Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 เทคนิคการพัฒนาภาพถ่าย Outdoor Portrait ให้สวยขึ้น

7 เทคนิคการพัฒนาภาพถ่าย Outdoor Portrait ให้สวยขึ้น การถ่ายภาพ Portrait มีความสนุกเเละน่าสนใจและมีเสน่ห์ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพในตัวอาคารสตูดิโอ หรือร้านกาเเฟ ร้านอาหาร หรือการออกถ่ายภาพนอกสถานที่ในช่วงเเสงต่าง ๆ เเสงจะมากน้อย ก็ให้เสน่ห์ของภาพที่เเตกต่างกันไป บทความนี้เราจะมาดูกันว่า 7 เทคนิคการพัฒนาภาพถ่าย Outdoor Portrait ให้สวยขึ้น มีอะไรบ้าง

7 เทคนิคการพัฒนาภาพถ่าย Outdoor Portrait ให้สวยขึ้น

1. ถ่ายภาพโดยใช้รู้รับเเสงที่กว้างพอแต่ไม่กว้างมากโดยพอที่จะเกิดโบเก้สวยงาม 

อาจจะเป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะบอกว่ารูรับเเสงกว้างสุดก็จะให้ภาพที่โบเก้สวย เเละภาพดูมีมิติ เเต่จริง ๆ เเล้วระยะชัดของภาพ เเละการตั้งค่ารูรับเเสงให้เหมาะสมในเเต่ละภาพ ที่ต้องดูเรื่องสถานที่และเเสงที่ต่างกันในเเต่ละช่วงเวลาเช่นใช้รูรับเเสงที่เเคบลงมาเพื่อเก็บพื้นหลังให้พอดูออกว่าอยู่ในสถานที่ใด สำหรับการถ่ายท่องเที่ยว รูรับเเสงเเคบลง เมื่อต้องถ่ายภาพในที่เเสงจ้าหรือการถ่ายภาพที่ต้องการความคมชัดสูง ซึ่งการเปิดรูรับเเสงกว้างสุด อาจจะทำให้ภาพบางส่วนเบลอไปได้

2. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะเป็นสิ่งรบกวนสายตาเเละดึงความสนใจออกไป 

สายไฟที่ระโยงระยาง เสาไฟ ต้นไม้ เศษพลาสติก ถังขยะ เป็นสิ่งที่เราเจอกันอยู่ในหลายโลเคชั่นที่ไปถ่ายภาพ เเต่ก็ต้องพยายามเลี่ยงหรือกำจัดออก ในกระบวนการ Post-processing เพื่อให้เรื่องราว และจุดโฟกัสอยู่เพียงเเค่ที่ตัวเเบบ ไม่มีสิ่งใดดึงความสนใจออกไป

3. เลือกโฟกัสเพียงจุดเดียว ไม่ควรใช้โฟกัสกระจายทั้งภาพ เพื่อภาพที่โฟกัสได้ตรงจุด ไม่หลุดเบลอ ถ้าจำเป็นก็ต้องมีขาตั้งกล้องด้วย 

เมื่อเลือกถ่ายภาพเเบบออโต้โฟกัส ให้เลือกเเบบโฟกัสเพียงจุดเดียว “Single Area AF” “AF-S” หรือ“One shot AF” เพื่อที่เราจะสามารถกำหนดจุดที่ต้องการให้ภาพชัดได้ เช่นการโฟกัสที่ดวงตา หรือใบหน้าโดยไม่ทำให้ส่วนสำคัญของภาพเบลอไป เเละถ้ายังไม่สามารถถือกล้องให้นิ่งได้ ก็ใช้ขาตั้งกล้องเพื่อช่วยในการถ่ายภาพให้ง่ายขึ้นได้

4. มีอุปกรณ์เพื่อใช้วัดสมดุลเเสงสีขาว (White balance)  

หลายครั้งที่เมื่อถ่ายภาพออกมา เเล้วกลับมาเปิดในคอมพิวเตอร์เเล้วเห็นว่าสีผิว หรือสีภาพมีสีทีดูทึบไป ติดสีฟ้า เขียว หรือเหลืองเกินไป ซึ่งอุปกรณ์เพื่อวัดสมดุลเเสงสีขาว จึงจะช่วยปรับมาตรฐาน หรือช่วยเทียบเคียงสี เช่น Gray card  หรือ  White card  นั่นเอง การใช้ก็ง่าย ๆ เพียงใช้ Gray card หรือ white card ด้านหน้ากล้อง กดชัตตอร์ครึ่งหนึ่ง เพื่อให้กล้องวัดเเสงจากแผ่น Gray card จากนั้นเอาเเผ่นเทียบออก เเล้วก็ถ่ายตัวเเบบจริงได้เลย 

5. เตรียมตัวให้พร้อม ทั้งการถ่ายภาพในช่วงเเสงเช้า เเสงเที่ยง เเสงเย็น และท้องฟ้าครึ้มฝน

การถ่ายภาพนอกสถานที่ อาจจะต้องมีเรื่องลม ฟ้า อากาศมาเกี่ยวข้อง ถ้าหากลมเเรงพายุ เเดดร้อน ฝนตก ก็จะเป็นปัญหาในการถ่ายภาพได้ ดังนั้นจึงต้องเตรียมตัวไว้อย่างดี ทั้งยังต้องมีเเผนสำรองสำหรับรับมือกับความเปลี่ยนเเปลงของเเสงเเละสภาวะอากาศที่จะเกิดขึ้นด้วย 

6. เตรียมผ้าสีขาว ผืนใหญ่ เพื่อนำไปใช้บังเเสง และสร้างให้เป็น Softbox แบบ DIY เตรียมอุปกรณ์สะท้อนเเสง หรือไฟเสริมไปด้วยทุกครั้ง เพื่อเพิ่มความสว่างให้กับตัวแบบ

การถ่ายภาพนอกสถานที่ นอกจากสถานที่จะสวย เเสงจะพอดีเเล้ว อุปกรณ์เสริมด้านเเสงก็ควรมีติดไว้ด้วย เช่นแผ่นสะท้อนเเสง หรือไฟเสริมเพื่อช่วยเพิ่มความสว่างให้กับตัวเเบบ หรือการปรับเเสงจ้าให้นุ่มลงด้วยการใช้ผ้าสีขาวผืนใหญ่ ขึงบังเเสงให้ตัวเเบบ ซึ่งผ้าสีขาวจะทำหน้าที่เป็น softbox เเบบ DIY ได้เลย

7. ถ่ายภาพโดยใช้ Raw file เสมอเพื่อเเก้ไข ตกเเต่งภาพเเละสีในขั้นตอนต่อไป

RAW  เป็นไฟล์ภาพที่ช่วยให้เราทำงานด้านการตกเเต่งได้มากกว่า ทั้งการปรับสมดุสเเสงสีขาว การปรับความชัด การปรับโทนสี การปรับองศา ตัดเเต่งภาพ ซึ่งเมื่อการตั้งค่ากล้องผิดพลาด อย่างน้อยก็พอที่จะเเก้ไขโดยใช้ซอฟต์เเวร์ได้ ซึ่ง RAW แก้ไขได้ยืดหยุ่นกว่าเมื่อเทียบกับ JPEG

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

อ่านเทคนิค เเละไอเดียการถ่ายภาพ PROTRAIT เพิ่มเติม ได้ที่นี่เลย

Exit mobile version