Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

5 เทคนิคการถ่ายท้องฟ้า ที่ทำให้ภาพวิวดูน่าทึ่ง เล่าเรื่องราวเเละมีความน่าสนใจ

5 เทคนิคการถ่ายท้องฟ้า ที่ทำให้ภาพวิวดูน่าทึ่ง เเละ น่าสนใจการถ่ายภาพวิวที่มีท้องฟ้าสีเทาโล่ง ไม่มีเมฆ ไม่มีเรื่องราวหรือรายละเอียด ไม่มีสีสันที่เเปลกตา อาจจะทำให้ภาพวิวดูน่าเบื่อได้ เเต่การถ่ายภาพวิวในขณะที่ท้องฟ้าก็ดูน่าทึ่งด้วยนั้น  จะทำให้วิวมุมเดิมที่อาจจะดูน่าเบื่อ เป็นภาพที่ดูน่าตื่นตาตื่นใจขึ้นได้ เเต่จะมีวิธีการไหนที่จะทำให้ได้ภาพท้องฟ้าเเบบนั้นได้ ลองมาดู 5 เทคนิคการถ่ายท้องฟ้าที่ทำให้ภาพวิวดูน่าทึ่ง เเละ น่าสนใจ ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง

5 เทคนิคการถ่ายท้องฟ้า ที่ทำให้ภาพวิวดูน่าทึ่ง เล่าเรื่องราวเเละมีความน่าสนใจ

1. จังหวะเวลาเป็นปัจจัยหลัก 

การถ่ายภาพวิว ปัจจัยหลักที่ต้องคิดถึง ก็คือเวลา เพราะเวลาเเตกต่างกัน เเสง จะให้อุณหภูมิที่ต่างกัน สีต่างกัน อารมณ์ก็จะต่างกัน ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ช่วงสาย เที่ยง ช่วงบ่าย เย็น ค่ำ ล้วนให้ความรู้สึกที่เป็นเอกลักษณ์ในเเต่ละช่วงเวลา ฤดูกาลที่ต่างกัน ก็จะให้อารมณ์ภาพต่างกันด้วย เช่น ท้องฟ้าในช่วงก่อนฝนจะตก มีก้อนเมฆ ขนาดเเละรูปร่างที่น่าสนใจมากมาย เเสงสะท้อน หรือลำเเสงของดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านเมฆเหล่านั้น ก็สร้างความน่าทึ่งให้กับภาพได้ 

ถ้าอยากจะได้ภาพที่ดูอารมณ์หม่น หนักอึ้ง หรือ ขุ่นเคือง ก็ลองถ่ายภาพของท้องฟ้าที่จะเกิดพายุ ตอนเมฆฝนสีดำกำลังก่อตัว เเต่ถ้าอยากได้ภาพที่สื่ออารมณ์สดใส สบายใจ สดชื่น ก็ลองถ่ายภาพปุยเมฆสีขาว หรือเมฆสีขาวก้อนเล็ก ที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าสีฟ้าดูเเล้ว จะรู้สึกอย่างที่บอกจริง ๆ 

2. ลองเปลี่ยนสีภาพโดยการใช้ Preset รูปแบบต่าง ๆ อาจจะเริ่มจากการปรับสมดุลเเสงสีขาวก่อนก็ได้

บางครั้งก็ต้องทดลองปรับค่าต่าง ๆของกล้อง ซึ่งถ้าในกรณีถ่ายภาพท้องฟ้า ช่วงเย็น พระอาทิตย์ตก เเละเเสงสีส้มของดวงอาทิตย์กระทบกับก้อนเมฆ ทำให้สีของก้อนเมฆเป็นสีส้ม เเดง ให้ปรับค่าสมดุลเเสง เช่น ปรับให้เป็นเเบบเมฆมากและร่มเงาจะช่วยให้พระอาทิตย์ตกดินสีส้ม และท้องฟ้าสีฟ้าอ่อน การตั้งค่าฟลูออเรสเซนต์จะเปลี่ยนเป็นสีส้มยามพระอาทิตย์ตกดิน เป็นสีม่วงพร้อมท้องฟ้าสีฟ้าสดใส ซึ่งถ้ากล้องรุ่นไหน สามารถปรับเป็นอุณหภูมิสี หน่วยเคลวินได้ จะเพิ่มความหลากหลายในการปรับตั้งค่าได้อีกเยอะเลย 

และการถ่ายภาพไฟล์ RAW จะช่วยให้การปรับเเต่งสีของท้องฟ้าง่ายขึ้น โดยใช้ซอฟต์แวร์ในกระบวนการ post – processing โดยอาจจะปรับเปลี่ยน preset ในเเบบต่าง ๆ ปรับสีให้ดูแปลกตา ก็จะทำให้ภาพดูน่าสนใจ หรือเป็นการปรับเเก้ไข เช่น ภาพดูอุ่นเกินไป หรือเย็นเกินไป ปรับโทนสีในภาพ ก็จะช่วยให้อุณหภูมิภาพ เปลี่ยนไปได้ 

3. จัดวางองค์ประกอบให้กับท้องฟ้า

เมื่อเรื่องราวของภาพเน้นไปที่ท้องฟ้า หรือต้องการให้จุดเด่นเป็นท้องฟ้า การจัดองค์ประกอบของภาพ ก็เพียงเลื่อนให้ขอบฟ้าอยู่เส้นล่างสุดของ Grid โดย เส้นเเนวนอนเเละเส้นเเนวตั้งอย่างละสองเส้น ตัดกันสี่จุด เเละจะเเบ่งภาพออกเป็น 9 ช่อง เเบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน โดยวางเส้นขอบฟ้าไว้ที่เส้นล่างสุด ให้ฟ้าอยู่ในสัดส่วน 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด นั่นเอง 

4. ใช้ฟิลเตอร์ เพิ่มความสดใส ให้สีของท้องฟ้า 

มีฟิลเตอร์ สองอย่างที่ควรจะมีไว้ สำหรับช่างภาพสาย Landscape นั่นก็คือ graduated neutral density (GND)  เป็นฟิลเตอร์ครึ่งซีก มีส่วนมืด เเละส่วนสว่าง ด้วยการวางส่วนที่มืดของฟิลเตอร์ลงบนท้องฟ้า ส่วนสว่างอยู่พื้นดิน จะทำให้เก็บภาพทั้งสองส่วนได้ทั้งหมด หากไม่มีฟิลเอตร์ท้องฟ้าก็จะสว่างจ้าเกินไปและพื้นดินอาจจะมืดเกินไปนั่นเอง ทั้งยังจะช่วยให้ภาพที่ได้ มี สีสันที่สดใส สีเข้มขึ้น อิ่มสีมากขึ้น ดูมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วย

Polarizing จะช่วยลดเเสงสะท้อนที่มาจากเลนส์ โดยเเสงสะท้อนที่เกิดขึ้นนั้นทำให้มองเห็นสีสันลดลง ดังนั้น  เมื่อใส่ฟิลเตอร์เเล้ว ทำให้เก็บภาพรายละเอียดของท้องฟ้ามากยิ่งขึ้น สีสันอิ่มสวยขึ้น และยังทำงานได้สำหรับการสะท้อนแสงออกจากน้ำหรือพื้นผิวมันวาวอื่น ๆ เช่นกัน

5. ถ่ายภาพท้องฟ้าที่กำลังเคลื่อนที่ โดยใช้การถ่ายภาพเเบบ Long exposure

Long exposure เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เห็นการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ยาวขึ้น รูรับเเสงเเคบ ชึ้นอยู่กับว่า ต้องการให้ภาพออกมาอย่างไร เเละช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืน ก็จะปรับค่าเเตกต่างกันไป ใช้ได้กับการถ่ายภาพน้ำตก คลื่นน้ำทะเล รถที่กำลังวิ่ง คนเดิน ดาวหมุน

ซึ่งในกรณีนี้ก็จะเอามาใช้กับการถ่ายก้อนเมฆที่ลอยอยู่นั่นเอง โดยภาพที่ได้ จะเห็นการเคลื่อนที่ของก้อนเมฆ โดยก้อนเมฆจะเบลอ นุ่มนวล เเละรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนที่ ในวันที่อากาศดี ลองปรับดึงเวลาเริ่มจาก สองนาที เเล้วค่อย ๆปรับ เพื่อให้ได้ภาพก้อนเมฆเคลื่อนไหว อย่างที่ต้องการ โดยฟิลเตอร์ที่ใส่ไป ก็ช่วยให้ดึงเวลาได้ยาวขึ้นได้ด้วย 

เทคนิคการถ่ายภาพ Landscape และเรื่องเกี่ยวกับฟิลเตอร์ที่ควรรู้สำหรับมือใหม่

source : https://digital-photography-school.com

Exit mobile version