Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 เทคนิคการถ่ายภาพอาหาร สำหรับ blogger มือใหม่ เเละเจ้าของร้านอาหารที่อยากมีภาพไว้ดึงดูดลูกค้า

7 เทคนิคการถ่ายภาพอาหาร สำหรับ blogger มือใหม่ เเละเจ้าของร้านอาหารที่อยากมีภาพไว้ดึงดูดลูกค้า หลายคนผันตัวมาเป็น Blogger อาหารโฮมเมดหลังจากที่ต้องใช้เวลาที่บ้าน เเละร้านอาหารก็ต้องปรับตัวเพื่อจะส่งอาหารเเบบส่งถึงบ้านเเทน

บทความนี้จะเเนะนำ 7 เทคนิคการถ่ายภาพอาหารสำหรับ blogger มือใหม่ เเละเจ้าของร้านอาหารที่อยากมีภาพไว้ดึงดูดลูกค้า ไม่ว่าตอนนี้จะมีกล้องถ่ายรูป มือถือ เเทปเล็ต ก็สามารถใช้เพื่อถ่ายภาพให้ดูชวนหิว น่ารับประทานได้เพียงสร้างมุมมองภาพ เเละมีวิธีการนำเสนอภาพที่ดึงดูดความสนใจ 

7 เทคนิคการถ่ายภาพอาหาร สำหรับ blogger มือใหม่ เเละเจ้าของร้านอาหารที่อยากมีภาพไว้ดึงดูดลูกค้า

1.โหลดเเอพเเต่งภาพ และ Preset สวย ๆ มาไว้รอเลย

แอพพลิเคชันที่ช่วยให้ภาพดูสวย โดยการปรับสี เเต่งภาพ หรือปรับขนาดภาพ มีให้เลือกใช้เยอะมาก ที่จะเเนะนำคือ Lightroom  เพราะทำงานได้หลากหลาย ใช้งานง่าย ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ หรือจะเป็นมือถือก็ได้ ทั้งยอมรับการโหลดไฟล์ raw เพื่อเเต่งภาพ เเละทำงานภาพได้อย่างมืออาชีพด้วย เพื่อภาพอาหารที่ดูสวยขึ้น เเละโดดเด่นมากขึ้น หลังกระบวนการ Post-processing

2. เข้าใจการจัดวางองค์ประกอบภาพ ดึง Grid ออกมาใช้ เพื่อช่วยให้จัดองค์ประกอบง่ายขึ้น

ถ้าไม่ค่อยมันใจในการจัดวางองค์ประกอบภาพ สามารถดึง Grid ออกมาใช้งานได้ ทั้งในการใช้งานทั้งกล้องเเละมือถือ เพราะ Grid จะช่วยให้การจัดภาพเป็นไปตามกฏการจัดองค์ประกอบภาพ เเละทำให้ภาพได้สัดส่วน ง่าย ๆ คือการวางจานอาหาร ไว้ตรงจุดตัดเก้าช่อง เพื่อให้อาหารอยู่บนจุดสนใจของสายตา ซึ่งในบางเเบรนด์ มีการจัดเเบบสัดส่วนทองคำ ให้เลือกใช้เช่นกัน 

3. การจัดวางจานอาหาร ตกเเต่ง และการใช้อุปกรณ์ประกอบฉาก เพื่อให้ภาพดูมีเรื่องราว

นอกจากจะวางจานที่เป็นเมนูเด่นเเล้ว การจัดวางจานอาหาร การตกเเต่งจาน เเละตกเเต่งองค์ประกอบโดยรวมของภาพ ก็ทำให้อาหารดูน่านรับประทานขึ้น เช่น วางเครื่องปรุง วัตถุดิบ เครื่องเคียง หรืออาจจะตกเเต่งเเนวไลฟ์สไตล์ วางเมนูอาหาร หนังสือ ปากกา ดอกไม้ต้นไม้ ก็ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจ และดึงดูดสสายตามากขึ้น 

4. รู้จุดเด่นของอาหารที่จะนำเสนอ เพื่อจะดึงความน่าสนใจของอาหารออกมา

เมนูอาหารที่ต้องการจะนำเสนอ จะมีจุดเด่นที่สามารถดึงจุดเด่นนั้น ออกมาเพื่อทำให้อาหารดูน่ารับประทานมากขึ้น ซึ่งถ้ารู้จุดเด่น ก็จะช่วยให้นำเสนอได้อย่าถูกจุด เช่น สเต็กเนื้อที่ย่างเเบบ Medium rare ก็ต้องนำเสนอโดยการตัดหรือเฉือนออกให้เห็นเนื้อสีชมพูที่เเทรกอยู่ตรงกลางสเต็กด้วย 

5. ถ่ายภาพให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหว เเละ อุณหภูมิของอาหาร

ถึงเเม้จะเป็นภาพนิ่ง เเต่ถ้าภาพมีกิจกรรมที่ดูเหมือนภาพเคลื่อนไหว จะช่วยให้ภาพอาหารนั้นดูมีชีวิตชีวา เช่นการราดช้อคโกเเลตลงบนไอศครีม วาฟเฟิล หรือภาพเนื้อย่างอยู่บนเตาร้อน ๆ ควันกรุ่น มีความเกรียมเล็กน้อย ก็จะกระตุ้นความอยาก เเละจินตนาการถึงกลิ่นเเละรสชาติของอาหารได้ ก็จะช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้อย่างอัตโนมัติ

6. มีภาพส่วนของมือ ริมฝีปาก หรือการตักอาหาร เพื่อให้จินตนาการต่อถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้

มือที่กำลังจับช้อน หรือภาพอาหารที่อยู่บนช้อน ซุปในชามที่มีช้อนกำลังตักอาหาร  เพราะปกติเเล้วสมองจะจดจำจากประสบการณ์ และจะประติดประต่อเรื่องราวได้เอง ถึงเเม้เหตุการณ์นั่นจะยังไม่จบ ดังนั้นภาพของอาหารที่กำลังถูกตักขึ้นมา หรืออาหารที่กำลังจะเข้าปาก จะช่วยเสริมจินตนาการของผู้ชมภาพ ให้จินตนาการถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่อจากนั้นได้

7. ศึกษาเรียนรู้จากภาพถ่ายอาหาร ทั้งจาก instagram หรือ Pinterest หรือเว็บไซต์รีวิวร้านอาหาร เเละนำมาปรับใช้กับการถ่ายภาพของเรา

ใช้เวลาในการเรียนรู้จากประสบการณ์ของช่างภาพ เเละ Blogger ที่นำมาลงในช่องทางต่าง ๆ เช่น Instagram หรือ Pinterest เลือกดูเเล้วลองวิเคราะห์การจัดวางเฟรมภาพ การใช้สีสัน การใช้องค์ประกอบภาพ การนำเสนอด้านวัฒนธรรมของอาหารในท้องถิ่น เเล้วลองปรับใช้กับงาน และการนำเสนอภาพถ่ายของเรา เทรนด์การถ่ายภาพอาจจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ดังนั้นต้องคอยดู เเละปรับตัวตามเทรนด์ของภาพถ่ายในเเต่ช่วงเวลานั่นเองครับ

อ่านบทความเกี่ยวกับการถ่ายภาพอาหารได้จากที่นี่เลย

Exit mobile version