Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

พื้นฐานการถ่ายภาพสำหรับผู้เริ่มต้น : ตอนที่ 2 เรื่องรูรับแสง (APERTURE)

หนึ่งในสามค่าที่สำคัญในการควบคุมเเสง คือรูรับเเสง (Aperture) โดยรูรับเเสง เป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมแสงที่เข้าสู่เซ็นเซอร์กล้อง การเข้าใจการใช้รูรับเเสงจะช่วยให้การถ่ายภาพการจัดมุมมอง เเละการวางมิติภาพให้ดีขึ้น

รูรับเเสงคืออะไร?

สิ่งที่จะช่วยอธิบายกลไกและหน้าที่ของรูรับเเสงได้ดีที่สุดคือ รูม่านตาของมนุษย์ ซึ่งจะสังเกตว่า รูม่านตาของมนุษย์ จะหดเเละขยายตัว เมื่อมีเเสงเข้ามากระทบ ถ้าเเสงจ้า รูม่านตาจะหด ถ้าเเสงน้อย หรือในที่มืด รูม่านตาจะขยาย ซึ่งก็เหมือนกับการทำงานของรูรับเเสงนั่นเอง

ถ้าอยากให้เเสงเข้าไปที่เซ็นเซอร์กล้องน้อย ก็ปรับให้รูรับเเสงเเคบ เเต่ถ้าอยากให้เเสงเข้ามากขึ้นก็ปรับรูรับเเสงให้กว้างขึ้นนั่นเอง ซึ่งการปรับค่ารูรับเเสงสามารถสร้างสรรค์เอฟเฟคในการถ่ายภาพได้ ทำให้ภาพดูสวยงามเเละดูน่าสนใจมากขึ้น

ค่าที่ใช้ในการวัดรูรับเเสง

รูรับเเสง หรือค่ามที่ใช้ในการวัดรูรับเเสงคือ  f-stop scale ซึ่งเวลาพูดถึงรูรับเเสง จะเห็นสัญลักษณ์ ‘f/’ และตามด้วยตัวเลข ซึ่งตัวเลขน้อยเท่าไหร่ ก็หมายความว่า รูรับเเสงก็กว้างขึ้นเท่านั้น ซึ่งการปรับค่ารูรับเเสงจะมีส่วนในการถ่ายรูปหน้าชัดหลังเบลอ หรือที่พูดกันคือ ชัดลึกชัดตื้นนั่นเอง 

รูรับเเสงมีผลต่อการเปิดรับเเสง (Exposure) อย่างไร ?

เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการเปลี่ยนค่ารูรับเเสง ก็จะมีผลกระทบต่อเเสงในภาพ ยิ่งถ้ารูรับเเสงกว้างมากเท่าไหร่ พื้นหลังก็จะเบลอไปมากขึ้นเท่านั้น

ถ้าอยากทดสอบการทำงานของรูรับเเสง ก็สามารถทำได้ง่าย ๆเลย คือการปรับค่าอื่นให้คงที่ทั้งหมด เเล้วเปลี่ยนเเค่ค่ารูรับเเสงเท่านั้น  เช่น กำหนดค่า ISO 200, 1/400 เเล้วปรับเปลี่ยนค่ารูรับเเสง ภาพที่ได้จะให้ลักษณะของเเสงที่เข้ามา มากน้อย ตามความกว้างของรูรับเเสงเลย

การใช้ค่ารูรับเเสงในเพื่อการถ่ายภาพบุคคล

ก่อนอื่นจะต้องรู้ว่า ไม่มีกฏตายตัวสำหรับการปรับค่ารูรับเเสงเพื่อการถ่ายภาพ ขึ้นอยู่กับว่า ช่างภาพ อยากจะได้ภาพเเบบไหน ต้องการความคมชัดจุดไหน มากเเค่ไหน ลองดูตัวอย่าง การใช้ค่ารูรับเเสงค่าต่าง ๆ จะให้ลักษณะของภาพถ่ายออกมาเป็นอย่างไร 

f/1.4 – f/2.8 : เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในที่เเสงน้อย เหมาะสำหรับการถ่ายภาพบุคคล หน้าชัดหลังเบลอ เเต่ระวังเรื่องความชัดตื้น เพราะอาจจะทำให้ภาพไม่คมชัดได้

f/4: เป็นช่วงกลาง ๆ ถ่ายภาพในที่เเสงสว่างพอสมควร สามารถใช้ออโต้โฟกัสได้ 

f/5.6: เหมาะสำหรับการถ่ายภาพสองคน ไม่เหมาะสำหรับการถ่ายในที่เเสงน้อย อาจจะต้องใช้ไฟเสริมเพื่อช่วยให้ถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น

f/8 -f/11: เหมาะสำหรับการถ่ายภาพหมู่ จะให้ภาพชัดคมทั้งภาพ 

f/16 – f/22: เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวิว เห็นชัด เก็บรายละเอียดทุกส่วน รวมทั้งพื้นหลัง 

อย่างที่บอกเเล้วตอนต้นว่า นี่ไม่ใช้สูตรตายตัวยังไงก็ต้องลองทดสอบเองเเละทำความเข้าใจกับรูรับเเสงให้มาก เพื่อพัฒนาการถ่ายภาพให้เก่งขึ้นได้ครับ

อ่านบทความพื้นฐานการถ่ายภาพย้อนหลังได้ที่นี่

source : https://expertphotography.com/

Exit mobile version