Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 เทคนิคการถ่ายภาพในสระน้ำ ถ่ายสวย ถ่ายสนุก ไม่ยุ่งยาก

การถ่ายภาพใต้น้ำ เป็นการถ่ายภาพที่อาจจะยุ่งยากกว่าการถ่ายภาพปกติบ้าง เเต่ภาพที่ได้จะเป็นภาพที่ค่อนข้างเเปลกตา เเละเป็นเหมือนอีกโลกหนึ่งของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นตัวเเบบเองที่ต้องเคลื่อนที่เเละโพสท่าในสภาวะที่อยู่ใต้น้ำ ช่างภาพก็ต้องปรับการทำงานด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสนุกอีกเรื่องหนึ่ง ในการฝึกถ่ายภาพ บทความนี้จะเล่าถึง 7 เทคนิคการถ่ายภาพในสระน้ำ ถ่ายสวย ถ่ายสนุก ไม่ยุ่งยาก ทำอย่างไรบ้าง

1. เตรียมเลนส์ เลือกเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพ ให้ตรงกับรูปแบบของภาพที่ต้องการ

เป็นสิ่งที่ต้องคิดว่า จะถ่ายภาพอะไรเพื่อจะได้เตรียมเลนส์ได้ถูก เพราะเมื่อใส่ housing หรือเคสกันน้ำ ถ้าอยากจะเปลี่ยนเลนส์ก็เป็นเรื่องยาก เพราะการจะใช้กล้องหลายตัวเพื่อถ่ายทุกระยะ หรือการเเกะ เเละใส่ใหม่ อาจจะลำบาก เเละเพิ่มความเสี่ยงต่อกล้องเเละเลนส์ที่จะโดนน้ำด้วย 

2. คำนึงถึงความปลอดภัยทั้งคนทั้งกล้อง

ถึงเเม้จะเป็นการถ่ายภาพในสระ ที่ดูเหมือนจะไม่อันตราย เเต่การที่ต้องอยู่ใต้น้ำนาน ๆ อาจจะเจอกับความหนาวเย็น หรือการสูญเสียนำ้โดยไม่รู้ตัว ระมัดระวังเรื่องการสำลักน้ำ ทั้งคนถ่ายเเละตัวเเบบ ส่วนกล้องและเลนส์ที่นำลงไปในน้ำ ควรใส่เคสกันน้ำที่ได้มาตรฐาน เพื่อไม่ให้น้ำเข้าเเละทำให้กล้องเสียหายได้ เเต่ถ้าเป็นกล้อง action ก็หมดปัญหาเรื่องนี้ไปเลย

3. น้ำใสเเละนิ่ง ช่วยให้ถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น

ในการถ่ายภาพในสระน้ำ ถือว่าลดปัญหาเรื่องน้ำขุ่นไปเลย เพราะส่วนมาก น้ำในสระน้ำค่อนข้างจะสะอาดอยู่เเเล้ว เเละการจะถ่ายภาพ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างที่ต้องการ หรือโพสท่าได้สวย อย่างที่อยากได้ น้ำก็ต้องนิ่ง หลีกเลี่ยงการใช้สระน้ำที่มีผู้อื่นว่ายเล่นอยู่ข้าง ๆ เพราะจะทำให้การถ่ายภาพลำบากมากขึ้น ควรเป็นสระส่วนตัว หรือหาช่วงเวลาที่คนเล่นน้อย

4. ตั้งค่าให้สัมพันธ์กันระหว่างความเร็วชัตเตอร์  ISO รูรับเเสง 

การถ่ายภาพใต้น้ำ ก็ต้องดูความสัมพันธ์ของความเร็วชัตเตอร์ ISO และรูรับเเสงเช่นเดียวกัน เเต่อาจจะทำได้ลำบากมากขึ้น เพราะมีข้อจำกัดที่มากขึ้น ดังนั้นอาจจะลองเริ่มที่ปรับรูรับเเสง หรือความเร็วชัตเตอร์ เพื่อให้จับจังหวะการเคลื่อนไหวของตัวเเบบได้ เเละให้ภาพที่คมชัด เเต่หากเเสงไม่พอก็ปรับ ISO ให้สูงขึ้น เพื่อจะให้ภาพสว่างขึ้น คมชัด ไม่เบลอนั่นเอง ซึ่งการปรับค่าต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ยังเปลี่ยนเเปลงตามระดับความลึกของน้ำอีกด้วย

5. ระวังเรื่องสมดุลเเสง เพราะเเสง เเละสีใต้น้ำจะเเตกต่างไปจากเดิม

สีสันอาจจะไม่เที่ยงตรงมาก เมื่อถ่ายภาพผ่านตัวกลางที่เป็นน้ำ ดังนั้นการปรับค่าสมดุลเเสงจึงสำคัญ ลองสังเกตว่าสีที่ได้จากการถ่ายภาพ ให้ออกมาสีโทนไหน ติดสีฟ้ามากเกินไป อาจจะต้องเพิ่มสีเเดงเพื่อช่วยให้ภาพสมจริงมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

6. ถ่ายภาพช่วงกลางวันเเสงจัด ได้สีที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติที่สุด

เลือกถ่ายภาพในช่วงกลางวัน เพราะแสงที่ส่องผ่านลงมาในน้ำจะมีความเข้มสูง ภาพใต้น้ำจะเห็นได้ชัดขึ้น เเละถ้าหากถ่ายภาพในน้ำที่ลึก เเสงก็ยังจะพอส่งลงไปถึงได้ด้วย เเต่ก็ขึ้นอยู่กับสไตล์เเละคอนเซ็ปต์ภาพที่เล่าด้วย เพราะอาจจะต้องถ่ายตอนกลางคืน เเล้วใช้ไฟเสริม เพื่อเล่าเรื่องก็ได้ 

7. เเต่งภาพ เเต่งสี ปรับความคมชัดด้วยกระบวนการ Post – processing

สีที่ได้จากการถ่ายภาพใต้น้ำอาจจะไม่สมจริงมาก ดังนั้นการเเต่งภาพ เเต่งสีและปรับความคมชัดด้วยกระบวนการ Post – porcessing จึงเป็นขึ้นตอนที่จำเป็นเหมือนกันนะ เพราะภาพที่จะสวย ก็ต้องมีเรื่องราว องค์ประกอบ เเละสีสันที่ช่วยทำให้ภาพดูน่าสนใจด้วย 

อ่านบทความพื้นฐานการถ่ายภาพได้ที่นี่

source : photoschoolthailand

Exit mobile version