Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

5 วิธีการถ่ายภาพฟ้าผ่า ด้วยเทคนิค Long exposure สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้น

5 วิธีการถ่ายภาพฟ้าผ่า ด้วยเทคนิค Long exposure การถ่ายภาพฟ้าผ่าเป็นการถ่ายภาพที่จัดอันดับว่ายาก อันดับต้น ๆ อย่างหนึ่งเลยเพราะการถ่ายภาพฟ้าผ่า เราทำได้เเค่ตั้งค่าและกดชัตเตอร์รอ ถ้าจังหวะได้โอกาสดีก็จะได้ภาพสายฟ้าสุดอลังการกลับมา หรือบางครั้งอาจจะถ่ายภาพไม่ได้เลยก็มี ซึ่งอุปกรณ์ที่ต้องใช้ก็เป็นอุปกรณ์พื้นฐานเช่น กล้อง ขาตั้งกล้อง สายลั่นชัตเตอร์ เลนส์  ส่วนสถานที่เเนะนำว่าถ่ายในต้วอาคารจะปลอดภัย เเละดีต่อสุขภาพทั้งกล้องและช่างภาพ

5 วิธีการถ่ายภาพฟ้าผ่า ด้วยเทคนิค Long exposure สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้น

1. ตั้งขาตั้งกล้องบนพื้นผิวที่มั่นคง พื้นเรียบ เพื่อไม่ต้องเสี่ยงกับขาตั้งล้ม สร้างความเสียหายให้กล้องได้

การตั้งกล้องรอ ต้องใช้เวลานานเเละความอดทนพอสมควร จังต้องกาพื้นที่เรียบ ที่ขาตั้งกล้องจะตั้งมั่นอย่างมั่นคง ในบางกรณีที่เดินทางไปถ่ายภาพฟ้าผ่าบริเวณหน้าหาด ซึ่งขาตั้งกล้องถูกวางอยู่บนทราย อาจจะไม่มั่นคง กล้องอาจจล่ม ทำให้กล้องเลนส์ เเละฟิลเตอร์เสียหายได้ 

2. ตั้งค่ากล้องเตรียมไว้ หันหน้ากล้องไปยังทิศทางที่วางไว้ 

โดยที่ค่าเเมนนวลโฟกัส ค่ารูรับเเสงอาจจะตั้งที่ 5.6-8 ค่า ISO100-200 และความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 30-120 วินาที เลนส์ที่ใช้ก็แล้วเเต่ว่า ต้องการภาพออกมาในลักษณะใด ถ่ายซ้ำอย่างนั้นเรื่อย ๆ การถ่ายภาพฟ้าผ่าไม่สามารถบอกได้ว่าเมื่อไหร่จะผ่า เเละจะผ่าที่ตำเเหน่งไหน จึงต้องอาศัยจังหวะและการคาดการณ์เท่านั้น

3. ระยะทางระหว่างกล้องกับปรากฏการณ์ฟ้าผ่าควรมีระยะห่างพอประมาณ

การถ่ายภาพฟ้าผ่า ไม่ควรที่จะอยู่กลางเเจ้ง ใกล้กับบริเวณที่กำลังเกิดฝนฟ้าคะนอง ควรจะเป็นการถ่ายภาพปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากระยะไกล อาจจะประมาณ 10 km โดนนอกจากจะปลอดภัย ยังสามารถเห็นภาพรวมเเละการกระจายของเเสงฟ้าผ่าได้ครบ ทั้งยังมีภาพรวมของสถานที่ เพื่อเป็นองค์ประกอบในการเล่าเรื่องได้อีกด้วย 

4. ตั้งเวลาการถ่ายภาพเเบบ Long Shutter 30-120 วินาที 

การถ่ายภาพฟ้าผ่า ก็เป็นการใช้เทคนิค long exposure แต่จะตื่นเต้นมากกว่าการถ่ายภาพ long exposure ธรรมดาคือ การกดสายลั่นชัตเตอร์เมื่อเห็นเเสงวาบ หรือคาดเดาจังหวะของการเกิดฟ้าผ่า หรือจะใช้ ND filter  เพื่อลดเเสงได้อีกเพื่อให้ตั้งค่า long exposure ได้นานขึ้น 

5. มีฉากหน้าหรือฉากหลังให้ดูน่าสนใจ 

ขณะที่ตั้งกล้องให้จุดโฟกัสบนฟ้า เเต่องค์ประกอบที่เล่าเรื่องจะอยู่ด้านล่าง ดังนั้นจึงต้องมีฉากหน้าหรือฉากหลังที่ดูน่าสนใจ จึงจะช่วยให้นอกจากจะเห็นสายฟ้าที่สวยงามเเล้ว ยังมีเนื้อเรื่องของภาพที่น่าสนใจด้วย  เเละนอกจากจะสร้างให้มีมิติเเล้ว ยังช่วยเติมเรื่องราวด้าน Sense of Scale ด้วย 

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพท่องเที่ยวได้ที่นี่

source : https://digital-photography-school.com

Exit mobile version