Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

15 วิธีฝึกถ่ายภาพให้สวยขึ้นสำหรับมือใหม่ พื้นฐานง่าย ๆ ที่คนเริ่มต้นสามารถทำได้

15 วิธีฝึกถ่ายภาพให้สวยขึ้นสำหรับมือใหม่ สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มถ่ายภาพหรือเริ่มต้นความสนใจด้านนี้และอยากพัฒนาความสามารถและทักษะของตัวเองให้มากขึ้น ลองดูตามกันได้เลยครับ ซึ่ง 15 วิธีฝึกให้ถ่ายภาพสวยขึ้นสำหรับมือใหม่โดยจะเป็นวิธีการที่ทำให้มือใหม่ได้ฝึกฝนการคิดและเทคนิคการถ่ายภาพเพื่อให้ถ่ายภาพได้สวยขึ้นและเพิ่มทักษะการใช้งานกล้องให้มากขึ้นด้วยครับ

15 วิธีฝึกถ่ายภาพให้สว15 วิธีฝึกถ่ายภาพให้สวยขึ้นสำหรับมือใหม่ พื้นฐานง่าย ๆ ที่คนเริ่มต้นสามารถทำได้ยขึ้นสำหรับมือใหม่

1. ฝึกฝนการควบคุมการโฟกัสภาพ เพื่อให้ได้ภาพคมชัด

จริง ๆ แล้วภาพสวยไม่จำเป็นต้องโฟกัสเฉพาะแค่กลางภาพเท่านั้น อาจจะเป็นจุดที่อยู่ด้านขวา หรือซ้ายบ้างแล้วแต่การจัดวางองค์ประกอบภาพของเราเอง ให้เราฝึกที่จะควบคุมการโฟกัสของกล้อง ซึ่งกล้องแต่ละตัวก็จะมีการแสดงผลระบบโฟกัสที่คล้าย ๆ กัน ให้เราฝึกถ่ายภาพโดยโฟกัสที่จุดต่าง ๆ เพื่อให้เราชำนาญพื้นฐานเรื่องนี้มากขึ้น และควรเข้าใจการควบคุมระบบโฟกัสได้ตรงตามความต้องการได้มากขึ้นครับ

2. ฝึกโฟกัสวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวจับจังหวะการถ่ายเพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม คมชัด

การที่เราถ่ายภาพวัตถุที่อยู่นิ่งได้ยอย่างคมชัดก็เป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้วแหละครับ แต่ว่าสิ่งที่อยากให้ฝึกเพิ่มมากขึ้นก็คือการโฟกัสวัตถุที่เคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้น เพราะบางครั้งเราก็ต้องเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ และการฝึกโฟกัสวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว จะทำให้เราเรียนรู้และทำความเข้าใจระบบโฟกัสของกล้องเรามากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ

3. ฝึกทำความเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้ภาพของเราเบลอไม่คมชัด

ก่อนอื่นเราต้องมาดูปัจจัยกันก่อนครับว่า ทำยังไงให้ภาพของเราคมชัด และอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาพเบลอ ภาพไม่คมชัด เพื่อที่จะได้เข้าใจมุมมองทั้งสองแบบ และมีวิธีปรับปรุงการถ่ายภาพของเรา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีประเด็นง่าย ๆ สองหัวข้อตามนี้เลย

ภาพเบลอเพราะเกิดจากการโฟกัสที่ไม่ถูกต้อง : เราอาจจะเคยเห็นว่าจุดที่เราต้องการจะให้ชัดดันเบลอ แต่จุดที่อยากจะให้เบลอกลับชัดขึ้นมา อันนี้เป็นที่การโฟกัสของเราแล้วล่ะ นอกจากนี้ถ้าภาพเบลอทั้งภาพเลย อันนี้ก็เพราะการโฟกัสภาพของเราไม่ถูกต้องจนทำให้ภาพเบลอเหมือนกันนั่นแหละ

ภาพเบลอเพราะเกิดจากการเคลื่อนไหวของวัตถุ : เมื่อวัตถุเกิดการเคลื่อนไหวและความเร็วชัตเตอร์ไม่พอ แม้ว่าการโฟกัสของเราจะถูกต้องเป๊ะ ๆ แต่ก็เกิดการเบลอได้เหมือนกัน ดังนั้นเราควรจะฝึกเรื่องความเร็วชัตเตอร์ในการควบคุมวัตถุที่ถ่ายให้เกิดความคมชัดด้วย

4. ฝึกเลือก WHITE BALANCE ให้ถูกต้องกับการถ่ายภาพ และฝึกการแก้ภาพถ่ายที่สีผิดเพี้ยนให้ถูกต้องได้ด้วยการใช้ WHITE BALANCE

การเลือก White Balance ให้เหมาะสมกับภาพถ่ายนั้นก็ยังเป็นเรื่องที่จำเป็นอยู่แม้ว่าปัจจุบันเราถ่ายภาพด้วยไฟล์ RAW ที่สามารถมาเลือก White Balance เองใน Lightroom ได้ก็ตาม หรือแม้แต่การใช้ Auto White Balance ให้กับกล้องเพื่อกล้องหา White Balance ให้กับเราเอง

แต่การที่เราเข้าใจเรื่องการตั้งค่า White Balance ได้อย่างถูกต้องนั้นทำให้หลาย ๆ สถานการณ์เราสามารถถ่ายภาพได้สีที่ไม่ผิดเพี้ยน (เพี้ยนน้อยที่สุด ถูกต้องมากที่สุด) เพราะบางครั้งเราต้องคิดเสมอว่ากล้องอาจจะไม่ได้เลือก White Balance ให้เราได้อย่างถูกต้องเสมอไป

5. ฝึกการใช้ CUSTOM WHITE BALANCE  

คือบางครั้งการเลือกโหมดสีของ White Balance อาจจะไม่ตรงตามใจ ถ้าต้องการควบคุมการถ่ายภาพแบบเป๊ะ ๆ ในการใช้ Custom White Balance ให้เราเลือกแบบ Kelvin(K) แทน จะทำให้เราปรับค่า White Balance ได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น

6. ฝึกใช้การชดเชยแสงในการถ่ายภาพเพื่อให้เก็บรายละเอียดภาพได้มากขึ้น

ถ้าหากว่าเราลองตั้งค่ากล้องได้พอดีแล้วถ่ายภาพออกมายังรู้สึกว่าภาพยังสว่างไปหรือมืดไป เราอาจจะเลือกปรับเพิ่มหรือลดการชดเชยแสงเพื่อให้แสงที่พอดีเหมาะสมกับภาพได้เหมือนกัน โดยการเลือกปรับชดเชยแสงนั้นเป็นอะไรที่ง่าย และรวดเร็วมากสำหรับการเลือกค่าแสงให้ถูกต้องครับ

7. ฝึกทำความเข้าใจกับ HISTOGRAM เพื่อให้เข้าใจคุณภาพแสงในภาพ

วิธีที่ง่ายที่สุดในการตรวจสอบภาพที่เราถ่ายออกมาได้จากหลังกล้องเลยก็คือ Histogram เพราะเขาจะเป็นกราฟที่คอยบอกภาพรวมของสิ่งที่เราถ่ายมาได้ว่าเป็นยังไง ส่วนมืดเยอะไปไหม หรือส่วนสว่างในภาพเป็นยังไงบ้าง

นี่ยกตัวอย่างที่แสดงถึงแสงในภาพถ่าย ถ้าหากว่าเราเข้าใจ Histogram แล้ว เวลาที่เราดูข้อมูลภาพเราจะรู้ได้เลยว่าควรตั้งค่ากล้องเพื่อถ่ายภาพใหม่ยังไงให้ได้ข้อมูลตามที่ต้องการครับ

8. ฝึกการถ่ายภาพที่มีความเปรียบต่างของส่วนสว่างและส่วนมืดสูง (CONTRAST) เพื่อให้เรียนรู้ลักษณะของภาพถ่ายที่ควบคุมยากมากขึ้น

บางครั้งธรรมชาติก็ดูเหมือนแจะแอบกล้องเราเหมือนกัน ถ้าเราถ่ายภาพในบางช่วงเวลาจะเจอสิ่งที่เรียกว่า Contrast หรือความเปรียบต่างระหว่างส่วนมืดและส่วนสว่างสูงมาก จนทำให้กล้องเก็บรายละเอียดได้ไม่หมด เช่น เราวัดแสงพอในส่วนมืด ส่วนสว่างข้อมูลส่วนมืดก็หลุด หรือวัดแสงพอดีในส่วนมืด ส่วนสว่างก็หลุดออกไป

เพราะงั้นเราจะควบคุมตรงนี้ได้ดีมากขึ้นถ้าหากว่าเราอ่าน Histogram เป็น และฝึกตั้งค่าการรับแสงของกล้องให้เหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์แบบนี้ครับ และการที่เราเข้าใจการถ่ายภาพที่มี Contrast สูงทำให้เราถ่ายภาพเวลาเดินทางท่องเที่ยวได้ดีมากขึ้นอีกด้วยนะ เพราะเราสามารถจัดการกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ตรงหน้าเราได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

9. ฝึกใช้ ND FILTER, PL FILTER หรือจะให้ดีฝึกใช้ LANDSCAPE FILTER ทั้งหมดเลยก็ได้

Filter ที่นอกเหนือจาก Protector Filter ที่ใช้ปกป้องหน้าเลนส์ของเรานั้น ก็จะมี ND Filter สำหรับลดแสงลง ให้เราใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้นานขึ้น, หรือ PL Filter ที่ทำหน้าที่ตัดแสงสะท้อนในภาพ เพื่อให้ภาพถ่ายของเรามีรายละเอียดในส่วนที่แสงสะท้อนทำให้ภาพมีรายละเอียดที่หลุดออกไป

สังเกตได้ว่าฟิลเตอร์พวกนี้จะทำงานกับแสงโดยตรงทั้งหมด เพื่อให้ได้แสงตามต้องการ ส่งผลให้เราสามารถตั้งค่ากล้องที่อยากจะได้ และทำให้เอฟเฟคของภาพตรงตามอย่างที่เราหวังเอาไว้ครับ ถ้าหากว่ามีโอกาสได้ใช้ ND Filter หรือ Landscape Filter รับรองว่าต้องติดใจแน่ ๆ เลยแหละ

10. ฝึกถ่ายภาพ HIGH DYNAMIC RANGE (HDR) บ้าง เป็นการถ่ายภาพในค่าแสงที่ต่างกันแล้วนำมารวมเป็นภาพเดียวใน ADOBE LIGHTROOM ทำให้รายละเอียดในภาพดียิ่งขึ้น

การถ่ายภาพ HDR หรือ High Dynamic Range เป็นการถ่ายภาพที่นิยมมากสำหรับคนถ่าย Landscape คือการถ่ายภาพในค่าแสงที่ต่างกันจากมืดไปสว่าง (ถ่ายคร่อมแสงหลาย ๆ ส่วน) แล้วนำมารวมในภาพเดียวจะทำให้เราได้ภาพถ่ายที่มีรายละเอียดสูงขึ้น และการถ่ายภาพ HDR นี้ ส่วนใหญ่ง่าย ๆ เลยเราเอาภาพมารวมใน Adobe Lightroom ทำให้เราฝึกถ่ายภาพและแต่งภาพได้เก่งขึ้นในโจทย์ของภาพเพียงเรื่องเดียวด้วยนะ

11. การฝึกถ่ายภาพเพื่อควบคุมรายละเอียด และการถ่ายภาพเป็น RAW FILE เพื่อนำมาแก้ไขต่อ

เมื่อเราได้รู้จักกับเรื่องของ Histogram ไปแล้ว ทีนี้เราก็ควรฝึกถ่ายภาพเพื่อควบคุมรายละเอียดในภาพไม่ให้ข้อมูลต่าง ๆ หลุดรายละเอียดออกไป นอกจากนี้การที่เราถ่ายภาพเป็น RAW File ก็จะทำให้เราสามารถปรับแก้ไขภาพ หรือดึงรายละเอียดของภาพที่อาจจะมีข้อมูลหลุดออกไปในส่วนมืดหรือส่วนสว่าง เราก็สามารถเอาไฟล์ RAW นี่แหละมาปรับแก้ไขอีกทีใน Adobe Lightroom ได้

12. การฝึกจัดวางองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจที่สุด

นอกเหนือจากการเลือกสิ่งที่ควรถ่ายภาพและการตั้งค่าที่ดีที่สุดในการใช้การเรียนรู้พื้นฐานขององค์ประกอบเป็นวิธีหนึ่งในการปรับปรุงทักษะการถ่ายภาพของเราเอง ซึ่งมีพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่ององค์ประกอบภาพมากมายเลยแหละที่ทำให้เราถ่ายภาพได้สวยขึ้นง่าย ๆ เลย

13. ฝึกการใช้เส้นนำสายตาเพื่อดึงความสนใจเข้าไปที่ภาพ

การฝึกใช้เส้นนำสายตาจะช่วยให้เราจัดองค์ประกอบภาพได้ชำนาญขึ้นได้ครับ โดยการมองหาเส้นสายที่อยู่ในภาพ อาจจะเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือเส้นประ ที่เกิดจากธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างก็ได้ครับ

ลองใช้เส้นเหล่านั้นพาดลงมาที่ภาพของเรา ซึ่งเราจะเห็นว่าเส้นที่นำเข้ามานั้นจะดึงสาตาของเราไปตามทิศทางของเส้นนั้นโดยอัตโนมัติ คือตาของเราจะมองตาเส้นไปนั่นเองครับ

14. ฝึกการเติมมิติให้กับภาพด้วยการใช้ระยะลึกตื้น

ลองฝึกการวางภาพจะช่วยสร้างมิติให้กับภาพได้ครับ ส่วนมากการจัดให้จุดสนใจไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือทิวทัศน์จะเป็นจุดที่ชัดที่สุดของภาพ การถ่ายภาพโดยให้พื้นหลังเบลอไป จะเป็นการสร้างความโดดเด่นให้กับตัวแบบ เพราะสายตาของเราจะจ้องในส่วนที่ชัดนั่นเองครับ ส่วนการใช้ฉากหน้าเช่นการบังพื้นที่ภาพบางส่วนด้วยฉากหน้าเบลอ ๆ ก็จะเป็นการสร้างมิติและความน่าสนใจให้ภาพได้อย่างดีเลยครับ

15. ฝึกการสร้างกรอบภาพเพื่อกำหนดจุดสนใจ

การสร้างภาพให้น่าสนใจหรือการกำหนดจุดสนใจของภาพสามารถจัดวางองค์ประกอบภาพได้หลายแบบ ซึ่งวิธีการหนึ่งที่ให้ผู้มองภาพรู้ได้อย่างชัดเจนเลยว่า จุดไหนคือจุดสนใจของภาพ จุดที่เราจะโฟกัส นั่นก็คือการวางกรอบให้ภาพนั่นเองครับ ซึ่งการฝึกวางกรอบให้ภาพไม่ยากครับ เพียงหาสิ่งรอบตัวเช่น พุ่มไม้ ขอบประตู ขอบโค้ง ขอบกลม หรือเหลี่ยม แล้วถ่ายภาพผ่านกรอบเหล่านั่น ก็ทำให้ภาพดูมีกรอบภาพขึ้นมานั่นเองครับ

รวมบทความท่องเที่ยวและถ่ายภาพที่น่าสนใจ

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

Exit mobile version