Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

8 วิธีการปรับเเก้ไขพื้นหลังสำหรับการถ่ายภาพ Portrait ให้สวยขึ้น 

พื้นหลังเป็นได้ทั้งองค์ประกอบที่จะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น ตัวเเบบดูเด่นชัด เสริมเรื่องราว หรือทำให้ภาพดูเเย่ลง ดึงความสนใจออกจากตัวเเบบ ดูยุ่งเหยิงก็ได้ ดังนั้นการเลือกพื้นหลังจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจเหมือนกันนะ

ปัญหาที่มักจะพบถ้าเลือกพื้นหลังไม่ดี คือพื้นหลังดึงความสนใจออกไป หรือมีบางอย่างดูเหมือนจะยื่นออกมาจากศีรษะ เช่น เสาไฟ ต้นไม้ ที่อยู่ตรงกับตัวเเบบพอดี ทำให้ดูภาพเเล้วเหมือนมีบางอย่างโผล่ออกมาจากศีรษะนั่นเอง มาดูกันว่า 8 วิธีการปรับเเก้ไขพื้นหลังสำหรับการถ่ายภาพ Portrait ให้สวยขึ้น จะทำวิธีไหน เพื่อเเก้ไขพื้นหลังได้บ้าง

8 วิธีการปรับเเก้ไขพื้นหลังสำหรับการถ่ายภาพ Portrait ให้สวยขึ้น

1. ดูก่อนว่า พื้นหลังคืออะไรก่อนที่จะกดชัตเตอร์ 

ตรวจดูว่า อะไรอยู่ด้านหลังของตัวเเบบ ดูเรื่องสีด้วยว่ามันเข้ากับตัวเเบบหรือภาพโดยรวม เเสง เส้นสาย หรืออาจจะมีผู้คน สิ่งของที่ไม่ควรอยู่บริเวณนั้นหรือไม่ 

2. ขยับตัวเเบบ ซ้ายขวา ย้ายมุม

ถ้าหากตรงจุดที่จะถ่ายภาพ มีสิ่งที่อยู่ด้านหลัง รบกวนตัวเเบบ หรือมีเสาไฟ วัตถุที่ไม่น่าอยู่จุดนั้น หรือผู้คนพลุกพล่านเกินไป ขยับซ้ายขวา เพื่อให้หลบจากสิ่งรบกวน หรือเปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนมุมถ่ายภาพไปเลย

3. เปลี่ยนมุมมองเเละองศาของการถ่ายภาพตัวเเบบ

ถ้าเปลี่ยนมุม หรือขยับไปไหนไม่ได้เเล้ว อีกวิธีการหนึ่งก็คือ เปลี่ยนมุมมอง หรือองศาการถ่ายภาพ โดยการหมุนไปอีกมุม หรือให้ตัวเเบบนั่งลง เพื่อพื้นหลังที่ได้จะเปลี่ยนเป็นพื้นที่มีรายละเอียดน้อยกว่า 

4. ใช้รูรับเเสงกว้าง ใช้เลนส์ระยะไกล ดึงตัวเเบบออกห่างจากพื้นหลัง เพื่อทำให้พื้นหลังเบลอไป

วิธีที่ง่ายสำหรับการเเก้ปัญหาพื้นหลังไม่เหมาะสม คือการเบลอพื้นหลัง โดยใช้เลนส์ระยะไกล หรือใช้รู้รับเเสงกว้างที่กว้างที่สุดของเลนส์  และให้ตัวเเบบออกห่างจากพื้นหลัง ด้วยวิธีการเหล่านี้ จะช่วยให้พื้นหลังเบลอไป เเละตัวเเบบจะเด่นขึ้น ทันที

5. ใส่องค์ประกอบอื่นในภาพให้เต็มเฟรม โดยไม่ต้องสนใจพื้นหลัง

วิะีการที่จะลบความยุ่งเหยิงขหงพื้นหลัง ก็คือการลบพื้นหลังออกไปเลยนั่นเอง วิธีการหนึ่งคือ เข้าใกล้ตัวเเบบ เพื่อ close – up ให้ตัวเเบบอยู่เต็มเฟรม หรืออาจจะมีพร็อพเสริม เพื่อให้บังพื้นหลังทั้งหมดเลยนั่นเอง (ง่ายมั๊ยล่ะ)

6. สร้างพื้นหลังขึ้นมาเอง

การสร้างพื้นหลังขึ้นมาเอง ก็เป็นทางเลือกที่ทำได้ง่ายในกรณีที่เป็น สตูดิโอ หรือห้องที่จัดขึ้นมาเพื่อการถ่ายภาพ เพราะควบคุมปัจจัยต่าง ๆได้รวมทั้งพื้นหลัง โดยพื้นหลังที่เลือกออาจใช้วัสดุใกล้ตัวเช่น ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน หรือกระดาษสี วอลเปเปอร์ เพื่อที่จะกำหนดสีสัน เเละลวดลายได้เอง 

7. เลือกสถานที่ พยายามมองหาพื้นหลังที่เหมาะสม 

เลือกพื้นหลังก่อนที่จะเริ่มถ่ายภาพ ใช้เวลามองหา หรือเลือกสถานที่ที่จะถ่ายภาพ ลองวางภาพคร่าว ๆ ก่อนที่จะเริ่มถ่ายภาพว่า ถ้าจะใช้มุมที่เลือก ในการถ่ายภาพ ตัวเเบบจะเด่น หรือพื้นหลังจะดึงความสนใจหรือไม่ ดังนั้นอาจจะเลือกมุมที่ดูไม่มีรายละเอียด หรือซับซ้อนมาก ดูสีสันด้วยว่า เข้ากับเสื้อผ้า หรือทำให้ตัวเเบบดูโดดเด่นหรือไม่

8. ใช้ทักษะกระบวนการ Post – processing ในการตัดเเต่งเพื่อความสมบูรณ์ของภาพ

ในกรณีนี้ ต้องอาศัยทักษะการใช้ซอฟต์เเวร์ในการปรับเเต่งภาพ ครอบตัดบางส่วน ลบสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากภาพเช่น ผู้คน หรือวัตถุที่ไม่เข้ากับภาพรวมทั้งหมด ปรับสีเเต่งเเสง เพื่อให้ภาพดูเหมือนถ่ายจากสถานที่จริงมากที่สุด 

หาไอเดีย เเละอ่านบทความเพิ่มเติมการถ่ายภาพ Portrait ได้ที่นี่

source : https://digital-photography-school.com/

Exit mobile version