OverExposure ปัญหาการถ่ายภาพแล้วแสงเกินสำหรับมือใหม่ และวิธีในการแก้ไขทั้งก่อนและหลังถ่ายภาพ
OverExposure ปัญหาการถ่ายภาพแล้วแสงเกินสำหรับมือใหม่ และวิธีในการแก้ไขทั้งก่อนและหลังถ่ายภาพ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นถ่ายภาพ การทำผิดพลาดเป็นเรื่องปกติที่ต้องพบเพื่อสร้างประสบการณ์ การถ่ายภาพ Overexposure หรือ Underexposure ก็เป็นปัญหาหลักที่เจอบ่อย ๆ ซึ่งวันนี้เรามาดูกันว่า Overexposure คืออะไร ? เกิดขึ้นได้อย่างไร ? และจะแก้ไขได้อย่างไร ?

OverExposure ปัญหาการถ่ายภาพแล้วแสงเกินสำหรับมือใหม่ และวิธีในการแก้ไขทั้งก่อนและหลังถ่ายภาพ
Overexposure คืออะไร ?
ภาพถ่ายเเบบ Overexposure คือภาพที่ได้มีปริมาณเเสงในภาพมากหรือสว่างมากเกินไป ทำให้มีเเสงจ้าหรือมีเเสงมากเกินกว่าที่ควรเป็น ทำให้ภาพที่ได้สูญเสียรายละเอียดภาพ มองเห็นเพียงพื้นที่สีขาวเป็นส่วนมาก

Overexposure เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
การทำความเข้าใจเรื่องของแสงในการถ่ายภาพ ต้องเข้าใจจากเรื่องของค่าความสัมพันธ์ของแสง EXPOSURE TRIANGLE ที่เป็นค่าความสัมพันธ์ระหว่าง รูรับเเสง ความเร็วชัตเตอร์ เเละค่าความไวเเสง
โดยเมื่อทั้งสามองค์ประกอบรวมกันจะเป็นค่าของแสงที่กล้องคำนวนออกมา (Exposure Value) แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าใด ๆ ของ 1 ใน 3 องค์ประกอบนี้ก็จะมีผลกับแสง ความสว่างของภาพ ทำให้เกิดเอฟเฟกต์บางอย่างกับภาพด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย
ดังนั้นหากมีการตั้งค่า ค่าหนึ่งค่าใดที่ทำให้ค่าทั้งสามไม่สมดุลกัน ก็จะเกิดอาการเเสงเกินหรือ Over exposure ได้ จึงต้องระวังไม่ปรับรูรับเเสงกว้างเกินไป เป็นหน้ากล้องนานเกินไป หรือปรับ ISO สูงเกินไปด้วย
Overexposure ป้องกันได้อย่างไร ?
Overexposure ป้องกันได้ด้วยการสังเกตเเละวัดเเสงเพื่อดูเเสงในระบบ ซึ่งสามารถดูได้หลายวิธี เช่น

- การดูเเสงในระบบจากกราฟฮิสโตเเกรม
โดย Histogram คือ กราฟแท่งที่แสดงจำนวนของพิกเซลที่กระจายกันอยู่ในค่าความสว่างช่วงต่าง ๆ ที่อยู่ในภาพ เริ่มต้นที่ 0-255 ซึ่งทางด้านซ้ายจะเป็นส่วนที่มืด พวกเงา ส่วนสีดำ, ด้านขวา จะเป็นส่วนที่สว่าง อะไรที่เป็นสีขาว ส่วนตรงกลางจะเป็นส่วนสีเทา ถ้า HISTOGRAM เทไปทางซ้าย คือมีส่วนมืดเยอะ และถ้า HISTOGRAM เทไปทางขวา คือส่วนสว่างในภาพเยอะ นั่นเอง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ วิธีอ่านค่า HISTOGRAM แบบเข้าใจง่ายและการนำไปใช้งานจริง
- แถบ Exposure ของกล้อง
นอกจากจะดูจาก HISTOGRAM แถบ Exposure ของกล้องที่จะบอกค่าเเสงอยู่บริเวณหน้าจอทั้งจอ LED เเละที่ช่องมองภาพด้วยซึ่งถ้าเเถบ Exposure อยู่ด้านซ้าย หรือมีตัวเลข -EV ก็เเสดงว่าเเสงน้อย เเละถ้าอยู่ด้านขวา หรืออยู่ในเเนวบวก +EV ก็เเสดงว่าเเสงเข้ามาในระบบเยอะ
- ถ่ายภาพโดยใช้ไฟล์ RAW
การถ่ายภาพเเบบไฟล์ RAW อาจจะช่วยปรับลดเเสงในภาพได้บ้าง ซึ่งถ้าหากเเสงไม่เกินมากจนเกินไป การเเต่งภาพในกระบวนการ Post-processing ก็อาจจะพอช่วยดึงรายละเอียดกลับมาได้ เเต่ถ้าหากว่าเเสงเกินมากไปจริง ๆ การถ่าย RAW มาก็อาจจะช่วยไม่ได้เช่นกัน
ดังนั้นต้องดูกราฟ เเละคอยวัดเเสงเเละเชคเเสง เพื่อให้รู้ว่าภาพที่ถ่ายไปนั้นเเสงพอดีหรือมากไปหรือไม่
Overexposure แก้ไขได้อย่างไร ?
การเเก้ไขอาจจะพอทำได้ การถ่ายภาพมาเเบบไฟล์ RAW อาจจะช่วยดึงความสว่างลงเพิ่มความมืดปรับส่วนต่าง ๆ เพื่อดึงรายละเอียดออกมาได้ โดยสามารถแก้ได้จากทั้ง Lightroom หรือ Photoshop
ตัวอย่างการเเก้ไขภาพเเสงเเบบ Overexposure บน Photoshop
- ใช้เเถบ Exposure
โดยเข้าไปที่เมนู Image > Adjustment > Exposure แล้วเลื่อนเเถบไปซ้ายขวา เพื่อดูว่าปริมาณเเสงเท่าไหร่จึงจะช่วยให้เห็นรายละเอียดได้พอดี



2. ใช้เเถบ level
โดยเข้าไปที่เมนู Image > Adjustment > Level เลื่อนเเถบไปซ้ายขวาเพื่อปรับเเสงให้พอดี



3. ใช้เเถบ shadow/highlight
โดยเข้าไปที่เมนู Image > Adjustment > shadow/highlight แล้วเลื่อนเเถบไปซ้ายขวาเพื่อปรับแสงให้ได้ตามต้องการ



เเต่เคล็ดลับในการถ่ายภาพเพื่อป้องกันการถ่ายภาพเเล้วเกิด Overexposure ก็คือการปรับเพื่อให้ถ่ายมาเเบบ Underexposure มาเล็กน้อยเพื่อมาดึงสีเเละดึงรายละเอียดขึ้นมาภายหลังได้ และการแก้ Underexposure แก้ง่ายกว่า Overexposure อีกด้วย
พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND
รวมบทความการถ่ายภาพพื้นฐานสำหรับมือใหม่
– การตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่ เริ่มพื้นฐานจากศูนย์กันเลย
– ISO คืออะไร รวมทุกอย่างที่ต้องรู้เรื่อง ISO
– คำแนะนำสำหรับมือใหม่ในการถ่ายภาพให้นิ่งและไม่เบลอ
– 7 ไอเดียการฝึกถ่ายรูปสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นเล่นกล้อง
– 10 เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้นสำหรับมือใหม่