Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

ระบบการรับเสียงของไมโครโฟน (polar pattern microphone) มีกี่แบบ มีผลต่อการรับเสียงอย่างไรบ้าง

เรื่องเกี่ยวกับไมโครโฟนที่มือใหม่หลายคนอาจจะเคยเห็นผ่านตามาบ้าง แต่อาจจะยังไม่ได้เคยทราบรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับ Polar Pattern ซึ่งในวันนี้ผมจะมาอธิบายให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นและแน่นอนมันเกี่ยวข้องกับการเลือกไมโครโฟนไปใช้ด้วยนะครับ

ระบบการรับเสียงของไมโครโฟน (POLAR PATTERN MICROPHONE) มีกี่แบบ มีผลต่อการรับเสียงอย่างไรบ้าง

Polar Pattern คืออะไร

ตัว Polar Pattern ก็คือรูปแบบในการรับเสียงของไมโครโฟน ว่าไมโครโฟนนั้นมีลักษณะขอการรับเสียงแบบไหนบ้างครับ ซึ่งแล้วสำคัญกับไมโครโฟนของเรายังไง ก็เกี่ยวตรงที่เวลาเราเลือกไมโครโฟนมาใช้ ถ้าหากว่าเราเลือก Polar Pattern ไม่ได้เหมาะสมกับการใช้งาน อาจจะทำให้เราบันทึกเสียงได้ไม่เหมาะสมเท่าที่ควร

ยกตัวอย่างถ้าต้องการใช้ไมโครโฟนบนโต๊ะคอม และอาจจะมีอุปกรณ์บางอย่างบนโต๊ะที่เกิดเสียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น พัดลมโน้ตบุ๊ค, พัดลมเครื่องคอมฯ การเลือกไมโครโฟนที่มีรูปแบบการรับเสียงแบบ Omni Direction (รับเสียงรอบทิศ) ก็คงจะไม่เหมาะ ควรเลือก Polar Pattern แบบ Cardioid ก็จะเหมาะสมมากกว่าครับ ในวันนี้ผมจะหยิบมา 3 Polar Pattern ที่น่าจะคุ้นตาและเข้าใจง่าย ๆ กัน ซึ่งจะเป็น Polar Pattern หลักที่เราจะได้เจอตลอดครับ 

1. คาร์ดิออยด์ (Cardioid Polar Pattern)

การรับเสียงแบบคาร์ดิออยด์ จะมีรูปแบบการรับเสียงแบบด้านเดียว คือด้านหน้าของตัวไมโครโฟน การรับเสียงแบบนี้เราน่าจะเข้าใจได้ง่ายและดูใกล้ตัว ก็คือเป็นการรับเสียงเหมือนไมโครโฟนทั่วไปที่เราใช้กัน

จุดเด่นของการรับเสียงแบบนี้คือ เราสามารถหันตำแหน่งไมค์โครโฟนให้รับเสียงในจุดที่เราต้องการได้เลย และใช้ได้ดีกับพื้นที่ที่อาจจะมีเสียงบรรยากาศรบกวน เช่น ในห้องที่อาจจะมีเสียงเครื่องปรับอากาศรบกวน เราใช้ไมโครโฟนชนิดนี้ก็สามารถที่จะหันด้านหลังไมโครโฟนให้กับเครื่องปรับอากาศเพื่อเป็นการลดเสียงรบกวนที่เข้ามาได้  พวกไมค์ Shotgun, ไมค์ลอย เราจะเห็นว่ามีรูปแบบการรับเสียงลักษณะนี้ครับ

2. ออมนิไดเรคชั่นแนล (Omni Directional Polar Pattern)

ออมนิไดเรคชั่นแนลจะเป็นการรับเสียงแบบรอบทิศทาง ซึ่งจุดเด่นก็คือรับเสียงเข้ารอบด้านทั้งหมด เหมาะกับการบันทึกเสียงที่ให้ผู้ฟังได้สัมผัสเหมือนนั่งอยู่ในสถานที่เดียวกัน เพราะเสียง Ambient ทุกอย่างจะวิ่งเข้ารอบด้าน

ไมโครโฟนตั้งโต๊ะหลายตัวก็จะมีการรับเสียงรูปแบบนี้ครับ คือถ้าทำรายการแบบนั่งคุยกันหลายคน แล้วแต่ละคนอยู่รอบโต๊ะ เสียงก็จะเข้าได้ทุกทิศทางเป็นความสะดวกอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าหากว่าเราเลือกไมโครโฟนที่มีการรับเสียงแบบ Omni Directional มาใช้ไม่ถูกวิธีอาจจะได้เสียงที่ไม่พึงประสงค์เข้ามาได้

ยกตัวอย่างแบบเดียวกันกับข้อแรกก็คือ ถ้าอยู่ในห้องและผมวางไมโครโฟนไว้บนโต๊ะ ด้านหลังมีเสียงพัดลมจาก Laptop ด้วย เสียงเครื่องปรับอากาศด้วย เสียงเหล่านี้จะเข้ามาทั้งหมดครับ ก็ต้องระมัดระวังในการเลือกมาใช้ให้เหมาะสมครับ

3. ไบไดเรคชั่นแนล (Bi-Directional Polar Pattern)

ไบไดเรคชั่นแนล คือ การรับเสียงแบบสองทิศทางด้านหน้าด้านหลัง ซึ่งจะเป็นการรับเสียงสองทิศทางที่เหมาะกับทำคอนเทนต์ประเภทการสนทนาสองคน หรือการถ่าย Vlog ที่เน้นบันทึกเสียงพูดเราเข้าไปด้วย และไมค์อีกด้านจะบันทึกเสียงบรรยากาศลงไปด้วย

จะมีความคล้ายกับ ​Onmi Directional ที่รับรอบทิศ แต่ Bi-Directional จะเป็นการรับที่ลดลงมาคือ รับแค่หน้ากับหลัง จะทำให้ควบคุมเรื่องของ Ambient ได้ดีมากกว่า และใช้งานง่ายกว่าครับ

จาก Polar Pattern ทั้ง 3 แบบจะเห็นได้ว่ามันส่งผลต่อการเลือกไมโครโฟนมาใช้ และส่งผลต่อการทำงานของเราโดยตรงครับ ซึ่งในปัจจุบันมี Polar Pattern ที่หลากหลายแต่จะมีความคล้ายคลึงกับพื้นฐานนี้ครับ เพราะงั้นเราควรเลือกไมโครโฟนให้เหมาะกับการทำงานของเรานะครับ

ถ้าหากมีคำถามอะไรเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ทาง Shutter B Thailand พร้อมให้คำปรึกษาในการเลือกไมโครโฟนมาใช้งานครับ

Exit mobile version