Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

8 เทคนิคพื้นฐานในการจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อบันทึกความทรงจำและเล่าเรื่องราวได้

8 เทคนิคพื้นฐานในการจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อบันทึกความทรงจำและเล่าเรื่องราวได้ การถ่ายภาพ คือการบันทึกความทรงจำรูปแแบบหนึ่ง เมื่อมองดูภาพ ก็จะจดจำเรื่องราว เเละที่มาของภาพได้ สำหรับบางคน จดจำได้เเม้กระทั่งกลิ่น หรือเสียงเพลงในขณะนั้นได้ ดังนั้นการจัดวางภาพ เเละการจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพ จะช่วยให้เรื่องราวต่าง ๆ มีรายละเอียดครบถ้วน เเละช่วยย้ำเตือนความทรงจำ ถึงเเม้เวลาผ่านไป เรื่องราวก็จะไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม 

8 เทคนิคพื้นฐานในการจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อบันทึกความทรงจำและเล่าเรื่องราวได้

1. เข้าใจเรื่องราวที่จะถ่ายทอด 

ความต้องการที่จะบันทึกภาพของเเต่ละบุคคลเเตกต่างกัน บางคนเก็บบันทึกกิจกรรมที่ทำร่วมกัน สถานที่ที่ได้ใช้เวลาด้วยกัน หรือเป็นภาพของทุกคนที่อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน ดังนั้นเลือกลักษณะการบันทึกความทรงจำ ว่าจะเก็บเเบบไหน เพื่อจะได้ถ่ายภาพได้ตรงกับความต้องการ สถานที่ เรื่องราวที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นส่วนประกอบของความทรงจำทั้งสิ้น 

2. กฏสามส่วน ใช้ให้คล่อง เพื่อวางจุดสนใจให้ถูกจุด

พื้นฐานที่มือใหม่เริ่มถ่ายภาพต้องทำความเข้าใจ คือเรื่องกฏสามส่วน เพราะเป็นกฏที่สำคัญในการจัดวางองค์ประกอบ โดยกฎสามส่วนเกิดจากการเเบ่งภาพเเนวนอนออกเป็นสามส่วนด้วยเส้นตรงสองเส้น เเละเเนวตั้งสามส่วนด้วยเส้นตรงอีกสองเส้น จะเกิดจุดตัดขึ้นสี่จุด ซึ่งจุดตัดนั้นเองจะเป็นจุดที่สายตาจะให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ ดังนั้นให้วางตัวเเบบหรือจุดที่ต้องการจะให้เป็นจุดสนใจ เรื่องที่จะเล่า อยู่แนวจุดตัด จะทำให้ภาพดึงดูดความสนใจได้ 

3. เส้นนำสายตา ดึงความสนใจ เเละนำทางไปสู่เรื่องที่จะเล่า

เมื่อวางองค์ประกอบภาพ ก็อยากจะให้จุดสนใจ เป็นจุดที่ได้รับความสนใจจริง ๆ เเละมั่นใจว่าเวลามองภาพเเล้ว สายตาจะจดจ้องไปยังจุดที่ต้องการให้มอง ดังนั้นสิ่งที่จะต้องใช้คือ การวางเส้นนำสายตา เพื่อชี้นำ เเละนำทางสายตา เพื่อไปหาเรื่องเล่า หรือจุดสนใจนั่นเอง 

4. สร้างฉากหน้าที่ ฉากกลาง และ ฉากหลัง

การถ่ายภาพเเบบไม่ได้คำนึงถึงการจัดเลเยอร์ จะทำให้ภาพดูไม่มีมิติ ดูเเบน ๆ ไป ดังนั้นลองวางฉากหน้า เเล้วเอาจุดสนใจของเรื่องอยู่ที่ฉากกลางโดยให้ฉากหน้า เเละฉากหลัง ทำหน้าที่ช่วยเติมเรื่องราวให้สมบูรณ์ 

5. ใช้สถานที่ วัตถุ จัดเฟรมให้ภาพถ่าย

การจัดเฟรม หมายถึงการใช้ของที่อยู่รอบตัวในขณะนั้น ตีกรอบความสนใจของภาพ ให้จำกัดอยู่เฉพาะในกรอบ สายตาเมื่อมองเข้าไปในภาพ จะพุ่งไปยังจุดสนใจที่วางไว้ทันที โดยไม่ต้องลังเลว่า จะวางสายตาไว้ที่ไหนนั่นเอง ลองมองหาสิ่งของ หรืออุปกรณ์รอบตัว สถานที่ กิ่งไม้ ต้นไม้ ประตู หน้าต่าง ก็สามารถทำหน้าที่เป็นกรอบให้ภาพได้

6. จุดสนใจของเรื่องราวคืออะไร ถ่ายให้คมชัด 

อะไรที่เป็นจุดสนใจ ถ่ายให้ชัด เพราะถ้าหากภาพไม่คมชัด หรือเบลอไป จุดนั้นจะกลายเป็นจุดที่ไม่น่าสนใจไปอย่างอัตโนมัติ 

7. ใช้สี เพื่อประกอบการเล่าเรื่องในภาพ

สีสันเป็นเรื่องที่สำคัญในการถ่ายภาพด้วยเช่นกัน ทั้งการสื่ออารมณ์เเละเล่าเรื่องราว ทั้งยังบอกสไตล์เเละโทนของภาพด้วย เเต่สีไหน จะเข้ากับสีไหน สามารถใช้วงล้อสีช่วยในการหาสีที่เหมาะสมได้ เช่น สีน้ำเงิน กับสีเหลือง ถึงเเม้จะเป็นสีที่อยู่กันคนละวรรณะสี เเละให้ความเปรียบต่างสูง เเต่กลับดึงความสนใจไปยังภาพได้ เช่น ทุ่งดอกทานตะวัน ที่ถ่ายตัดกับสีท้องฟ้าสีฟ้า ในเวลากลางวัน  หรือท้องฟ้าตอนเย็นสีเเดง ตัดกับพื้นน้ำสีน้ำเงินเข้มในช่วงพลบค่ำ

8. วิธีการเล่าเรื่องเก็บรายละเอียดของเรื่องช่วยให้ภาพเล่าเรื่องเองได้ 

จำไว้ว่าเวลาจะถ่ายภาพ ทุกอย่างที่อยู่ในภาพ จะช่วยกลับมาย้ำเตือนความทรงจำ ดังนั้นก่อนจะถ่ายภาพ ให้ลองวางเเผนก่อนว่าจะถ่ายภาพอย่างไร อะไรที่ควรอยู่ในเฟรม อะไรที่น่าจดจำ หรือสิ่งที่คิดว่าจะกระตุ้นความทรงจำในภายหลัง เเละเมื่อวันหนึ่งกลับมามองภาพ ภาพที่ถ่ายไว้ จะช่วยดึงความทรงจำกลับมาหาได้อย่างครบถ้วน

อ่านบทความพื้นฐานการถ่ายภาพได้ที่นี่

source : https://www.nomadicmatt.com

Exit mobile version