Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

การถ่ายภาพทางช้างเผือกยังไงให้สวย

การถ่ายภาพทางช้างเผือก เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่หลายคนพยายามจะไปให้ถึงมาก ๆ เพราะว่ามันเป็นภาพที่สวย ถ่ายออกมาแล้วดูดี ในวันนี้เรามาดูเรื่อง 9 เทคนิคในการถ่ายภาพทางช้างเผือก และวิธีในการถ่ายภาพทางช้างเผือกกันครับ

ก่อนจะไปเรื่องเทคนิคเราเอาวิธีการถ่ายภาพทางช้างเผือกมาคุยกันก่อนแล้วมาต่อกันเรื่อง 9 เทคนิคนะครับ เพื่อให้เราได้ความเข้าใจพื้นฐานทั้งหมด แล้วไปต่อกันเรื่องเทคนิคกัน

การเตรียมตัวในแต่ละช่วงเวลาสำหรับ การถ่ายภาพทางช้างเผือก ในประเทศไทย

ช่วงเวลาในการถ่ายภาพทางช้างเผือกในประเทศไทยนั้น เดือน พฤศจิกายน ไปถึงเดือน มกราคม จะไม่สามารถ่ายภาพทางช้างเผือกได้ สาเหตุก็เพราะว่าทางช้างเผือกนั้นจะขึ้นแล้วก็ตกตามดวงอาทิตย์ครับ เพราะงั้นเราจะเริ่มถ่ายในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือน ตุลาคมนั่นเอง

Photo by Henry Be on Unsplash

โดยช่วงเวลาของการถ่ายภาพทางช้างเผือกก็จะเปลี่ยนแปลงไปทุกวันเหมือนกัน ซึ่งสามารถดูเวลาได้ตามนี้เลยครับ

เดือน มกราคม : ถ่ายไม่ได้
เดือน กุมภาพันธ์ : เวลา 4.00 น. – 5.00 น.
เดือน มีนาคม : เวลา 3.00 น. – 5.00 น.
เดือน เมษายน : เวลา 2.00 น. – 5.00 น.
เดือน พฤษภาคม : เวลา 0.00 น. – 04.00 น.
เดือน มิถุนายน : เวลา 22.00 น. – 04.00 น.
เดือน กรกฎาคม : เวลา 20.00 น. – 03.00 น.
เดือน สิงหาคม : เวลา 20.00 น. – 00.00 น.
เดือน กันยายน : เวลา 20.00 น. – 11.00 น.
เดือน ตุลาคม : เวลา 20.00 น. – 21.00 น.
เดือน พฤศจิกายน : ถ่ายไม่ได้
เดือน ธันวาคม : ถ่ายไม่ได้

การเตรียมตัวในการถ่ายภาพทางช้างเผือก

1. แอพพลิเคชั่นสำหรับเช็คทิศทาง และองศาสำหรับการถ่ายภาพทางช้างเผือก

แอพพลิเคชั่น Stellarium

ระบบปฏิบัติการที่รองรับ : Windows,Mac,iOS และ Android
ความสามารถของซอฟต์แวร์ : ทำการจำลองท้องฟ้าตามวันเวลาที่เลือก ซึ่งละเอียดมาก และสามารถที่จะเลือกปรับตั้งค่าได้เยอะเลย

Stellarium Mobile Sky Map

แอพพลิเคชั่น Starchart

ระบบปฏิบัติการที่รองรับ – iOS และ Android
ความสามารถของซอฟต์แวร์ : ทำการจำลองท้องฟ้าตามวันเวลาที่เลือกใช้งานได้สะดวก และไม่มีความซับซ้อน

Star Chart App

แอพพลิเคชั่น Light Pollution Map

ระบบปฏิบัติการที่รองรับ – iOS, Android และบน Web
ความสามารถของซอฟต์แวร์ : สามารถบอกความสว่างของพื้นที่ ที่เราต้องการ ทำให้เราสามารถที่จะเลือก Location ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ซึ่งเราสามารถใช้ทั้ง 3 Application เพื่อการเตรียมตัวสำหรับการถ่ายภาพทางช้างเผือกได้ดียิ่งขึ้นครับ นั่นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ เพื่อให้เราถ่ายภาพได้ง่ายที่สุดนั่นเอง

2. อุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพทางช้างเผือก

1. ตัวกล้อง จะเป็นเซ็นเซอร์ Micro4/3, APS-C หรือ Full Frame ก็ได้ (แต่ถ้าได้ Full Frame ก็จะทำให้ได้คุณภาพไฟล์ที่ดีขึ้นครับ)
2. เลนส์มุมกว้างละมีรูรับแสงที่กว้างด้วย เพื่อให้ช่วยรับภาพได้กว้าง และรับแสงได้มากขึ้น
3. ขาตั้งกล้อง อันนี้ขาดไม่ได้เพราะว่าต้องเปิดม่านชัตเตอร์นาน ๆ ครับ
4. รีโมท ใช้สำหรับสั่งการตัวกล้องโดยที่ไม่ต้องกดชัตเตอร์ใด ๆ ที่ตัวกล้องเลย เพื่อไม่ให้กล้องเกิดการสั่นไหว
5. ไฟฉาย เอาไว้ใช้เวลาเดินทาง เปิดเช็คของ

3. การตั้งค่ากล้องสำหรับถ่ายภาพทางช้างเผือก (แบบพื้นฐาน)

1. ใช้รูรับแสงให้กว้างที่สุด (ค่า F น้อยที่สุด) เพื่อเปิดรับแสงให้ได้นานมากที่สุด
2. ความเร็วชัตเตอร์ต้องเข้าใจกฎ 500 Rule เพราะว่าอะไร เพราะการถ่ายภาพดาว หากเปิดชัตเตอร์นานเกินไป จะทำให้ดาวยืด ๆ เป็นเส้น ซึ่งเวลาเอามาถ่ายภาพทางช้างเผือกมันจะไม่สวยเลย (การถ่ายภาพดาวยืด ๆ ควรเป็นภาพดาวหมุน ไม่ใช่ทางช้างเผือก)

กฎ 500 Rule จะแยกตามขนาดเซ็นเซอร์ตามนี้นะครับ

500 Rule สำหรับ Full Frame ในการถ่ายภาพทางช้างเผือก

ระยะเลนส์ 12mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 42 วินาที
ระยะเลนส์ 16mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 31 วินาที
ระยะเลนส์ 28mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 18 วินาที
ระยะเลนส์ 36mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 14 วินาที
ระยะเลนส์ 50mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 10 วินาที

500 Rule สำหรับ APS-C ในการถ่ายภาพทางช้างเผือก

ระยะเลนส์ 10mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 33 วินาที
ระยะเลนส์ 18mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 19 วินาที
ระยะเลนส์ 23mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 14 วินาที
ระยะเลนส์ 35mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 10 วินาที

500 Rule สำหรับ Micro 4/3 ในการถ่ายภาพทางช้างเผือก

ระยะเลนส์ 7mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 36 วินาที
ระยะเลนส์ 8mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 31 วินาที
ระยะเลนส์ 14mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 18 วินาที
ระยะเลนส์ 17mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 15 วินาที
ระยะเลนส์ 25mm -> ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 10 วินาที

4. ข้อแนะนำในการถ่ายภาพทางช้างเผือก

1. ลดความสว่างของหน้าจอลง เพื่อทำให้ภาพถ่ายดูใกล้เคียงความไม่จริง นอกจากนี้ยังทำให้แสงสว่างไม่มากเกินไปและไม่แสบตา
2. อย่าลืมถ่ายภาพเป็น RAW ไฟล์ และควรเช็คการตั้งค่าโดยละเอียดทุกครั้งก่อนเริ่มถ่ายภาพ เพื่อไม่ให้พลาด
3. ให้ใช้ Night Mode ใน Application จะทำให้ภาพแสงเป็นสีดำ และสีแดง ทำให้สายตาเราไม่ต้องปรับตัวมากเกินไประหว่างที่เรามองท้องฟ้าและมือถือ
4. เช็คสภาพอากาศก่อนไปถ่ายเสมอว่า ท้องฟ้าเปิดหรือไม่ เพราะปัญหาใหญ่ ๆ เลยก็คือเรื่องก้อเมฆนี่แหละ

ภาพโดย StockSnap จาก Pixabay

ต่อมาเราจะพูดถึงเรื่อง 9 เทคนิคสำหรับ การถ่ายภาพทางช้างเผือก ให้สวยมากขึ้น

1. หากเป็นไปได้ควรใช้กล้อง Full Frame สำหรับ การถ่ายภาพทางช้างเผือก

เหตุผลที่ให้ใช้กล้อง Full Frame ก็เพราะว่าการที่เซ็นเซอร์กล้องมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เราได้คุณภาพไฟล์ที่ดีกว่าเซ็นเซอร์ขนาดเล็ก และช่วยให้เราสามารถที่จะรับแสงได้มากกว่า รายละเอียดก็มากกว่าเซ็นเซอร์กล้องขนาดเล็กครับ

Photo by chuttersnap on Unsplash

2. ต้องมีเลนส์มุมกว้างและมีรูรับแสงกว้างด้วย

อย่างที่บอกไปในเรื่องพื้นฐานข้างต้นแล้วว่า เลนส์ที่มีมุมกว้างทำให้มีองศาการรับภาพที่กว้างมาก ทำให้เราสามารถที่จะจัดองค์ประกอบภาพ Landscape ได้สวย บางทีเราถ่ายภาพทั้งภูเขาและดาวด้วยอะไรแบบนั้น ส่วนการที่มีรูรับแสงกว้าง ทำให้เรารับแสงได้มากขึ้น ส่งผลกับความเร็วชัตเตอร์ที่เราจะใช้กับกฎ 500 Rule ด้วยครับ เพราะงั้นควรใช้เลนส์รูรับแสงกว้างดีกว่า

Photo by chuttersnap on Unsplash

3. ขาตั้งกล้องควรใช้ให้เป็นครับ และขาตั้งก็เป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับน้ำหนักกล้องด้วย

การถ่ายภาพทางช้างเผือกนั้นเราจะเปิดความเร็วชัตเตอร์เป็นเวลานานตามที่บอกไป เพราะงั้นหมายความว่าขาตั้งกล้องต้องมีความมั่นคง รับน้ำหนักได้ดี สามารถที่จะทนกับลมที่พัดมาได้แม้ว่าจะมีกล้องอยู่บนนั้น ราคาอาจจะสูงหน่อย แต่เพื่อความปลอดภัยของตัวกล้องเอง ที่สำคัญที่สุด คือเพื่อให้เราได้ภาพดาวที่ดีที่สุดนั่นเองครับ

Photo by Braden Jarvis on Unsplash

4. ใช้อุปกรณ์ตามดาว (Mount ตามดาว)

การมี Mount ตามดาว จะช่วยให้ภาพถ่ายของเราดีขึ้นครับ อย่างเช่นตัว Vixen Polarie Star Tracker Mount ลองดูตัวอย่างในวีดีโอนี้ได้ครับ

5. เลือกพื้นที่ให้เหมาะสม ควรจะมืดมาก ๆ

อย่างที่เราเคยบอกเรื่องของ Application ที่แนะนำไป มันช่วยให้เราเลือกพื้นที่มืด ๆ สำหรับการถ่ายภาพดาวได้ หากเราถ่ายภาพใกล้ ๆ กับตัวเมือก มันจะมีมลภาวะทางด้านแสงครับ ทำให้ภาพดูไม่สวยเลย

Image by professorjaytee

6. เตรียมตัวให้พร้อม เลือกใช้แอพหาทางช้างเผือกช่วย

เราได้แนะนำด้านบนไปแล้วครับเรื่องของแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยสำหรับการที่จะเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการล่าทางช้างเผือก ซึ่งแน่นอนว่าย้อนกลับไปอ่านด้านบนได้เหมือนกัน ฮ่า ๆ

7. เลือกปรับโฟกัสแบบ Manual

การถ่ายภาพทางช้างเผือกนั้นเราควรเลือกโฟกัสแบบแมนนวลเลย เพราะว่าการถ่ายภาพดาว ระบบออโตโฟกัสนั้นมักใช้งานไม่ได้ ส่วนใหญ่การถ่ายภาพแบบนี้เราจะใช้การหมุนโฟกัสแมนนวล และเลือกระยะ Infinity แทนครับ และลองถ่ายเช็คดูด้วยว่าภาพออกมาชัดไหม ก่อนจะเริ่มถ่ายครับ

8. การจัดองค์ประกอบภาพก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ

การจัดองค์ประกอบภาพให้ดูมีเรื่องราว สวยงาม สามารถเล่ารายละเอียดในภาพได้ว่าดาวเป็นแบบไหน ทิวทัศน์เป็นยังไง ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการถ่ายภาพทางช้างเผือกครับ ดังนั้นเตรียมตัวเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพไปด้วยนะครับ

Image by https://photographyimproved.com/

9. เช็คอุปกรณ์ให้พร้อมเสมอ โดยเฉพาะการเตรียมตัวถ่ายภาพช่วงกลางคืน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางหรือการถ่ายก็ตาม

ทุก ๆ อย่างที่เราต้องใช้ในคืนนั้นต้องพร้อมครับ ตั้งแต่ แบตเตอรี่สำหรับกล้อง ต้องเผื่อไว้เลยครับ, เมมกล้องต้องเตรียมให้พร้อมมาก, ไฟฉายสำหรับการเดินทาง การเช็คของตอนกลางคืน, เสื้อกันหนาว เต็นท์, อาหาร เครื่องดื่ม, และแบตเตอรี่สำรองสำหรับสมาร์ทโฟน เพื่อใช้เช็คแอพพลิเคชั่นครับ

Photo by Mattia Righetti on Unsplash
Exit mobile version