Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

วิธีโฟกัสภาพให้ชัด พื้นฐานถ่ายภาพระดับมือใหม่ที่ควรรู้

วิธีโฟกัสภาพให้ชัด เป็นพื้นฐานอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญเหมือนกัน ซึ่งที่ผ่านมาพื้นฐานการถ่ายภาพที่น่าสนใจก็มีบทความเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพไปแล้ว สิ่งสำคัญในเรื่องนี้คือเมื่อเราเข้าใจว่าการโฟกัสมีความสำคัญอย่างไร และต้องทำวิธีไหนถึงจะโฟกัสภาพได้อย่างถูกต้อง จะทำให้เราสามารถถ่ายภาพได้ออกมาตามที่เราคิดมากยิ่งขึ้น

ทำความรู้จักกับระยะชัดของภาพ – Depth of Field

ระยะชัดของภาพ คือ โซนที่ภาพเกิดความคมชัด ก็นับตั้งแต่ด้านหน้าไปจนถึงด้านหลังของภาพถ่ายเราเลยครับ เรียกได้ง่าย ๆ ว่าถ้าวัตถุ วิว ต้นไม้ หรืออะไรใด ๆ ก็ตามที่อยู่ในโซนระยะชัดนี้ ภาพมันก็จะเกิดความคมชัด ไม่เบลอ ไม่กลายเป็นโบเก้นั่นเอง

เหตุผลอย่างเดียวกันถ้าหากว่าวัตถุ วิว ต้นไม้ คน หรืออะไรก็ตามที่อยู่นอกโซนระยะชัดตรงนี้ จะเกิดการเบลอ กลายเป็นโบเก้ ประมาณนั้นครับ

สิ่งสำคัญที่เราต้องเข้าใจในตอนนี้ให้ได้คือ “ปัจจัยอะไรที่ทำให้ภาพชัด และปัจจัยอะไรที่ทำให้ภาพเบลอ” มีสิ่งไหนที่ต้องควบคุมจากตัวกล้องบ้างเพื่อให้ได้ระยะชัด หรือเอฟเฟกต์การเบลอที่เราต้องการ

รวม 180 บทความพื้นฐานถ่ายภาพอยู่ที่นี่นะ ถ้าอยากรู้จักพื้นฐานตั้งแต่เริ่มต้นจนโปรอ่านได้ที่นี่เลย!

สิ่งนั้นมีอยู่ 3 อย่างด้วยกันคือ 

1. ขนาดของรูรับแสง (Aperture Size)
2. ระยะห่างของวัตถุที่โฟกัสกับเลนส์ (Distance from the lens)
3. ทางยาวโฟกัสของเลนส์ (Focal Length)

เดี๋ยวเรามาดูกันครับว่าแต่ละอย่างนี้ทำงานกันยังไง และทำให้เราได้ภาพออกมาในรูปแบบไหน

วิธีโฟกัสภาพให้ชัด พื้นฐานถ่ายภาพระดับมือใหม่ที่ควรรู้

1. ขนาดของรูรับแรง – Aperture Size

รูรับแสง การทำงานจะอยู่ในส่วนของด้านท้ายเลนส์จะมีกลีบรูรับแสงอยู่ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าแสงจะผ่านในปริมาณมากหรือน้อยก่อนจะไปถึงเซ็นเซอร์ ขนาดของรูรับแสงนั้นวัดเป็น F-Stop หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า “ค่า F” นั่นเองครับ ซึ่งค่า F นี้จะแสดงที่ตัวเลนส์ จะเป็นหนึ่งในสองค่าที่มีอยู่ตรงตัวเลนส์ (อีกค่านึงจะเป็นค่าของระยะโฟกัส)

F-Stop หรือค่าของรูรับแสงนั้นเราสามารถปรับเปลี่ยนได้นะ โดยค่า F ที่น้อย คือรูรับแสงจะกว้าง ส่วนค่า ​F ที่เยอะ รูรับแสงจะแคบลงนั่นเอง แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรื่องของการโฟกัสล่ะ!?

รูรับแสงที่กว้าง ระยะโฟกัสจะน้อย ทำให้เกิดการเบลอได้ง่าย นิด ๆ หน่อย ๆ วัตถุก็หลุดจากระยะชัดแล้วครับ สิ่งที่เราเข้าใจว่าหน้าชัดหลังเบลอ จะเกิดง่ายกับรูรับแสงที่กว้างครับ เพราะวัตถุ คน สิ่งของ หรืออะไรก็ตามที่อยู่นอกระยะชัดมันก็จะเบลอนั่นเอง

รูรับแสงที่แคบ ระยะโฟกัสจะมาก ทำให้เกิดการชัดทั้งภาพเหมาะกับการถ่ายวิว เราเรียกระยะชัดแบบนี้ว่า “ชัดลึก” นั่นเองครับ

อ่านบทความเกี่ยวกับระบบโฟกัส และการโฟกัสภาพสำหรับมือใหม่เพิ่มเติมได้ที่นี่

รูรับแสงกว้าง กับ รูรับแสงแคบ อันไหนดีกว่ากัน ? – Small vs Large Aperture

คำถามนี้อารมณ์เดียวกับการที่เราตั้งคำถามว่า เราควรใช้ ​F เท่าไหร่ในการถ่ายรูป? อันนี้ตอบไม่ได้ครับ เพราะว่าอยู่ที่เราอยากได้ภาพออกมาแบบไหน ถ้าต้องการละลายหลังเยอะ ๆ ไม่ต้องการอะไรที่มันชัดทั้งภาพ ก็ใช้รูรับแสงกว้าง

แต่เมื่อไหร่ที่เราต้องการระยะชัดมาก ๆ ต้องการความคมชัดทั้งภาพ ก็ใช้รูรับแสงที่แคบลงมา เพื่อให้ระยะชัดครอบคลุมทั้งภาพมากขึ้นนั่นเองครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Len Fix ที่มือใหม่ควรรู้

2. ระยะห่างของวัตถุที่โฟกัสกับเลนส์ – Distance from the lens

ผมพยายามหาคำอธิบายที่เข้าใจได้ง่าย ๆ แล้วไม่ดูเป็นทฤษฎีเกินไปนะ เอาง่าย ๆ ว่า ยิ่งกล้องอยู่ห่างจากตัวแบบมากเท่าไหร่ ระยะชัดลึกจะกว้างขึ้น และยิ่งกล้องใกล้แบบมากเท่าไหร่ ระยะชัดตื้นก็จะมากขึ้นนั่นเองจ้า

หมายความว่ายังไง เวลาที่เราโฟกัสวัตถุใกล้เลนส์มากเท่าไหร่ ฉากหลังที่อยู่ห่างออกไปจากวัตถุที่เราโฟกัสนั้นจะยิ่งเบลอมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อระยะเลนส์ของเรามากขึ้น และวัตถุเข้าใกล้เลนส์มากขึ้น ฉากหลังก็จะละลายเพิ่มมากขึ้นครับ

ด้วยเหตุผลเดียวกัน ยิ่งกล้องห่างจากจุดโฟกัสมากเท่าไหร่ ระยะชัดลึกก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยครับ

3. ทางยาวโฟกัสของเลนส์ – Focal Length

ถ้าหากเราใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสที่แตกต่างกัน แต่ Setting อื่น ๆ เหมือนกันหมด เลนส์ที่มี Focal Length น้อย ๆ หรือมุมกว้างกว่าจะเกิดการชัดลึกได้มากกว่า เช่น เลนส์ Ultra Wide เวลาถ่ายละลายหลังสังเกตว่าจะเบลอฉากหลังได้น้อยมาก ๆ แต่จุดเด่นที่ชัดเจนคือเวลาถ่ายวิวให้ชัดทั้งภาพ สามารถทำได้ง่ายมาก ๆ เหมือนกัน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นปัจจัยที่มากพอจะทำให้เราเข้าใจได้ว่าอะไรทำให้เกิดภาพชัด และอะไรทำให้เกิดภาพที่เบลอ เราสามารถฝึกฝน และปรับปรุงให้สิ่งที่เราอ่านกลายเป็นทักษะของเราได้ครับ อย่าลืมนะว่าไม่มีอะไรฝึกเราได้ดีเท่ากับการฝึกฝนนะครับ

รวมบทความการถ่ายภาพพื้นฐานสำหรับมือใหม่

– การตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่ เริ่มพื้นฐานจากศูนย์กันเลย
– 
ISO คืออะไร รวมทุกอย่างที่ต้องรู้เรื่อง ISO
– 
คำแนะนำสำหรับมือใหม่ในการถ่ายภาพให้นิ่งและไม่เบลอ
– 
7 ไอเดียการฝึกถ่ายรูปสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นเล่นกล้อง
– 
10 เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้นสำหรับมือใหม่

Exit mobile version