Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 เทคนิคการครอบตัดภาพ เพื่อให้สื่อสารความหมายภาพได้ชัดเจน

7 เทคนิคการครอบตัดภาพ เพื่อให้สื่อสารความหมายภาพได้ชัดเจน ตอนเราถ่ายภาพ บางครั้งก็คิดว่าภาพที่ถ่ายออกมานั้น มีองค์ประกอบที่เหมาะสมเเล้วเเต่พอมานั่งดูรูปอีกที กลับมีบางส่วนที่ดูเกิน หรือไม่เข้ากับทั้งภาพ จึงจำเป็นต้องตัดภาพออกบ้าง เเต่จะต้องตัดยังไงเพราะตัดบางอย่างออกอาจจะทำให้ภาพทั้งภาพพังได้ มาดู 7 เทคนิคสำหรับการครอบตัดภาพเพื่อให้สื่อสารความหมายภาพได้ชัดเจน ที่เราเอามาฝากกัน

7 เทคนิคการครอบตัดภาพ เพื่อให้สื่อสารความหมายภาพได้ชัดเจน 

1. เมื่อตัดบางส่วนออกไปเเล้ว ดูภาพรวมทั้งหมดว่ายังสื่อความหมายเหมือนเดิมอย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่ 

ตอนถ่ายภาพมา องค์ประกอบที่วางไว้ ก็ดูจะพอดีเเละเหมาะสมเเล้ว เเต่บางภาพ เมื่อนำกลับมาดูอีกครั้ง กลับพบสิ่งผิดปกติ อาจจะมีบางองค์ประกอบ ขาดหรือเกินเข้ามา ดังนั้นการตัดภาพจึงเป็นการเเก้ปัญหาที่ง่าย  เเละแก้ไขได้เร็ว การตัดภาพสามารถสร้างเรื่องใหม่ให้ภาพ

ในขณะที่ก็สามารถจะทำให้เรื่องราวยังคงสื่อสารได้เหมือนเดิมเพียงตัดภาพบางส่วนออกเท่านั้น ดังนั้นก่อนจะตัดภาพให้ลองคิดว่าอยากให้ภาพมีเรื่องราวที่เหมือนเดิม หรือต้องการจะเปลี่ยนเรื่องเล่าในมุมอื่นเเทน

2.ตัดวัตถุบางอย่างออก ถ้าสิ่งนั้นดึงสายตาออกจากตัวเเบบหรือจุดโฟกัสที่ต้องการนำเสนอ

บางอย่างที่ทำให้การมองภาพทั้งภาพ เกิดสะดุด ไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ก็สามารถตัดวัตถุหรือองค์ประกอบนั้นได้ อาจจะเป็นวัตถุหรือเส้นนำสายตา ที่พาสายตาออกไปนอกเฟรม หรืออาจจะเคยได้ยินเรื่อง “Photobombs” คือจะมีบางอย่างหรือบางคนเข้ามาในภาพ เเต่มีอิทธิพลต่อภาพทั้งภาพ ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่ตั้งใจ ดังนั้นการตัดภาพส่วนนั้นออกก็จะทำให้ภาพที่ถ่ายมานั้น ได้ความโดดเด่น เเละเล่าเรื่องได้สมบูรณ์ ไม่มีอะไรมาดึงความสนใจออกไป

3. เวลาตัดภาพ ให้สังเกตระดับสายตาของตัวเเบบ หรือตัวเเบบกำลังมองอยู่ที่จุดไหน 

ภาพ Portrait บางภาพต้องดูตำเเหน่งสายตาของตัวเเบบด้วย เพราะการตัดภาพจะต้องให้ช่องว่างเพื่อให้สายตาทำงานบางครั้งการตัดภาพแล้วเข้าใกล้เกินไป โดยจะเห็นว่าสายตาของตัวเเบบไม่มีช่องว่างเพื่อให้สายตาทอดลงไปอาจจะทำให้ผู้ชมรู้สึกอึกอัด และรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมชาติได้ 

4. ให้จุดสนใจอยู่ในเฟรมเหมือนเดิม เเต่อาจจะไม่อยู่ตรงกลางภาพก็ได้

การตัดภาพอาจจะทำให้ตำเเหน่งของจุดโฟกัสไม่อยู่ในตำเเหน่งเดิม เเละอาจจะไม่ได้อยู่ตรงกลางภาพ เเต่อย่างไรก็ตาม การตัดภาพ ควรจะให้เป็นไปตามกฏสามส่วน เพื่อยังคงรักษาสัดส่วนขององค์ประกอบภาพที่ดีไว้ได้ 

5. ถ้าถ่ายภาพต่อเนื่อง การตัดก็ทำให้ต่อเนื่องด้วย

การถ่ายภาพวิวหรือภาพบุคคลที่ต่อเนื่อง ถ้าตัดภาพใดภาพหนึ่งเเล้ว ก็ควรจะตัดทุกภาพให้เท่ากันเพราะถ้าถ่ายต่อเนื่องโดยความรู้สึกเเล้วก็จะต้องมีความต่อเนื่องของภาพ ขนาดภาพ ตำเเหน่งภาพก็จะต้องไปในทิศทางเดียวกันด้วย

6. ภาพสุดท้ายหลังจากตัด อาจจะไม่ได้อยู่ในองค์ประกอบเดิม รูปร่างเดิม หรือมุมเดิม 

จริง ๆ แล้วการตัดภาพอาจจะตัดออกมาเเล้วอยู่ในองค์ประกอบแบบเดิม อาจจะเปลี่ยนจากขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรืออาจจะเปลี่ยนโดยสิ้นเชิง อาจจะเป็นรูปวงกลม ตราบใดที่ยังสื่อสารความหมายเเบบเดิม ส่วนมากการตัดโดยไม่เหลือโครงสร้างเดิม จะเป็นการตัดภาพ Portrait เพราะตัวเเบบเป็นจุดโฟกัสที่สำคัญที่สุด เเละยังคงให้ความสำคัญกับตัวเเบบเหมือนเดิม เพียงเเต่องค์ประกอบอื่นจะเปลี่ยนไป 

7. ลบภาพบางอย่างที่ไม่เข้ากันกับภาพออก

บางภาพถ้าการครอบตัดอาจจะทำให้องค์ประกอบภาพเปลี่ยน ความหมายเปลี่ยน การเลือกที่จะลบบางอย่างออกจากภาพจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะเป็นการรักษาความหมายเเละการสื่อสารของภาพให้เหมือนเดิมมากที่สุด

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพได้ที่นี่

เข้ามาพูดคุยเเสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการถ่ายภาพ เเละเทคนิคการถ่ายภาพในมุมมองต่าง ๆ ได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

source : https://digital-photography-school.com

Exit mobile version