Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

6 วิธีคิดราคาถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ที่จะรับงานถ่ายภาพเป็นอาชีพ

สำหรับช่างภาพมือใหม่ที่จะรับงานถ่ายภาพเป็นอาชีพ น่าจะต้องเจอปัญหาการตั้งราคา เพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มตั้งราคาอย่างไร มือใหม่บางรายก็รับงานฟรีหรือรับงานในราคาที่ถูกมาก เพราะคิดว่ายังเป็นมือใหม่อยู่นั่นเอง วันนี้เรามาดูกันว่า จริง ๆ เเล้วการถ่ายภาพเพื่อจะทำเป็นอาชีพ จะต้องคำนวณจากราคาจุดไหนบ้าง อย่างน้อยก็ให้ครอบคลุมต้นทุนที่ลงไปก็ยังดี 

6 วิธีคิดราคาถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ที่จะรับงานถ่ายภาพเป็นอาชีพ

1. อุปกรณ์ที่ต้องใช้ กล้อง เลนส์ ไฟ ขาตั้ง ฟิลเตอร์ คอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ที่ใช้ในงานถ่ายภาพทุกชิ้นคือการลงทุน ซึ่งอุปกรณ์เเต่ละอย่างเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูง อุปกรณ์ที่ใช้ถ้ามีประสิทธิภาพสูงก็จะทำให้ได้คุณภาพงานที่ดีด้วย กว่าจะได้มาก็อาจจะต้องเเลกด้วยอะไรหลายอย่าง กล้องก็จะเสื่อมลงไปเรื่อย ๆ จากการลั่นชัตเตอร์ในเเต่ละครั้ง ดังนั้นจึงต้องคิดถึงการเสื่อมราคาของอุปกรณ์รวมถึงการซ่อมบำรุง รักษาอุปกรณ์เหล่านี้ด้วยเช่นกัน 

2. ค่าเเรงในการทำงานเเต่ละครั้ง เวลาที่ทุ่มไปกับการทำงาน

การรับงานในเเต่ละครั้งต้องใช้ความคิด การสร้างสรรค์ผลงาน รวมทั้งต้องใช้ทั้งเวลาเเละแรงงาน ค่าเเรงอาจจะคิดเป็นงาน หรืออาจจะคิดเป็นชั่วโมงก็ได้ ลองนึกภาพการเดินถ่ายภาพทั้งวัน เเบกกล้องหลายตัวเเละอุปกรณ์เสริมที่มีนำ้หนักพอสมควร ถ่ายภาพเสร็จก็ต้องกลับมาเเต่งภาพ ทำไฟล์ ดังนั้นค่าเเรง เวลา เเละสุขภาพก็เป็นต้นทุนที่ต้องคิดเเละคำนวณด้วยเช่นกัน 

3. ค่าพิมพ์ภาพ ซอฟต์เเวร์ พรีเซ็ต แอปพลิเคชั่น ค่าจัดส่ง ค่านางเเบบ

ปัจจุบันมีการบริการทั้งเเบบส่งไฟล์ภาพ เเละการทำเป็น Photobook อัดกรอบ ส่งภาพ นอกจากนี้ซอฟต์เเวร์เเต่งภาพ พรีเซ็ตที่จะช่วยปรับอารมณ์เเละโทนสี อาจจะต้องลงทุนซื้อมาด้วย ก็อาจจะลงทุนไปไม่น้อย รวมถึงค่าปริการจัดส่งก็ต้องคิดด้วยว่าจะคิดเพิ่มไปอีกเท่าไหร่อีกด้วย 

ในบางงานเช่นการรับงานรีวิวอาจจะต้องจ้างนางเเบบเพื่อรีวิวสินค้า ก็ต้องคิดเผื่อรายละเอียดของงานว่าต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมส่วนไหนอีกบ้าง

4. ค่าโฆษณา โปรโมต สร้างโปรไฟล์

การสร้างโปรไฟล์ การโปรโมต เเละโฆษณาตัวเอง ก็ต้องลงทุนเรื่องเพจ เว็บไซต์ ซึ่งก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเช่นกัน เพราะการเป็นช่างภาพในปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีคู่เเข่งไม่น้อยเลย ดังนั้นโปรไฟล์ ผลงาน เเละการนำเสนอตัวเองให้ผู้คนรู้จักนั้นเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน

5. กำไรที่พึงได้จากการทำงาน

นอกจากเรื่องต้นทุนที่ลงไปกับการจะเริ่มต้นรับงานถ่ายภาพเเล้ว การทำงานก็ต้องคิดถึงสิ่งที่จะได้มาจากการทำงาน คือผลตอบเเทนหรือกำไรด้วย โดยไม่ลำบากทั้งตัวเองเเละลูกค้าก็ต้องได้งานที่คุ้มค่าด้วย  

6. เปรียบเทียบราคากับช่างภาพในท้องถิ่น 

ถ้าคำนวณราคาออกมาเเล้ว เเละเปรียบเทียบผลงาน เเละราคากับช่างภาพรุ่นพี่หรือดูจากราคาการรับงานโดยทั่วไป ซึ่งอัตราราคาถ่ายภาพจะต่างกันในเเต่ละหมวด เช่น ถ่ายภาพงานพิธี การถ่ายภาพสินค้าเพื่อการโฆษณา ถ่ายเเฟชั่น ถ่ายรีวิว ถ่ายภาพคู่รักก่อนเเต่ง หรือถ่ายงานเเต่ง โดยราคาจะค่อนข้างเเตกต่างอย่างชัดเจน

ถ้าคำนวณเเล้วราคาที่รับต่องานสูงกว่าราคาทั่วไปก็ต้องพิจารณาเรื่องความโดดเด่นหรือเเตกต่างด้วย ให้ถามตัวเองว่าอะไรที่ทำให้ลูกค้ายอมจ่ายในราคาที่สูงกว่า หรือถ้าตั้งราคาถูกกว่าราคาทั่วไป ก็ต้องพิจารณาด้วยเช่นกันว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ เพราะไม่อยากให้ความชื่นชอบในการถ่ายภาพ การทุ่มเท หรือการลงทุนไปนั้นทำให้สูญเสีย มากกว่าที่จะได้นั่นเองครับ

อ่านบความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพได้ที่นี่

Exit mobile version