Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

10 เทคนิคการถ่ายภาพในงานประชุมสัมมนา

10 เทคนิคการถ่ายภาพในงานประชุมสัมมนา นอกจากจะถ่ายภาพเที่ยว ภาพบุคคลแบบเเฟชั่นเเล้ว ในบางโอกาสช่างภาพมือใหม่บางคน อาจจะถูกรับเชิญให้ไปถ่ายภาพงานประชุม งานสัมนาวิชาการ หรืองานเปิดตัวสินค้า ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความจริงจังเเละความเป็นมืออาชีพอย่างมาก บทความนี้จึงมี 10 เทคนิคสำหรับการถ่ายภาพในงานประชุมสัมมนาเพื่อช่วยให้รู้ก่อนว่า จะต้องเตรียมตัว เเละจะต้องเจอกับสถานการณ์คร่าว ๆ อย่างไรบ้าง

10 เทคนิคการถ่ายภาพในงานประชุมสัมมนา

1. เข้าใจเนื้อหางาน รู้ลำดับงาน  

ก่อนเริ่มงานต้องเข้าใจเนื้อหาของงานประชุม ว่าคืองานอะไร เเล้วต้องการให้ถ่ายภาพเเบบไหนเป็นพิเศษ ซึ่งโดยเนื้อหางานเเล้ว ต้องรู้ว่าลำดับงานเป็นอย่างไร ลำดับไหนที่สำคัญมาก พลาดไม่ได้ หรือเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เเต่สำคัญ 

2. มีแผนสำรองสำหรับเรื่องที่ไม่น่าจะเกิด 

เตรียมแผนสำรอง โดยการเตรียมอุปกรณ์ทำงานสำรองไว้ เช่น กล้อง เลนส์ เเฟลช การ์ดความจำ เพราะเรื่องไม่คาดคิดมักจะเกิดขึ้นวันที่ต้องทำงาน

3. เเต่งตัวให้เข้ากับงาน ดูกาลเทศะ เคารพสถานที่เเละพิธีการ  

งานประชุมจะเป็นงานที่ค่อนข้างจริงจัง เเละบางงานอาจจะมีพิธีทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นช่างภาพก็ต้องรู้ว่า ควรเเต่งตัวเเบบไหน เพื่อจะให้เจ้าของงานประทับใจ สร้างความน่าเชื่อถือ เเละเสริมภาพความเป็นมืออาชีพให้ช่างภาพได้ (ถึงเเม้จริง ๆ เเล้วจะเป็นมือใหม่ก็ตาม)

4. สร้างความสบายใจ เเละความเป็นกันเองแก่ผู้ร่วมงาน 

เริ่มจากการยิ้ม ตัวผ่อนคลาย ไม่เกร็งเกินไปเพราะผู้คนในงาน หรือคนรอบข้างจะดูออก หากเราเกิดความรู้สึกเครียด หรือประหม่ามากเกินไป เเละในกรณีที่ต้องถ่ายภาพใครเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะภาพเดี่ยวหรือภาพกลุ่ม ก็ต้องพยายามสร้างความสบายใจให้กับผู้ร่วมงาน เเต่ก็อยู่บนพื้นฐานของการเคารพเจ้าของงาน เเละสัมมาคารวะด้วย 

5. มีอุปกรณ์การทำงานที่เอื้อต่อการทำงาน 

ปกติงานประชุม หรืองานพิธีการจะอยู่ในห้องโถงโรงเเรง ห้องประชุมที่อาจจะเเสงสลัว ทำให้เเสงอาจจะไม่พอ จึงต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการทำงาน เช่นเลนส์ที่ถ่ายในเเสงน้อยได้ดี โฟกัสได้เร็ว เเฟลชทำงานเร็ว กล้องปรับ  ISO  ได้สูง การเลือกเลนส์ที่ใช้งานจึงต้องเลือกที่ทำงานได้สะดวกเช่น เลนส์เทเลโฟโตให้ภาพสวย เเต่โฟกัสยาก ถ้าระยะห่างระหว่างกล้องเเละตวเเบบไม่พอ ก็อาจจะต้องเลือกช่วงสั้นลง หรือเลนส์ที่ปรับซูมหมุนเข้าออกตามระยะที่ต้องการได้ 

 6. ใช้งานรูรับเเสงให้เหมาะสม 

การถ่ายภาพงานประชุม งานพิธีการมักจะมีการถ่ายภาพหมู่ ดังนั้นรูรับเเสงกว้างที่สุด ก็อาจจะไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่นัก ดังนั้นรูรับเเสงควรปรับให้ถ่ายภาพหมู่เเล้วชัดทุกคน อาจจะเริ่มปรับจาก f/4 ก่อนเเล้วปรับให้เเคบลง เพราะการที่ถ่ายภาพด้วยรูรับเเสงกว้าง คนที่อยู่จุดโฟกัสจะชัด เเต่คนที่อยู่ถัดมา หรือบริเวณขอบภาพจะถูกเบลอไป  

7. ใช้งานทั้งเเสงธรรมชาติในห้องประชุมและใช้เเฟลชเสริมด้วยก็ได้ 

ถ้าหากเป็นไปได้ การถ่ายภาพบางภาพสามารถที่จะเป็นบรรยากาศงานโดยใช้เเสงธรรมชาติ หรือเเสงไฟจากห้องได้ เเต่ในบางสถานการณ์ที่เเสงไม่พอจริง ๆ ก็ต้องถ่ายภาพโดยใช้เเฟลช เพราะจะได้ไม่ต้องเสี่ยงกับภาพเบลอ เเล้วใช้งานไม่ได้ ถึงเเม้สีอาจจะไม่สวยอย่างที่ต้องการ เเต่ก็จะช่วยให้ไม่พลาดโอกาสถ่ายภาพในเวลาที่สำคัญ 

8. ใช้เเฟลชได้ เเต่ถ้าจะให้ดีมีตัวช่วยซับเเสงเพื่อจะทำให้เเสงนุ่มลงด้วย 

การใช้เเฟลช ทำให้ดึงรายละเอียดภาพได้ดีในกรณีที่เเสงไม่พอ เเต่ก็จะทำให้ภาพดูเเข็งกระด้างดังนั้นใช้ัวซับเเสง อาจจะเอาวางบางจุดเพื่อถ่ายภาพ หรืออาจจะต้องมีตัวปิดหน้าเเฟลช ที่ทำหน้าที่เป็นตัวซับเเสง เพื่อให้เเสงเเฟลชนุ่มลง 

9. ไม่ต้องเดินทั่วงานเพื่อถ่ายภาพตลอดก็ได้ หาจุดที่มองเห็นได้ทั่ว เเล้วเก็บรายละเอียดเเต่ละจุด

ถ้าหากเดินไปทั่วงาน ก็อาจจะยากที่จะต้องจับตา หรือมองหาจังหวะ หรือโมเม้นต์สวย ๆ นการถ่ายภาพ เช่นผู้คนคุยกัน รอยยิ้มของผู้ร่วมงานขณะที่มีการสัมนาที่สนุกสนาน ดังนั้นการมองหาจุดที่เก็บรายละเอียดได้ทั้งหมด ก็จะทำให้ช่างภาพทำงานง่ายขึ้น 

10.  ไม่ต้องเเต่งภาพทุกภาพ เเต่งเพียงเเค่ภาพเวลาที่สำคัญ หรือในสิ่งที่ลูกค้าต้องการก่อน 

ถ้าหากงานหนึ่ง ๆ มีภาพมากกว่าพันภาพ เเค่การนั่งคัดเลือกก็ใช้เวลานานพอสมควร ดังนั้นไม่จะเป็นต้องเเต่งทุกภาพ เเต่เลือกเเต่งภาพสำหรับช่วงเวลาที่สำคัญภาพไม่ซ้ำกันมากเกินไป  มีลำดับงานชัดเจน เเละเลือกภาพในสิ่งที่ลูกค้าต้องการก่อน ถ้าจะทำเพิ่ม หรือลูกค้าต้องการเพิ่ม ก็ค่อยลองมาเลือกแต่งตามที่ลูกค้าต้องการอีกครั้ง 

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพได้ที่นี่

เข้ามาพูดคุยเเสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการถ่ายภาพ เเละเทคนิคการถ่ายภาพในมุมมองต่าง ๆ ได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

source : https://digital-photography-school.com

Exit mobile version