Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

4 วิธีการตั้งค่ากล้องเพื่อถ่ายดาว : สิ่งที่มือใหม่ต้องรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ (ตอนที่ 2)

4 วิธีการตั้งค่ากล้องเพื่อถ่ายดาว : สิ่งที่มือใหม่ต้องรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ (ตอนที่ 2) ซึ่งในตอนนี้จะพูดถึงการตั้งค่าเบื้องต้นสำหรับการถ่ายภาพดาว จะมีสองค่าหลัก คือ รูรับเเสงเเละความเร็วชัตเตอร์ สองค่านี้จะเป็นค่าที่ควบคุมปริมาณเเสงที่เข้าสู่เซ็นเซอร์ และกำหนดว่า เเสงจะเข้ามาในเซ็นเซอร์มากน้อยเท่าไหร่ เเละนานเท่าไหร่ เพื่อให้ได้ภาพอย่างที่ต้องการ ทั้งนี้ก็ยังทไงานกับการตั้งค่า ISO เเละค่าสมดุลเเสง เพื่อให้ได้ภาพที่สวยสมบูรร์มากขึ้น

4 วิธีการตั้งค่ากล้องเพื่อถ่ายดาว : สิ่งที่มือใหม่ต้องรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ (ตอนที่ 2)

1. ความเร็วชัตเตอร์ 

ความเร็วชัตเตอร์ เป็นช่วงเวลาที่เปิดช่องให้เเสงเข้ามากระทบที่เซ็นเซอร์ได้ช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งการถ่ายภาพดาว จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ยาวกว่าปกติ ซึ่งถ้าเปิดความเร็วชัตเตอร์นานเท่าไหร่ ก็จะเห็นการเคลื่อนที่ของดาว หรือหางของดาวยาวมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องหาช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ดาวชัดที่สุด โดยที่ยังไม่เกิดหางดาว ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ก็จะขึ้นอยู่กับกล้องเเละเลนส์ที่ใช้ เพราะจะต้องคำนวนจากระยะของกล้อง เพื่อให้ได้ความเร็ซชัตเตอร์ที่เหมาะสม 

ตัวอย่างเช่น 

จากกฏ 600 คือการใช้ 600 หารด้วยระยะเลนส์ที่ใช้  (ในกรณีที่ใช้เซนเซอร์ฟูลเฟรม) เช่น เลนส์ 24 mm ช่วงเวลาการตั้งค่าของความเร็วชัตเตอร์คือ 600/24 = 25 วินาที เเต่ถ้าใช้เเบบตัวคูณก็ต้องเอาค่าตัวคูณมาพิจารณาด้วย เช่นถ้าใช้เลนส์ 24mm กับกล้องตัวคูณ โดยมีค่า factor ตัวคูณที่ 1.6 ดังนั้นความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้ได้สูงที่สุดคือ (24mm x 1.6) = 15.625 วินาที 

2. รูรับแสง 

รูรับเเสงเป็นกลไกการเปิดรับเเสง ผ่านม่านรับเเสงที่จะเปิดให้แสงเข้าไปในเซ็นเซอร์มากหรือน้อย โดยการเปิดกว้าง เเละหดเเคบลง ซึ่งรูรับเเสงจะทำหน้าที่เหมือนรูม่านตาในตาของมนุษย์ที่เมื่อเเสงน้อย รูรับเเสงจะเปิดกว้าง เเต่ถ้าเเสงมากรูม่านตาจะหดเเคบลง การตั้งค่ารูรับเเสง จะปรับได้จากการเปลี่ยนเเปลงค่า f  โดยค่า f น้อยจะเป็นการเปิดรูรับแสงกว้าง และค่า f มากรูรับแสงจะแคบลง 

การถ่ายภาพดวงดาว เป็นการถ่ายภาพที่ต้องการเเสงผ่านเข้ามาเพื่อกระทบกับเซ็นเซอร์ได้มาก ดังนั้นปกติเเล้ว รูรับเเสงจึงเปิดไว้ที่ค่าที่กว้างที่สุด เเต่ถ้าถ่ายภาพดวงจันทร์ที่มีเเสงมากกว่า ก็จะใช้รูรับแสงที่แคบลง เช่น f/9 เพื่อไม่ให้สว่างเกินไป เเต่เพื่อให้เห็นรายละเอียดบนผิวของดวงจันทร์ด้วย 

3. ค่า ISO สำหรับการถ่ายดาว 

กล้อง DSLR ในปัจจุบันปรับค่าได้สูง จนสามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้ดีกว่าสายตาปกติของมนุษย์ด้วยซ้ำ

ค่า ISO เป็นค่าความไวเเสง ซึ่งจะเป็นค่าที่ปรับให้เซ็นเซอร์มีความไวต่อเเสงมากหรือน้อย ค่ามากก็จะไวต่อเเสงมาก ค่าน้อยก็ไวต่อเเสงน้อย เเต่การที่ตั้งค่า ISO สูง ๆ ในการถ่ายภาพ จะทำให้ภาพเกิดเม็ดสีเพี้ยน ๆ ในภาพ หรือที่เรียกว่าน็อยซ์ เเต่การถ่ายดาว จะเป็นต้องใช้ค่า ISO ที่สูงที่สุดเท่าที่จะไม่ทำให้เกิดน็อยซ์ เพื่อจะไม่รบกวนรายละเอียดของภาพ เช่นใน Canon 5D MkIII จะใช้ค่า ISO ที่  3200 และ 6400

4. ปรับสมดุลแสง 

การปรับสมดุลแสงเป็นกระบวนการปรับค่าสีให้เป็นกลางที่สุด ปรับสีไม่ให้เพี้ยน และให้พื้นสีขาวที่เป็นธรรมชาติ โดยคุณภาพสีจะขึ้นอยู่กับเเหล่งกำเนิดเเสง โดยเเสงเเต่ละประเภทจะให้อุณหภูมิสีที่เเตกต่างกันไป โทนสีส้มร้อน หรือสีฟ้าเเบบโทนเย็น ดังนั้นการถ่ายดาวจึงจะเหมาะที่จะปรับด้วยตัวเองมากว่าจะปรับใ้ห้เป็นเเบบอัตโนมัติ โดยอุณหภูมิสีสำหรับการถ่ายภาพดวงดาวจะอยู่ที่ 3200k ถึง 4800k ขึ้นอยู่กับสภาพเเสง 

โดยปกติเเล้ว เค้าจะใช้การตั้งค่าเท่าไหร่กันบ้าง 

การตั้งค่ากล้องขึ้นอยู่กับกล้องเเละเลนส์ที่ใช้ รวมทั้งปัจจัยเเวดล้อมอื่นด้วย เเต่จะยกตัวอย่างผู้ชนะการถ่ายภาพดวงดาวของรายการของ 500px ที่จัดขึ้น คือ Mark Gee ถ่ายภาพดวงดวงตอนกลางคืนโดยใช้ Canon 5d MkIII เลนส์ 14mm f/2.8 โดยตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ 30 วินาที รูรับเเสง  f/2.8 และ ISO 3200 (ภาพตัวอย่าง)



อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพได้ที่นี่

source : https://iso.500px.com/basic-astrophotography-tutorial/

Exit mobile version