Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

การสร้างมุมมองภาพให้กว้างขึ้น สวยขึ้นด้วยการถ่ายภาพแบบพาโนรามา (Panoramic Photography)

การสร้างมุมมองภาพให้กว้างขึ้น สวยขึ้นด้วยการถ่ายภาพแบบพาโนรามา (Panoramic photography) การถ่ายภาพเพื่อให้สร้างมุมมองใหม่ หรือมุมมองที่ทำให้ภาพดูสวยงามดูน่าสนใจและเล่าเรื่องราวรายละเอียดได้ วิธีการหนึ่งคือการถ่ายภาพเเบบพาโนรามา เพื่อกวาดมุมมองให้เห็นบริเวณโดยรอบซึ่งวิธีการนี้สามารถถ่ายทั้งเเบบเเนวระนาบและเเนวตั้งได้ด้วย ทำให้การถ่ายภาพดูน่าสนใจเเละดูสนุกมากขึ้น

การสร้างมุมมองภาพให้กว้างขึ้น สวยขึ้นด้วยการถ่ายภาพแบบพาโนรามา (Panoramic Photography)

พาโนรามา (Panorama) คืออะไร ?

“Panorama” เป็นคำที่สร้างมาจากรากศัพท์ภาษากรีกสองคำคือ “Pan” ที่แปลว่า ทุกอย่าง “horama” หมายถึง มุมมอง การมองเห็น ดังนั้นคำว่าพาโนรามาจึงใช้อธิบายมุมมองหรือการมองเห็นที่กว้าง มองเห็นได้ทั้งหมด การถ่ายภาพพาโนรามาก็เช่นกัน เป็นมุมมองที่กว้างกว่าการถ่ายภาพโดยทั่วไป โดยจะเป็นการกวาดมุมมองเเนวระนาบ หรือจะเป็นเเนวตั้งก็ได้ เพื่อให้เห็นเรื่องราวเเละรายละเอียดทั้งหมดในเเนวนั้น

ซึ่งขนาดภาพที่ได้จะมีขนาดของแกนนอนที่กว้างกว่าเเนวตั้ง เเละถ้าเป็นพาโนรามาเเนวตั้งก็จะได้ภาพเเกนตั้งที่มีเเกนนอนเเคบนั่นเองครับ

วิธีการถ่ายภาพเเบบพาโนรามา (Panoramic photography)

ปัจจุบันกล้องถ่ายภาพ กล้องเเอคชั่นเเละกล้องมือถือมีฟีเจอร์เพื่อการถ่ายภาพพาโนรามาโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ใช้ถ่ายพาโนรามา ได้ภาพสวยได้อย่างง่ายดาย ทั้งมี Grid มีเเถบเลื่อนและมีวิธีการใช้งานที่ง่ายอีกด้วย

การถ่ายภาพเเบบพาโนรามาโดยใช้มือถือ

เปิดโหมดการถ่ายภาพพาโนรามาเเล้วเลื่อนช้า ๆ ซ้ายขวา หรือบนล่าง เพื่อเก็บภาพโดยรอบ 

การถ่ายภาพเเบบพาโนรามาโดยใช้กล้องถ่ายภาพ

กล้องบางรุ่นมีโหมดพาโนรามาเพื่อช่วยให้ถ่ายภาพได้ง่าย เเต่อาจจะได้ภาพที่มีของมุมที่โค้งงอ เนื่องจากการต่อภาพอัตโนมัติจากกล้อง หรืออาจจะได้เเสงในเเต่ละจุดไม่เท่ากัน ดังนั้นตัวเลือกที่ใช้ได้อีกทางหนึ่งคือการถ่ายภาพแล้วนำภาพมาต่อ เเละใช้ซอฟต์เเวร์เพื่อช่วยให้ภาพ overlap กันเพื่อให้ได้ภาพเพียงภาพเดียว

1. ตั้งค่าการถ่ายภาพเป็นโหมด Manual เพื่อควบคุมการทำงานของกล้องได้เต็มรูปเเบบ
2. ใช้ขาตั้งกล้อง เพื่อช่วยให้ภาพไม่สั่นไหว
3. เลือกใช้เลนส์ระยะปกติที่ไม่มีการโค้งงอของภาพ เช่นระยะ 50 mm
4. ถ่ายภาพโดยใช้ไฟล์ RAW เพื่อเป็นตัวเลือกในการปรับเเต่งภาพในภายหลัง
5. ควบคุมเเสงให้เท่ากันในทุกภาพเมื่อเวลานำภาพมาต่อกันจะได้ไม่เกิดความเเตกต่างระหว่างซีน
6. ใช้รูรับเเสงเเคบประมาณ f/8, f/11, f/16 เพราะรูรับเเสงกว้างจะทำให้ภาพบางจุดหลุดโฟกัสออกไปได้
7. ถ่ายภาพหลาย ๆ ภาพ มีมุมที่ซ้อนทับกัน เพื่อให้ไม่มีซีนของภาพที่ขาดตอน
8. รวมภาพหรือต่อภาพกันด้วยซอฟต์เเวร์ Photoshop หรือ Lightroom 

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

รวมบทความการถ่ายภาพพื้นฐานสำหรับมือใหม่

– การตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่ เริ่มพื้นฐานจากศูนย์กันเลย
– ISO คืออะไร รวมทุกอย่างที่ต้องรู้เรื่อง ISO
– คำแนะนำสำหรับมือใหม่ในการถ่ายภาพให้นิ่งและไม่เบลอ
– 7 ไอเดียการฝึกถ่ายรูปสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นเล่นกล้อง
– 10 เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้นสำหรับมือใหม่

Exit mobile version