Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 วิธีฝึกถ่ายภาพให้สร้างสรรค์ ด้วยการใช้ความเร็วชัตเตอร์

7 วิธีฝึกถ่ายภาพให้สร้างสรรค์ ด้วยการใช้ความเร็วชัตเตอร์ ความเร็วชัตเตอร์เป็นตัวเเปรสำคัญที่ใช้ในการควบคุมเเสง โดยเฉพาะการถ่ายภาพเพื่อให้เห็นการเคลื่อนที่ของวัตถุ หรือการเคลื่อนไหวภายในภาพ

เพราะการที่ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้นานขึ้น จะเป็นการยอมให้เเสงเข้ามามาก ภาพจะสว่างขึ้น เเต่มีข้อเสียคือ เมื่อมีการสั่นของกล้องเกิดขึ้น ก็จะทำให้ภาพเบลอได้  เเละการตั้งค่าให้ความเร็วชัตเตอร์เร็วขึ้ัน จะช่วยให้ภาพคมชัดขึ้น ลดความเบลอลงได้ เเต่ภาพก็จะมืดลง เราจึงใช้หลักการนี้ ในการสร้างสรรค์ภาพให้ดูน่าสนใจได้

ส่วนมากการถ่ายภาพโดยการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นหลัก จะเป็นการถ่ายรูปในลักษณะของ action shot เช่น การถ่ายภาพเด็กกำลังเล่น สัตว์เลี้ยงวิ่งเล่น หรือภาพการเล่นกีฬา เพราะต้องเก็บภาพด้วยความรวดเร็ว เหมือนการถ่ายภาพเพื่อหยุดเวลาในขณะนั้น

จุดประสงค์คือ ต้องพยายามหาความพอดีของเเสงในภาพ ไม่สว่างหรือมืดเกินไป จับความเคลื่อนไหว (motion blur) หรือหยุดการเคลื่อนที่ (stop motion)

7 วิธีฝึกถ่ายภาพให้สร้างสรรค์ ด้วยการใช้ความเร็วชัตเตอร์

1.ฝึกมองมุม ตำเเหน่งการวางภาพ 

เพราะวัตถุกำลังเคลื่อนที่จึงต้องคิดว่า มุม เเละจังหวะที่เหมาะที่สุด คือช่วงไหน 

2. ฝึกความอดทน 

นอกจากจะต้องดูว่า มุมไหนที่จะถ่ายภาพออกมาสวย เเละจังหวะที่ดีที่สุด ต้องฝึกฝนที่จะรอคอย เเละอดทนด้วยเช่นกัน เพราะการรอคอยจะช่วยให้ได้ภาพที่สวยเเละได้จังหวะที่ดีมากที่สุด 

3. ฝึกถ่ายภาพด้วยค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เเตกต่างกัน 

เช่นถ่ายภาพเเบบ motion blur จะต้องปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลง เช่น ลองปรับที่ 1/20 วินาที เปิดกล้องนานขึ้นเพื่ออนุญาตให้เเสงเข้ามาในเซ็นเซอร์ได้มากขึ้น 

4. ฝึกไม่ว่าตัวเเบบจะเป็นอะไร 

พยายามจับการเคลื่อนไหว หยุดการเคลื่อนที่ด้วยการปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ 

5. ฝึกดูเรื่องราวรอบ ๆ ว่ามีเรื่องราวอะไรที่จะเล่าเรื่องราวภาพในภาพ 

ไม่ว่าจะถ่ายภาพเเบบหยุดการเคลื่อนไหว หรือเพื่อเห็นการเคลื่อนที่ ก็ต้องมีเรื่องราวแวดล้อม ที่จะช่วยเล่าเรื่องภาพในภาพให้สมบูรณ์ขึ้น 

6. ฝึกสังเกตเเสงว่ามีผลต่อภาพที่ถ่ายหรือไม่

ถ้าหากตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์นาน เเสงจะเข้าเยอะ ภาพจะสว่าง เเต่ถ้าเกิดระยะสั้น ภาพก็จะสวางน้อยลง ดังนั้นปรับให้เข้ากับความต้องการ หรืออาจจะรอเวลาสักหน่อย เช่น อาจจะต้องรอให้มืดลง เพื่อให้ได้เเสงที่พอดี เเละจังหวะที่พอดี 

7. ฝึกที่จะมองเห็นความเหมาะสม ว่าภาพเเบบไหนควรหยุดการเคลื่อนไหว เเละเเบบไหนควรให้เกิด motion blur 

ในบางภาพเช่นการเเข่งขันกีฬา จังหวะการกระโดด หมุนตัว ที่เเม้เพียงเสี้ยววินาทีก็พลาดที่จะไม่เห็นจังหวะการเคลื่อนไหวเหล่านั้น ก็ควรจะเป็นการถ่ายภาพเพื่อหยุดการเคลื่อนไหว เพื่อให้เห็นจังหวะการ action นั้นชัดเจน

เเต่ถ้าเป็นการเคลื่อนที่ที่มีทิศทางเช่น รถที่เคลื่อนบนถนน ทะเล หรือคลื่นที่ไหลมากระทบฝั่ง เพื่อที่จะทำให้ได้สื่ออารมณ์เเละทิศทางการเคลื่อนที่ ก็จะต้องถ่ายเพื่อให้เห็นทิศทางเเละการเคลื่อนที่นั้น (เเต่ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนของช่างภาพด้วยว่าอยากได้ภาพในลักษณะใด) 

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ภาพด้วยการใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ที่นี่

source : https://www.bonusprint.co.uk

Exit mobile version