธิภาพการส่งสัญญาณ

ขั้นตอนการทดสอบต่อไปคือความสามารถในการส่งสัญญาณ ซึ่งการส่งสัญญาณในพื้นที่โล่งจะได้ประมาณ 50 เมตรขึ้นไปถึง 100 เมตร แต่ประสิทธิภาพก็จะลดลงเมื่อมีสิ่งกีดขวางหรือมีสัญญาณอื่น ๆ รบกวน ในการทดสอบเราก็จะลองดูว่าไมโครโฟนตัวนี้รับได้ถึงขนาดไหน

จากการทดสอบและผลที่ได้คือ ถ้าในพื้นที่โล่งเราสามารถที่จะใช้งานได้ประมาณ 70-80 เมตร ก็จะเริ่มมีสัญญาณหายเล็กน้อยในบางจังหวะ ครับ แต่ช่วง 50 เมตรคือสบาย ๆ มาก ซึ่งก็ถือว่าใกล้เคียงกับสเปคสูงสุดที่การส่งสัญญาณนั้นทำได้ ส่วนการใช้งานในพื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวางนั้นแล้วแต่ว่าจะมีสิ่งกีดขวางเยอะแค่ไหน แต่จากที่ผมใช้คือประมาณ 20-30 เมตรคือระยะที่ดีและได้ประสิทธิภาพครับ

การทดสอบที่ 4 การทดสอบเนื้อเสียงเมื่อบันทึกลง microSD Card โดยตรง

ในกรณีต้องการความมั่นใจแบบสูงสุดเพื่อการบันทึกเสียงนั้นผมแนะนำให้ใช้ MicroSD Card สำหรับการบันทึกเสียงด้วยซึ่ง Lensgo 348C สามารถที่จะต่อ microSD Card และบันทึกเสียงลงตัวไมโครโฟนได้ตรง ๆ เลย จะช่วยให้สามารถบันทึกเสียง 2 ช่องทางได้พร้อมกัน

ก็คืออย่างแรงเสียงจะบันทึกไปที่กล้องเวลาเราถ่ายวิดีโอและอีกอย่างก็คือเสียงนั้นจะถูกบันทึกลง microSD Card กรณีที่เกิดสัญญาณขาดหาย เราสามารถที่ะจะเอาเสียงจาก microSD Card มาแก้ไขได้ในขั้นตอนของการตัดต่อครับ เนื้อเสียงที่ได้จาก Lensgo 348C ในกรณีบันทึกลง microSD Card นั้นก็ได้เนื้อเสียงที่ดี และมั่นใจในการทำงานได้ ซึ่งตรงนี้ทำได้ดีมากครับ

ถ้าหากมีคำถามอะไรเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ทาง Shutter B Thailand พร้อมให้คำปรึกษาในการเลือกไมโครโฟนมาใช้งานครับ

Exit mobile version