Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

10 ข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นเมื่อ มือใหม่ถ่ายภาพ Long Exposure

Long Exposure เป็นการถ่ายภาพที่เราจะลากความเร็วชัตเตอร์นาน ๆ เช่น พวกภาพไฟเป็นเส้นจะเห็นกันบ่อย ๆ กล้องจะอยู่บนขาตั้งตลอด ซึ่งมันมักจะมีข้อผิดพลาดที่เรามักจะหลุดกันบ่อย ๆ ซึ่งมันไม่ควรเกิดขึ้นเลย และมันส่งผลกับภาพเราโดยตรงด้วย

1. เปิดระบบกันสั่นกล้องหรือเลนส์ไว้ (ลืมปิด)

Source Digital Photography School

เหมือนเคยย้ำหลายบทความเหมือนกัน เรื่องการที่เรามักพลาดเปิดกันสั่นกล้องหรือเลนส์ไว้เมื่อเราถ่ายภาพ Long Exposure ปกติกันสั่นกล้องจะทำงานโดยเคลื่อนไหวตัวเลนส์ หรือเซ็นเซอร์ภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้ภาพเกิดการสั่นเมื่อเราถือกล้องด้วยมือ นั่นเป็นสิ่งที่ดี

แต่เมื่อเราถ่ายภาพ Long Exposure ด้วยขาตั้ง กล้องมันนิ่งพออยู่แล้ว เราต้องการความมั่นคงและความนิ่งกริ๊บ ถ้าเราไม่ได้ปิดกันสั่น ตัวเซ็นเซอร์หรือเลนส์ มันก็จะยังเคลื่อนไหวอยู่ ทำให้ภาพเกิดการเบลอได้ ดังนั้นควรระวังให้ดี

แม้ว่าหลายคนบอกกล้องบางตัวก็สามารถที่จะปิดกันสั่นเองได้เวลาที่ใช้ชัตเตอร์นาน ๆ อันนี้ต้องลองเช็คดูนะว่ากล้องตัวเองทำงานแบบนี้หรือเปล่า แต่ถ้าคนไหนไม่แน่ใจ หรือต้องการสบายใจ ให้เข้าใจว่าเมื่อถ่ายภาพ Long Exposure เราต้องปิดกันสั่นให้เรียบร้อยครับ ไม่ว่าจะที่กล้องหรือเลนส์ก็ตาม

2. พลาดใช้ F22 (แคบที่สุด) กับภาพ Long Exposure เมื่อต้องการความเร็วชัตเตอร์ที่มากขึ้น

Source Digital Photography School

ถ้าเป็นไปได้ก็อย่าเลือกใช้ F22 หรือหรี่รูรับแสงให้แคบที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ได้ค่าแสงที่้น้อย และลากความเร็วชัตเตอร์ให้นานขึ้น ทำไมล่ะ? ก็เพราะว่ามันจะเกิดอาการ Diffraction ที่จะทำให้ภาพของเราสูญเสียความคมไปตามค่ารูรับแสงที่แคบมาก ๆ ถ้าอธิบายเรื่องนี้แบบละเอียดคงยาวแน่นอน

แต่อยากให้เข้าใจเบื้องต้นว่า เลนส์เราจะมีช่วงคมที่สุดต่างกัน บางเลนส์ F5.6-F11 หลังจากนั้นค่า F ยิ่งมากขึ้น เกินสัก F16 อาการ Diffraction มันก็เริ่มมาแล้ว ถ้าหากต้องการความเร็วชัตเตอร์ที่นานขึ้น แสงที่้น้อยลง ให้เลือกใช้ ND Filter ที่เข้ามาจัดการเรื่องปริมาณแสงโดยตรงจะดีกว่าครับ

3. ลืมลด ISO 

เรื่องง่าย ๆ ที่ไม่น่าเกิดขึ้นเลย บางทีเราเผลอเปิดค่า ISO ไว้สูงกว่าที่มันควรจะเป็น บางครั้งเราอาจจะเผลอเปิด ISO 400,800 มีจริง ๆ นะ ให้เช็คทุกครั้งว่ามันอยู่ที่ ISO ต่ำสุดของกล้องเรา เพื่อให้ได้ปริมาณแสงที่น้อยที่สุด (เราจะได้ลากความเร็วชัตเตอร์ได้นานขึ้นไง) และได้คุณภาพไฟล์ที่ดี ไม่มี Noise มารบกวนด้วย

4. ไม่พกพวกอุปกรณ์ทำความสะอาด ผ้าเช็ดเลนส์ นำยาเช็ดเลนส์

การถ่ายภาพในภาพจริงบ่อยครั้งมันต้องเจอละอองน้ำกระเด็นมาโดนที่ฟิลเตอร์ ทำให้เราต้องคอยเช็ดบ่อย ๆ

การถ่ายภาพ Long Exposure ส่วนใหญ่มันก็ลุยลักษณะเดียวกับการถ่ายภาพ Landscape นั่นแหละครับ จังหวะที่เราจะเจอละอองน้ำมาโดนที่ตัวเลนส์ โดนฝุ่นเข้าเซ็นเซอร์ระหว่างเปลี่ยนเลนส์แล้วไม่ได้พกอุปกรณ์ทำความสะอาดไปทำให้เจอเรื่องยุ่งยากตามมา

เช่น ถ้าละอองน้ำโดนหน้าเลนส์ หรือพวกฟิลเตอร์ที่อยู่หน้าเลนส์เองก็ตาม มันจะทำให้เกิดละออง, เม็ดน้ำที่เกาะด้านหน้าเลนส์ ทำให้ภาพมันดูแย่ลงเลย บางทีเป็นจุดดำ ๆ ที่ภาพ หรือบางทีถ้าน้ำมันค่อย ๆ ไหลลงจากหน้าเลนส์ไปในระหว่างที่ถ่าย มันจะเกิดภาพเบลอ ๆ ตรงหน้าเลนส์แบบชัด ๆ ได้เลย

5. ใช้ฟิลเตอร์คุณภาพต่ำ เน้นราคาถูกเกินไป

ไม่ได้อวยเรื่องฟิลเตอร์ราคาแพงมาก ๆ มันจะดีไปซะทุกอย่างแบบเลิศเลอนะ แต่ว่าฟิลเตอร์ราคาถูกมาก ๆ เนี่ย แน่นอนว่าวัสดุมันจะแย่ แล้วมันทำให้คุณสมบัติของการเป็นฟิลเตอร์ที่ควรจะเป็นแย่ลง

ยกตัวอย่าง ฟิลเตอร์แบบป้องกันรอย หรือแสง UV พวกนี้เขาจะเน้นให้แสงสามารถผ่านได้แทบจะเหมือนไม่ได้ใส่เลย การถ่ายภาพย้อนแสงก็ลด Flare ลง คุณภาพของวัสดุมันต้องดีจริง ภาพไม่ผิดเพี้ยนและยังคงความคมที่ตัวเลนส์อยู่ ถ้าใช้แบบถูก ๆ บางทีจะเห็นเลยว่าความคมลดลง, Flare ก็มา

Source, Digital Photography School

อีกอย่างคือพวก Landscape Filter พวก ND Filter, Graduate Filter สำหรับการถ่ายภาพ Landscape เอามาใช้ลากน้ำตกทั้งหลายเนี่ยมันก็มีพวกราคาถูก ๆ อยู่ ซึ่งพวกนี้มันจะส่งผลกับภาพโดยตรงคือ “สีเพี้ยน” ลองนึกภาพเราถ่ายภาพ Long Exposure ลากน้ำตก อมฟ้า อมน้ำเงินแปลก ๆ โผล่เข้ามาเลยก็มี เพราะผมคิดว่าตัดแสงได้ก็พอ แต่จริง ๆ แล้วอุปกรณ์แต่ละอย่าง คุณภาพตามราคา มันมีเหตุผลของมัน อยู่ที่ว่าเราเลือกใช้อยากถูกต้องหรือเปล่า

6. ประมาทเรื่องแรงลมที่จะต้องเจอ

เวลาที่เราถ่ายภาพ Landsacpe หรือ CityScape เองก็ดี อยากให้คำนึงถึงแรงลมที่เราต้องเจอด้วย บางครั้งบมมันแรงจริง ๆ ขาตั้งกล้องควรดูว่ามั่นคงพอดีไหม การเซ็ตติ้งอุปกรณ์ปลอดภัยดีแล้วหรือยัง จุดที่เราวางขาตั้งมันโอเคแล้วใช่ไหมที่เราจะตั้งกล้องไว้ ถ้าพลาดมากล้องพังยังไม่เท่าไหร่, ถ้าถ่ายภาพ CityScape บนตึกสูง ๆ ลงพัดร่วงไปโดนคนข้างล่างอันนั้นจะแย่กว่าที่คิดก็ได้

7. เชื่อว่าฟิลเตอร์ตัดแสงจะทำงานได้ตรงสเปค

การถ่ายภาพ Long Exposure อย่างที่เคยบอกไปข้างต้นว่ามันก็เป็นการถ่าย Landscape ทิวทัศน์ซะมากเลยแหละ เราก็จะเจอพวก ND Filter ที่มันมักจะบอกว่าลดแสงได้ 6 Stop อะไรแบบนั้น ในความเป็นจริงบางทีมันไมได้ลดแบบเป๊ะ ๆ นะ มันอาจจะมีความคาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้ วิธีแก้ไขให้เราลองทดสอบตามนี้ เพื่อที่จะได้รู้ว่าอุปกรณ์ของเราเป็นแบบไหน และควรทำยังไงต่อ

1. เริ่มต้นให้เราตั้งกล้องไว้บนขาตั้งเลย จากนั้นเซ็ตค่าแสงแบบพอดีก่อนสัก 1 ภาพ

2. ให้เราใส่ ND Filter ลงไปจากนั้นทดสอบตั้งค่าตามที่ผู้ผลิตบอก เช่น ตั้งถ่ายแสงปกติแบบไม่มี ND ที่ 1/60 พอใส่ ND 6 Stop จะได้ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่พอดีเป็น 1 วินาที เป็นต้น

3. ถ้าเราเซ็ตตามนี้แล้วมันคาดเคลื่อนจากที่ตั้งไว้ ก็ดูว่ามันคลาดเคลื่อนไปในมุมสว่าง หรือมืดกว่าที่สเปคมันแจ้งไว้ไหว ถ้ามันเคลื่อนเล็กน้อยยังพอตั้งค่าชดเชยได้นิดหน่อย แต่ถ้าเยอะอาจจะต้องลองพิจารณาเปลี่ยนแบรนด์นั้นไปเลย

8. ไม่เลือกใช้ขาตั้งที่มั่นคงมากพอ

เพื่อนผมหลายคนรวมถึงตัวผมเองเวลาเลือกขาตั้งกล้องมาใช้งาน มักจะเลือกตัวที่ราคาไม่สูงมาก นั่นก็ไม่ผิด แต่อันตรายคือเลือกขาตั้งไม่สัมพันธ์กับน้ำหนักอุปกรณ์เรานี่สิ

บางทีเราเลือกขาตั้ง เล็ก ๆ เบา ๆ เน้นโหลดน้ำหนักได้พอดี บ่อยครั้งที่มันเกิดความเสียหาตามมาแบบไม่คาดคิด เช่น บางจังหวะขาตั้งกล้องเราเจอลมปะทะ หรือว่าน้ำหนักมันอาจจะรับได้แต่ไม่มั่นคงพอ ให้มั่นใจเลยว่าขาตั้งเรารับน้ำหนักเลนส์ไหว และลุยได้หนักพอสำหรับการถ่ายภาพนั้น ๆ การถ่ายภาพลากความเร็วชัตเตอร์นาน ๆ กล้องต้องฝากทุกอย่างไว้กับขาตั้ง และราคาสูงกว่าขาตั้งเยอะ ดังนั้นให้เลือกขาตั้งดี ๆ ไปเลยครับ บางคนเลือกใช้เลนส์กับกล้องรวมกันเป็นแสง ขาตั้งดี ๆ ราคาไม่ถึง 10% ของกล้องเลย แต่เราต้องฝากชีวิตมันไว้กับขาตั้งเกือบ 100% เลย

9. ลืมพวกรีโมตหรือสายลั่นชัตเตอร์ เพลตตาตั้ง ของที่ไม่ควรจะลืม

อันนี้เรื่องฮา ๆ แต่ไม่ฮา เพราะส่วนใหญ่เราชอบลืมอุปกรณ์ที่ใช้ประจำ เช่น เพลตขาตั้ง สายลั่นชัตเตอร์ต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับการถ่ายภาพครับ อย่าลืม!

10. ไม่ใช้ Landscape Filters เพราะคิดว่ามันแพง

พวก Polarize Filter, Gradient Filter, ND Filter ช่วยให้ภาพเราดูแตกต่างจากการถ่ายภาพปกติ เพราะ Filter พวกนี้ทำงานกับแสงโดยตรง ดังนั้นถ้าหากเราต้องการตัดแสงสะท้อน หรือเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ให้นานมากขึ้น เราก็มักจะต้องพึ่งพาอุปกรณ์พวกนี้ ถ้าวันนึงมีงบประมาณเพียงพอลองเลือกใช้ดูครับ จะทำให้ภาพถ่ายเราสวยขึ้นได้เยอะเลย

Exit mobile version