Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

8 พื้นฐานองค์ประกอบภาพ ที่ทำให้ดึงดูดสายตา

8 พื้นฐานองค์ประกอบภาพ ที่ทำให้ดึงดูดสายตา การจัดองค์ประกอบภาพเป็นหลักการเบื้องต้นที่ต้องศึกษาและเรียนรู้อย่างจริงจัง ภาพจะสวย หรือดูโดดเด่น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่องการจัดวางองค์ประกอบเป็นหลัก เพราะองค์ประกอบเป็นเรื่องราวของความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ เเละสิ่งเเวดล้อมในขณะนั้น การจัดองค์ประกอบมีทฤษฎีที่ให้ศึกษาอยู่อย่างมากมาย เเต่ในบทความนี้ จะไม่พูดถึงทฤษฏีการจัดวางในลักษณะต่าง ๆ เเต่จะพูดถึง 8 พื้นฐานองค์ประกอบภาพที่ทำให้ดึงดูดสายตาว่ามีอะไรบ้าง 

8 พื้นฐานองค์ประกอบภาพ ที่ทำให้ดึงดูดสายตา 

1. จุดสนใจ 

อะไรคือจุดสนใจของภาพให้วางเป็นจุดเเรก จากนั้นให้ส่วนเสริมอื่นเข้ามามีบทบาทที่จะช่วยให้จุดสนใจนั้นโดดเด่นขึ้น จะให้ส่วนอื่นเบลอไป หรือมีเส้นนำสายตา ที่จะดึงความสนใจเข้ามาก็ขึ้นอยู่กับช่างภาพ ว่าจะใช้ส่วนเสริมส่วนไหนบ้าง เเต่ถ้าหากว่าถ่ายภาพออกมาเเล้ว ผู้ชมกลับดูไม่ออกว่า จุดไหน คือจุดหลักกันเเน่ ก็ต้องพิจารณาเรื่องการจัดวางให้ดีต่อไป

2. เส้นสายที่อยู่ภายในภาพ

เส้น สายในภาพ ซึ่งหมายถึง สิ่งใดก็ตามที่ทำให้เกิดเป็นเส้นในภาพ เช่น เเสง เงา เเม่น้ำ ทางเดิน รั้ว สายไฟฟ้า เมื่ออยู่ในภาพ จะทำหน้าที่เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆในภาพเข้าด้วยกัน เเละเป็นการดึงความสนใจ ไปตามเส้นสายนั้นอีกด้วย 

เส้นสายที่มี ไม่จะเป็นต้องเป็นเส้นที่มีความหนา เท่ากัน บางเส้นอาจจะเลือนลาง เเต่ยังคงทำหน้าที่ได้ชัดเจน ดังนั้นเส้นนำสายตาในภาพจึงสำคัญ เพราะจะดึงสายตาเข้าไปที่จุดสนใจในภาพ หรือจะดึงออกจากภาพ ก็ขึ้นอยู่กับการจัดวางเส้นสายเหล่านี้ด้วยเช่นกัน 

3. รูปร่าง 

รูปร่าง ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม เเต่ละรูปทรงมีผลต่ออารมณ์เเละความหมายของภาพทั้งสิ้น โดยที่วงกลม จะสื่อถึงความสงบ สบายใจ สี่เหลี่ยม เป็นความจริงจัง ขึงขัง สามเหลี่ยม หมายถึง มิติ เเละความสัมพันธ์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรูปทรงไหน ก็ดูดึงดูดใจได้ทั้งนั้น  บางครั้งรูปร่างเหล่านี้จะเป็นจุดสนใจ เเละสามารถนำมาเป็นกรอบ หรือสร้างขอบเขตให้กับภาพ เเละจำกัดความสนใจไปที่ภาพได้ด้วย 

4. พื้นผิว

พื้นผิวในภาพจะช่วยสร้างความรู้สึก เเละกระตุ้นการรับรู้ของสมอง เช่นเมื่อมองเป็นพื้นผิวที่ราบ เเละพื้นผิวที่ขรุขระ ก็จะให้ความรู้สึกเเตกต่างกัน เเละสื่อได้ถึงมิติภาพ ความลึกความตื้นของภาพ เเละยังเเสดงให้เห็น ความเชื่อมโยงกันของพื้นที่ว่าง เเละ วัตถุที่เป็นจุดสนใจได้ด้วย 

พื้นที่ที่มีพื้นผิวที่ขรุขระ หรือมีรายละเอียดของพื้นผิว จะมีเเนวโน้มดึงความสนใจได้มากกว่า พื้นผิวที่มีลักษณะราบเรียบ 

5. สีสัน 

นอกจากภาพถ่ายขาวดำเเล้ว สีจะเป็นตัวที่ช่วยดึงอารมณ์เเละถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้สึกของภาพได้ ซึ่งสีเเต่ละสีให้ความรู้สึกเเละสื่อความหมายที่เเตกต่างกัน เช่น สีโทนร้อน ให้ความรู้สึกมีพลัง อำนาจ รักใคร่ เเต่โทนสีเย็น ก็จะให้ความเงียบสงบ สบายตา สบายใจ เมื่อถ่ายภาพ เเละต้องการที่จะใช้สีในภาพ จึงควรใช้จุดเด่นของสี หรือความหมายของสี ให้เข้ากับภาพ เเละเรื่องราวที่ด้องการจะสื่อ เพื่อจะให้ภาพโดยรวม สื่อสารได้ชัดเจน เเละเข้าถึงอารมณ์มากยิ่งขึ้น

6. จังหวะของภาพ 

คล้ายกันกับจังหวะของดนตรี ต้องมีเร็วช้า การใช้โทนสีในภาพก็เช่นกัน สีเข้มสีอ่อน มีผลต่อการมองภาพ เเละจังหวะของภาพ สื่อสารออกมาเป็นอารมณ์ที่รู้สึกถึงความพริ้วไหว ภาพที่มีความเปรียบต่างสูง (contrast) ก็จะให้จังหวะที่เร้าอารมณ์ เข้มข้น ลึกลับ ส่วนภาพที่มีสีสันพาสเทล อ่อนเข้ม สลับกัน ก็จะให้ความนุ่มนวล อ่อนไหว 

7. ระยะของวัตถุในภาพ 

ระยะของวัตถุ ที่อยู่ในภาพ ก็จะให้ความรู้สึกกับภาพด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า “breathing space” การมีช่องว่าอยู่ในเฟรม เพื่อให้วัตถุ หรือตัวเเบบมีช่องว่าง ก็จะทำให้คนดูรู้สึกไม่อึดอัด รวมทั้งการวางระยังของวัตถุในภาพ ถ้าวางสองอัน สามอัน หรือห้าอัน ก็จะมีการวางวัตถุในลักษณะที่หางกันเล็กน้อย ไม่ชิดกันเกินไป หรือที่ภาษาทั่วไปเรียกว่า “ช่องไฟ” นั่นเอง 

8. สมดุลภาพ

การจัดวางให้เกิดความสมดุลในภาพ โดยให้น้ำหนักของเเต่ละวัตถุในภาพ เเล้วชั่งน้ำหนักของภาพ ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ สัตว์ อะไรก็ตามที่อยู่ในเฟรมภาพ ต้องไม่ให้ความรู้สึกว่าหนักไปด้านใดด้านหนึ่ง  เเละทำให้ภาพ เอียง บางครั้งวัตถุที่เป็นองค์ประกอบเล็ก ๆ หลายอัน ก็ช่วยถ่วงน้ำหนักของภาพกับวัตถุอีกฝั่งหนึ่ง ที่ดูมีน้ำหนักมาด้วยเช่นกัน 

รวมบทความถ่ายภาพเเละไอเดียถ่ายภาพเพิ่มได้ที่นี่

source : https://photographylife.com

Exit mobile version