Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

12 เทคนิคสำหรับการจัดองค์ประกอบการถ่ายภาพภูเขา ให้สวยงาม มีเรื่องราว และเกิดความน่าสนใจ

12 เทคนิคสำหรับการจัดองค์ประกอบการถ่ายภาพภูเขา ภาพถ่ายภูเขา เป็นภาพที่สื่อได้ถึงความทรงพลัง มีเเรงบันดาลใจ เเละความสวยงามยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ภาพถ่ายภูเขาเมื่อจัดองค์ประกอบได้อย่างพอดีเเล้ว จะเป็นภาพที่สะกดสายตาคนมอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับคนที่ชอบถ่ายรูปมาก

ก่อนที่จะถ่ายภาพภูเขา ต้องเข้าใจถึงมิติของภาพที่จะได้ ในการจัดองค์ประกอบ เเละต้องเเสดงออกถึงความเป็นธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ เช่นการใช้เลเยอร์ในการจัดองค์ประกอบภาพ (foreground, mid-ground, และ background) การใช้เส้นนำสายตา การใช้สีเเละเเสง รวมทั้งการหามุมมองที่เป็นเอกลักษณ์ 

12 เทคนิคสำหรับการจัดองค์ประกอบการถ่ายภาพภูเขา

1. การมีเส้นสายในภาพ เป็นการทำให้สายตาผู้ชมถูกดึงเข้าไปยังจุดสนใจในภาพ

เส้นนำสายตา ช่วยให้คนดูสนใจภาพของเรามากขึ้น และยังสร้างมิติลึกเข้าไปใหนภาพด้วย เช่น ถนน ลำธาร หรือสะพาน ที่ทอดยาว ออกไป หรือเเนวของหญ้า ทางเดิน ที่ทอดตัวไปยังภูเขา ก็เป็นการเพิ่มเเรงดึงดูดให้คนเข้ามามองภาพและรู้สึกลึกลงไปได้

2. ภาพภูเขาที่สูงตระหง่าน ทำให้หยุดสายตาไว้ที่ภาพได้

ภาพที่มีการวางเลเยอร์ภาพโดยคำนึงถึง foregrounds, mid-grounds และ backgrounds เเละภาพมุมกว้างเเบบพาโนรามา ที่มีก้อนเมฆคลุมอยู่บนยอดเขา เเม่น้ำ หรือทะเลสาบที่สงบนิ่งอยู่ด้านหน้า เพื่อทำหน้าที่เป็น foreground  ส่วน backgrounds อาจจะนำเสนอดวงอาทิตย์ที่กำลังโผล่พ้นขอบฟ้า หรือ กำลังจะตกก็ทำให้ภาพน่าสนใจด้วย 

โดยทั่วไป ผู้ชมจะมองไปที่ background  ก่อนที่จะกลับมาโฟกัสที่ foreground ที่วางไว้ เเละ Mid-ground จะเป็นตัวเเบบ ซึ่งจะดึงผู้ชม เเละสื่อถึงผู้ชมโดยตรง  ดังนั้นการออกไปฝึกซ้อม มองมุมที่เเตกต่างบ่อย ๆ จะช่วยให้ช่างภาพ เรียนรู้เเละเจ้าใจการวางเลเยอร์ของภาพได้ดี 

3. การใช้เเสงเเละเงาในการถ่ายทอดความรู้สึกให้มากขึ้น

ภาพที่โดดเด่น เป็นการวางภาพให้มีเเสง เเละเงาที่ขอบภาพ ที่รู้จักกันดีคือ การทำขอบมืด (vignette) การทำ vignette เพียงเล็กน้อยก็จะช่วยดึงสายตาของผู้ชมเข้าไปตรงกลางภาพ ที่มีเเสง เเละเป็นการดึงความสนใจได้ยาวนานกว่าเมื่อเทียบกับการไม่ทำให้มีเงามืดเลย (แต่ก็ไม่จำเป็นต้องทำทุกภาพนะ)

4. ถ้าต้องการภาพที่สื่อด้านอารมณ์ ต้องไม่ลืมการใช้โทนสี

การทำภาพให้ภาพอิ่มสีมากขึ้นเป็นการสร้างจุดสนใจที่ดี เเต่ระวังที่จะไม่เเต่งจนหนักมือจนเกินไป เพราะสีแต่ละแบบให้อารมณ์และความรู้สึกที่ไม่เหมือนกัน à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คู่สีในภาพถ่ายได้ด้านล่างนะ

5. หามุมมองที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนคนอื่น 

วิธีการก็คือ การเคลื่อนที่ไปโดยรอบ มองให้ทั่วทุกมุม อย่ายืน หรือถ่ายภาพเพียงเเค่จะเดียว หรือระดับเดียว จะนั่งบ้าง ยืนบ้าง ขยับออก ขยับเข้า เพื่อหาจุดที่เป็นมุมมองที่เเตกต่าง à¸™à¸­à¸à¸ˆà¸²à¸à¸™à¸µà¹‰à¸à¸²à¸£à¸—ำการบ้านเรื่องสถานที่ ที่เราจะไปถ่ายก่อนเสมอจะช่วยเราในส่วนนี้ได้ดีมากทีเดียว

6. ถ่ายภาพให้เห็นความเคลื่อนไหว (ส่วนใหญ่ต้องใช้ ND Filter ช่วย)

การทำภาพนิ่งให้ดูเคลื่อนไหว เราจะใช้ Long Exposure ในการถ่ายภาพ ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องอาศัย Shutter Speed ที่นาน เพื่อให้วัตถุนั้น ๆ เคลื่อนที่ระหว่างที่ชัตเตอร์กำลังเปิดอยู่ ส่วนใหญ่เราจะใช้ ND Fiter ช่วยลดปริมาณแสงตอนกลางวันลง เพื่อให้ใช้ Shutter Speed ได้นานขึ้น นอกจากนี้ ก้อนเมฆถ้ามี Movement ไปในทิศทางเดียวกับจุดสนใจ เราสามารถใช้การเคลื่อนไหวนี้เป็นเหมือนเส้นนำสายตาพุ่งเข้าไปหาตัวแบบได้อย่างชัดเจน

7. สังเกตเลเยอร์ของภูเขา หรือการซ้อนของภูเขาเยอะ ๆ ช่วยให้เกิดความน่าสนใจ และคนดูรับรู้ถึงมิติของภาพมากขึ้น

การถ่ายภาพภูเขาที่ซ้อน ๆ กันช่วยให้เราเห็นระยะห่างของเขาแต่ละจุด นอกจากนี้หมอกที่ซ้อนกันระหว่างภูเขา ช่วยเติมเต็มด้านจินตนาการของคนดูด้วยว่า ห่างกันเยอะไหม กี่ลูก แล้วก็อากาศ บรรยากาศตรงนั้นเป็นยังไง น่าจะหนาวนะเพราะหมอกเยอะ แสงที่เก็บมาช่วงเช้าคนดูก็รับรู้ถึงตรงนั้น ถ้าหากเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์กำลังขึ้น เราก็จะรู้สึกว่าอากาศเย็น แต่อุ่นนิด ๆ นะ เพราะเป็นช่วงเช้าตรู่เป็นต้น

8. ดูเรื่องลมฟ้าอากาศ เเละฤดูกาลไว้ด้วย 

เเสงที่ได้จากการถ่ายภาพเเบบที่ต้องการ ก็ต้องดูว่า เเสงลักษณะนั้นจะเป็นเเสงในช่วงเวลาไหน เช้า เย็น หรือฤดูไหนด้วย เพราะในบางทวีป ยิ่งอยู่ในเขตอาร์คติคเเล้ว ถ้าวางเเผนดี จะไม่ได้เเค่ภาพภูเขา เเต่จะได้ภาพเเสงเหนือที่สวยงามด้วยนะ

9. ไปถึงสถานที่ก่อนเวลา 

ถ้าวางเเผนจะได้เเสงช่วงเช้า พระอาทิตย์ขึ้นจากทิวเขา ให้ไปก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้น วางเเผน เตรียนตัว มองหามุม หรือถ้าจะให้ดี ต้องเดินทางไปก่อนหนึ่งวัน เพื่อดูว่า ดวงอาทิตย์ขึ้นมุมไหน เเละมีจุดอื่นที่น่าสนใจอีกหรือไม่ในบริเวณนั้น

10. อย่าลืมกฏสามส่วน (อ่านเรื่องการจัดองค์ประกอบเพิ่มเติมได้นะ)

ใช้ Grid เพื่อช่วยให้การวางภาพเป็นสัดส่วนตามกฏ และดูที่เส้นขอบฟ้า ไม่ให้เอียงหนักไปทางใดทางหนึ่ง โดยการวางเส้นของฟ้า วางไว้ที่เส้นบนหรือเส้นล่าง ขึ้นอยู่กับว่า ต้องการสื่อรายละเอียดของท้องฟ้า หรือตัว foregrounds นั่นเเหละ

11. มีภาพคน หรือ น้ำในภาพภูเขาที่ถ่ายด้วย

การเพิ่มคน หรือน้ำ พวกสายน้ำ ลำธาร ทะเลสาบ ไว้เป็น foregrounds เพื่อช่วยเพิ่มความน่าสนใจ เเละชีวิตชีวาให้กับภาพ อีกทั้งยังเป็นการช่วยดึงความสนใจเข้าไปในภาพได้ด้วย

12. เติมอารมณ์เข้าไปในภาพ

ใครล่ะ ที่ไม่อยากให้ภาพสื่ออารมร์ได้ จริงมั๊ย? การเติมอารมณ์ให้ภาพทำได้ง่ายนะ เช่นการถ่ายภาพภูเขาพร้อมก้อนปุยเมฆสีขาว โดยมีภาพสะท้อนมาที่ทะเลสาบที่เป็น foreground  หรือแสงของดวงอาทิตย์ที่สะท้อนบนผิวน้ำ การวางเงาสะท้อนของดวงอาทิตย์ก็เป็นการสร้างอารมณ์ให้ภาพด้วย เช่นดวงอาทิตย์ที่กำลังขึ้น พ้นเลยเส้นขอบฟ้ามาสูงขึ้นซักระยะหนึ่งจะให้ความรู้สึกมีพลัง เเต่ถ้าดวงอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้า อยู่เกือบจะลับเส้นขอบฟ้าไป จะให้อารมณ์เหงาปนเศร้าประมาณนั้น ส่วนการถ่ายภาพขาวดำ ก็ช่วยสื่ออารมณ์ได้ดีด้วยเช่นกัน

source : https://contrastly.com/tips-and-tricks-for-composing-mountain-landscape-photos/

รวมบทความถ่ายภาพ PORTRAIT เบื้องต้นสำหรับมือใหม่ ตั้งแต่ BASIC PHOTOGRAPHY และ PORTRAIT PHOTOGRAPHY แบบครบจบทุกหัวข้อ


Exit mobile version