Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

13 เทคนิคสำคัญเพื่อการถ่ายภาพ Portrait ได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับมือใหม่พัฒนาแนวการถ่ายภาพบุคคล

13 เทคนิคสำคัญเพื่อการถ่ายภาพ Portrait ได้ดีขึ้น การถ่ายภาพบุคคลให้สวยได้นั้น ต้องเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะในการสร้างสรรค์ไอเดียภาพ เเละการใช้เทคนิคถ่ายภาพโดยใช้การตั้งค่า เช่น การจัดองค์ประกอบภาพ มุม การใช้เเสง พื้นหลัง เละท่าโพส และในบทความนี้ ได้รวบรวม 13 เทคนิคสำคัญเพื่อการถ่ายภาพ Portrait ได้ดีขึ้น มาดูว่า มีอะไรกันบ้าง

13 เทคนิคสำคัญเพื่อการถ่ายภาพ Portrait ได้ดีขึ้น 

1. โฟกัสที่ตัวเเบบ เข้าใจตัวเเบบ เเละพูดคุยกับตัวเเบบ

การถ่ายภาพบุคคล สิ่งสำคัญที่สุดก็คือบุคคล หรือตัวเเบบนั่นเอง ดังนั้นโฟกัส ให้มุ่งเข้าไปที่ตัวเเบบ ก่อนการถ่ายภาพทำให้ตัวเเบบผ่อนคลาย สร้างความเป็นกันเอง จะได้ไม่รู้สึก เครียด เขินอาย ดังนั้นก่อนจะถ่ายภาพ อาจจะต้องทำความรู้จัก หรือพูดคุยกันก่อน เพื่อที่จะลดความเครียดของตัวเเบบลง

และช่างภาพก็จะได้มีโอกาสคุยเเละอธิบายคร่าว ๆ ด้วยว่า อยากได้ท่าโพสเเบบไหน อารมณ์ภาพประมาณไหน เเละถึงแม้ว่าตัวเเบบจะรู้จักช่างภาพดีก็ตาม เเต่เมื่อได้ยืนหน้ากล้องแล้วล่ะก็จะเกิดความตึงเครียดขึ้นบ้าง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องพูดคุย สื่อสารกับตัวเเบบตลอดช่วงการถ่ายภาพนั่นเอง

2. หาสถานที่ถ่ายภาพ ที่เสริมให้ตัวเเบบเด่น 

สถานที่ที่เลือก จะมีผลต่ออารมณ์ภาพอย่างชัดเจน การถ่ายภาพข้างนอกตัวอาคารใช้เเสงธรรมชาติ ควรจะถ่ายช่วงเเดดอ่อน เช่น เช้าตรู่ เเละก่อนพระอาทิต์ตกดิน จะให้ภาพที่ดูน่าสนใจ เเละเเสงจะช่วยให้ตัวเเบบเเละองค์ประกอบโดยรวมของภาพเด่นขึ้น ดูน่าสนใจขึ้น  เเต่ก็มีข้อจำกัดเเละปัจจัยหลายอย่าง เช่น ช่วงเวลาของเเสง สภาวะอากาศ ผู้คนที่อยู่รอบบริเวณนั้น 

และการถ่ายภาพในตัวอาคารก็เป็นตัวเลือกที่ง่ายขึ้น เพราะควบคุมเเสงได้ เเสงคงที่ ไม่เปลี่ยนเเปลงบ่อย เเต่ก็ต้องคิดถึงโทนสี โทนเเสงที่จะใช้ เสื้อผ้า ที่จะเข้ากับสถานที่ เเต่ก็จะต้องขับให้ตัวเเบบเด่นขึ้นด้วย 

3. ท่าโพสสวย ๆ มีผลมากเลยนะ

หลายครั้งที่การถ่ายภาพ จะต้องมาช่วงที่หยุดนึกไม่ออกมาจะโพสท่าไหน โดยเฉพาะ ตัวเเบบที่ไม่ใช้นางเเบบหรือโมเดลที่ทำเป็นอาชีพอยู่เเล้ว ดังนั้นเก็บท่าโพสไว้ในมือถือ เพื่อจะได้สื่อสารกับตัวเเบบว่าให้โพสอย่างไร โดยมีตัวอย่างให้เห็น จะได้ประหยัดเวลา เเละได้ท่าที่สวยตามที่ต้องการอีกด้วย 

4. ถ่ายภาพทีเผลอเก็บไว้ด้วย 

การที่ถ่ายภาพโดยมีกล้องอยู่ใกล้ ๆ อาจจะรู้สึกเขินอาย เเละทำให้ไม่สามารถเก็บอารมณ์ความรู้สึกจริง ๆได้ โดยเฉพาะกับการถ่ายภาพเด็กเล็ก ๆ  ดังนั้น ใช้เลนส์ซูมเพื่อที่จะทิ้งระยะห่างออกจากตัวเเบบ ทำให้ตัวเเบบผ่อนคลาย เเละเเสดงอารมณ์ได้ชัดเจนเเละเป็นธรรมชาติมากขึ้น ภาพทีเผลอนี่เเหละ บางทีสวยกว่าตอนสั่งให้โพสจริง ๆจัง ๆอีกนะ

5. เรียนรู้ที่จะใช้งานกล้องถ่ายรูปให้คล่อง 

เมื่อเริ่มถ่ายภาพ ก็ต้องลองหัด เเละใช้กล้อง ใช้เลนส์ให้คล่อง ฝึกการตั้งค่าเเละเรียนรู้ข้อจำกัดของกล้องเเละเลนส์ที่มี เพื่อจะได้ใช้กล้องให้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด เเละให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด 

6. เลือกเลนส์ที่ใช่ ให้ภาพอย่างที่ต้องการ 

เลือกเลนส์ที่ตอบโจทย์การใช้งาน เลนส์หลายเเบบ นำมาถ่ายภาพบุคคลได้ทั้งหมด เเต่อยู่ที่ว่า ภาพที่ได้ ตรงตามอย่างที่ชอบหรือไม่ เบลอหลัง ละลายหลังได้เต็มที่ หรืออยากจะได้ภาพบางส่วนจากพื้นหลังชัดขึ้นมาบ้าง ก็ต้องศึกษาเรื่องเลนส์เเละช่วงความยาวของเลนส์เเต่ละช่วงด้วย เช่นเลนส์เทเลช่วง 85 หรือ 105 มิลลิเมตร ก็จะเเยกตัวเเบบออกจากพื้นหลังได้ดี เเต่ถ้าต้องการละลายพื้นหลังไปเลยก็เลือกช่วง 70-200 มิลลิเมตร  f/2.8 ก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม 

7. พื้นหลังก็สำคัญนะ

เมื่อจุดความสนใจจะต้องอยู่ที่ตัวเเบบ ดังนั้นหน้าที่ของพื้นหลัง คือต้องไม่เเย่งความสนใจออกจากตัวเเบบ เลือกพื้นหลังที่ไม่มีความซักซ้อนมาก ไม่มีจุดที่จะดังความสนใจออกไป เช่น ต้องการถ่ายภาพตัวเเบบ ในถนนที่ผู้คนเดินกันอย่างพลุกกล่าน เพื่อเก็บบรรยากาศด้วยไปด้วย ก็เลือกเลนส์ที่เหมาะสม ตั้งค่ารูรับเเสง เเละค่าความเร็วชัตเตอร์ ก็จะช่วยตัวเเบบให้เเยกออกมาจากพื้นหลังได้ เเละช่วยเล่าเรื่องราวของภาพได้อีกด้วย

8. เลือกสี วางสีให้เหมาะสม จะช่วยให้ภาพโดดเด่นขึ้น

เฉดสีของภาพ หรือการวางแผนเรื่องเสื้อผ้า อุปกรณ์ตกเเต่งฉาก ให้มีโทนสีเข้ากัน กลมกลืม หรือ เเตกต่าง มีผลต่ออารมณ์ เเละความรู้สึกเมื่อมองภาพ การจัดวางสีตามทฤษฏีสีต่าง ๆก็เลือกนำมาใช้ได้ เช่นอยากให้ภาพนั้นดูมีความอบอุ่น เลือกโทนเหลืองส้ม ความร้อนเเรง เเสดงถึงความหลงไหล ความมีอำนวจ ก็เลือกโทนสีเเดง ส่วนถ้าเป็นโทนสีชมพู ก็จะเป็นสีที่เเสดงออกถึงความเป็นผู้หญิง อ่อนหวาน เเละน่ารัก นั่นเอง

9. การจัดเเสง ตั้งค่าเเสง ปรับเเสง เพื่อสร้างอารมณ์ให้กับภาพ 

ศึกษาการตั้งค่าเเสง การจัดเเสงเพื่อให้เข้าที่ตัวเเบบในลักษณะที่เเตกต่างกัน เข้าด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง เพื่อให้ภาพสื่ออารมณ์ได้ตามที่ช่างภาพต้องการ และนอกจากจะใช้เเสงธรรมชาติเเล้ว อาจจะต้องลองฝึกการใช้เเสงไฟ หรือเเสงไฟเสริมลักษณะต่าง ๆ ด้วย เช่นไฟเเยก เเฟลช หรือตัวสะท้อนเเสง เพื่อบังคับทิศทางและปริมาณของเเสงที่จะเข้าไปตกกระทบที่ตัวเเบบด้วย 

10. ลองมุมถ่ายภาพที่หลากหลาย 

ภาพถ่ายบุคคล ส่วนมากจะถ่ายให้อยู่ในระดับสายตา ลองถ่ายภาพในมุมมองอื่นด้วย เช่น มุมสูง มุมก้ม มุมเงย เพื่อสร้างความแปลกตาให้กับผู้ชม หลุดออกจากความเคยชินของสายตาจะช่วยให้ภาพนั้นดูโดดเด่นเเละเป็นเอกลักษณ์มากขึ้น

11. ใช้พร็อพช่วยเสริมให้ตัวเเบบ เเละภาพดูโดดเด่น 

การเติมพร็อพเสริม เป็นวิธีการที่ช่วยเติม สีสัน ความมีชีวิตชีวาให้กับภาพ อาจจะลองใช้หมวก ดอกไม้ แว่นตา หรือการใช่สีสันของเสื้อผ้า ก็ช่วยให้ตัวเเบบเด่นเเยกออกมาจากพื้นหลังได้ชัดเจนเเละสวยงามมากขึ้น ช่างภาพบางคน ใช้พร็อพเป็นการสร้างเอกลักษณ์ สร้างซิกเนเจอร์ให้ภาพด้วยการเติมพร็อพเข้าไปในภาพนี่เเหละ

12. คิดนอกกรอบ เพื่อสร้างสรรค์ภาพเเนวใหม่

ช่วงเเรกอาจจะทำตามกฏอย่างจริงจัง เพื่อฝึกพื้นฐานให้ชำนาญ มีภาพถ่ายของช่างภาพมืออาชีพเป็นเเบบอย่าง เเต่ให้คิดนอกกรอบบ้างในบางครั้ง เพื่อสร้างสรรค์ภาพเเนวใหม่ หรือการทดลองถ่ายภาพบุคคลด้วยเทคนิคเเบบอื่นบ้าง เพื่อนำตัวเองออกจากกรอบความคิดที่สร้างไว้ตั้งเเต่ตอนเริ่มฝึก อาจจะลองวางตัวเเบบตรงขอบ หรือการถ่ายภาพที่ไม่เห็นช่วงบนของตัวเเบบ หรือเปลี่ยนเป็นถ่ายภาพ ขาวดำ เปลี่ยนเเนวภาพบุคคลสวย ๆเป็นเเนว conceptual  บ้างเพื่อสร้างสร้างภาพที่น่าสนใจและมีอิทธิพลทางความคิด

13. ฝึกตกเเต่งภาพ ด้วยซอฟต์เเวร์

หลายครั้งที่คนเริ่มถ่ายภาพ มองภาพที่ดูสมบูรณ์เเบบจากมืออาชีพ เเล้วรู้สึกอยู่ในใจว่าจะถ่ายเเบบที่เค้าทำได้อย่างไร รู็หรือไม่ว่าหลายภาพ สวยขึ้นเเละดูดีขึ้นได้ เพราะผ่านการ รีทัช ตัด เติม เเละปรับสี ดังนั้นคนที่เริ่มถ่ายภาพ หรือมือใหม่อาจจะต้องศึกษาโปรเเกรมเเต่งภาพไว้ด้วย เช่น Adobe Photoshop เเละ  Lightroom เเละต้องไม่ลืมว่าจะต้องถ่ายภาพด้วยไฟล์ RAW ด้วยนะ เพื่อจะช่วยให้การจัดการกับไฟล์ง่ายขึ้น เเละดึงสี ดึงเเสงได้มากขึ้นกว่า JPEG

อ่านบทความพื้นฐานการถ่ายภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่

source: https://www.pixpa.com

Exit mobile version