Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

พื้นฐานเรื่องสีกับการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ และวิธีการใช้สีเพื่อสื่ออารมณ์ภาพ

พื้นฐานเรื่องสีกับการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ และวิธีการใช้สีเพื่อสื่ออารมณ์ในภาพ ความเข้าใจเรื่องสีจะช่วยให้มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพได้เข้าใจถึงการทำงานของสี ว่าจะใช้สีในการสื่อสารและสร้างเเรงจูงใจ สร้างอารมณ์ความรู้สึกส่งไปยังผู้ชมภาพได้อย่างไร บทความนี้จะช่วยให้เข้าใจพื้นฐานเรื่องสีและการฝึกใช้สีเพื่อสื่ออารมณ์ภาพสำหรับมือใหม่ เพื่อจะนำมาปรยุกต์ใช้ในการดีไซน์ภาพเเละถ่ายภาพออกมาให้สวยขึ้นได้ 

พื้นฐานเรื่องสีกับการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ และวิธีการใช้สีเพื่อสื่ออารมณ์ภาพ

1. เรามองเห็นสีได้อย่างไร

เเสงสว่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเเสงจากธรรมชาติหรือเเสงสังเคราะห์ที่มนุษย์สร้างขึ้นนอกจากจะให้ความสว่างเเล้วยังสะท้อนสีของวัตถุให้เราได้เห็นสีอีกด้วย โดยเเสงเป็นคลื่นอย่างหนึ่งที่มีความถี่เเตกต่างกัน ซึ่งเเสงที่มนุษย์มองเห็นได้ (visible light) จะอยู่ในช่วงความถี่ 380-700 นาโนเมตร 

เราจะเห็นเเสงที่ถูกแยกออกมาเป็นสี ๆ ได้ เมื่อแสงผ่านปริซึมหรือในธรรมชาติเราก็สามารถเห็นได้เมื่อเเสงผ่านตัวกลางคือน้ำหรือไอน้ำ พูดง่าย ๆ ก็คือ สีของสายรุ้งที่เราเห็นนั่นเอง

วัตถุที่มีสีให้เห็น จะมีเม็ดสี (pigment) ที่ให้สีอยู่ ซึ่งจะทำให้วัตถุนั้นจะสะท้อนสีออกมาเเละดูดกลืนสีอื่นเก็บไว้ เช่น วัตถุสีเเดงจะสะท้อนสีเเดงแต่ดูดกลืนสีอื่นไว้ สีดำคือวัตถุที่ดูดกลืนสีไว้ทั้งหมดและสีขาวคือวัตถุที่สะท้อนเเสงทั้งหมด สังเกตดูว่าเราจะไม่เห็นสีในที่มืดจะเห็นสีในบริเวณที่มีเเสงเท่านั้นเพราะเเสงสว่างที่เกิดขึ้นจะสะท้อนสีของวัตถุนั่นเอง 

ซึ่งเเสงที่สามารถสะท้อนสีที่เเท้จริงคือเเสงจากดวงอาทิตย์และแสงไฟสังเคราะห์สีขาวที่มีความเเม่นยำสีสูง เเต่ถ้าเป็นไฟที่มีสีในตัวเองจะเปล่งแสงสีนั้นออกมาทำให้วัตถุที่เเสงนั้นตกกระทบไม่สามารถสะท้อนแสงที่แท้จริงได้ 

2. วงล้อสี (Color wheel) และทฤษฎีสี (color theory)

สีที่เราเห็นได้ถูกเเบ่งออกมาได้หลายแบบโดยเเต่ละแบบก็จะมีมาตรฐานหรือเกณฑ์การจัดกลุ่มที่แตกต่างกัน ซึ่งการเเบ่งกลุ่มที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือการเเบ่งสีตามวรรณะ ซึ่งจะมีวรรณะร้อนและวรรณะเย็น 

สีวรรณะเย็นจะเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย เบาไม่หนักหรือจัดจ้าน ส่วนวรรณะร้อนจะมีสีสดใส ฉูดฉาด แสดงถึงพลังงาน ความตื่นเต้น ความกระฉับกระเฉง 

การเเบ่งกลุ่มสี ตามเอกลักษณ์ของสี 

สีขั้นที่ 1 แม่สี (PRIMARY COLORS)

คือสีที่เมื่อผสมกันเเล้ว จะได้สีอื่นอีก กลุ่มนี้คือสี แดง เหลือง น้ำเงิน

สีขั้นที่ 2 (SECONDARY COLORS)

คือสีที่เกิดจากการผสมกันของสีขั้นที่ 1 เช่น สีม่วง สีส้ม สีเขียว

สีขั้นที่ 3 (TERTIARY COLORS)

คือสีที่เกิดจากการผสมสีขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 เข้าด้วยกัน เช่น สีเเดงส้ม (vermilion) เหลืองส้ม (amber) แดงม่วง (magenta) น้ำเงินม่วง (violet) น้ำเงินเขียว (teal) เหลืองเขียว(chartreuse)

อย่างที่รู้อยู่เเล้วว่าสีจะมีความสัมพันธ์กันในลักษณะของทั้งความเเตกต่างเเละความเข้ากันโดยแถบสีที่ได้จากการเรียงตัวในช่วง visible light อธิบายในรูปแบบการเรียงตัวกันใหม่ ซึ่งอยู่ในรูปวงกลมแล้วอธิบายความสัมพันธ์ของสีโดยอาศัยตำเเหน่งเเละการจัดเรียงบนวงล้อสี (Color wheel) ซึ่งนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีสี (color theory) ที่เราได้ใช้กันในปัจจุบัน 

การประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์ของสีในวงล้อสี มักจะใช้ด้านการออกเเบบโดยอาศัยความสัมพันธ์ของสีในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้สื่อความหมายเเละอารมณ์ได้อย่างที่ต้องการ เช่นดีไซน์เนอร์จะใช้สีที่มีความคล้ายคลึงกันหรือโทนเดียวกัน เพื่อสร้างความรู้สึกที่เข้ากัน กลมกลืน ประสานกัน ไปในทางเดียวกัน ซึ่งความสัมพันธ์ของสีมีหลายรูปเเบบ ซึ่งเเต่ละเเบบจะอธิบายตามตำเเหน่งที่อยู่ของสีบนวงล้อสี เช่น 

MONOCHROMATIC COLORS สีเดียว

เลือกใช้สีใดสีหนึ่งในวงล้อสี โดยใช้โทนที่เเต่ต่างกัน สีเข้ม สีอ่อนเป็นตัวสร้างมิติให้กับภาพ เช่น โทนอ่อน โทนเข้ม เหมือนกับการเติมสีขาวหรือสีดำเพื่อให้สีอ่อนลงหรือเข้มขึ้นในการวาดภาพสีน้ำมัน โดยการใช้สีเดียว แต่เเตกต่างโทนทำให้องค์ประกอบทั้งภาพดูกลมกลืน

COMPLEMENTARY COLORS สีคู่ตรงข้าม

สีคู่ตรงข้าม คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันบนวงล้อสี เป็นสีที่มีค่าสีตัดกันอย่างชัดเจน โดยสีคู่นี้จะให้ความรู้สึกรุนแรง จัดจ้าน ฉูดฉาด การใช่สีคู่ตรงข้าม จะทำให้ภาพสะดุดอย่างมาก สร้างความรู้สึกเป็นเอกลักษณ์ในการอยู่เคียงคู่กัน เช่น หาดทรายสีน้ำตาลเเดงกับน้ำทะเสสีฟ้า

SPLIT COMPLEMENTARY COLORS สีตรงข้ามแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

การใช้สีที่สองสีที่อยู่ติดกับสีคู่ตรงข้าม ก็เป็นการใช้ความสัมพันธ์ของสีที่น่าสนใจ เช่น ในภาพที่มีสีแดงส้ม สีเขียว เเละสีน้ำเงิน อยู่ด้วยกัน จะสร้างความเเตกต่าง เเละความฉูดฉาดมากขึ้น เเต่ก็ให้ภาพที่ดูน่าสนใจมากกว่าภาพที่ใช่คู่สีตรงข้ามเสียอีก

ANALOG COLORS สีที่ใกล้เคียงกัน

สีที่ใกล้เคียงกันคือสีที่อยู่เรียงติดกันในวงจรสี จะสร้างความกลมกลืนขึ้นในภาพ ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ลองจัดภาพ ให้มีสีใกล้เคียงกัน ลองมองวิว เเล้วเอามาเทียบกับวงจรสี เเล้วจะจินตนาการได้ว่าภาพจะออกมาในลักษณะไหน รวมทั้งการเเต่งภาพหลังจากนั้น จะได้กำหนดทิศทางสีได้ว่า จะต้องเเต่งภาพให้ออกมาเป็นสีอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้หลุดจากความกลลมกลืนตามคอนเซปต์สี

TRIAD COLORS สีสามสีที่อยู่ห่างกันโดยจะอยู่ที่มุมของสามเหลี่ยมด้านเท่าเเต่ละมุ

คือการใช้สีสามสีที่อยู่ห่างกันโดยจะอยู่ที่มุมของสามเหลี่ยมด้านเท่าเเต่ละมุม เช่น เมื่อเลือกสีเเดง สีเหลือง เเละสีฟ้า ก็จะถูกจัดว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน  ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ กลุ่มสามสีก็กระตุ้นความน่าสนใจของภาพ รวมทั้งเป็นการสร้างมิติให้กับภาพอีกด้วย

TETRADIC COLORS (TETRAD)บางทีก็เรียกว่า DOUBLE COMPLEMENTARY

เป็นการรวมสี่สีเข้ามาอยู่ในภาพเดียวกัน ประกอบด้วยสองชุดคู่สี ที่อยู่ตรงข้ามกัน ทำให้ภาพดูฉูดฉาด สดใสมากขึ้น เพิ่มความซับซ้อนและมีรายละเอียดที่มากขึ้น

3. ความหมายของสีด้านจิตวิทยา

สีเเต่ละสี ได้ถูกนำมาใช้งานเเละเป็นตัวชักนำในด้านจิตวิทยาด้วย สีเเละอารมณ์ เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกันอย่างตัดไม่ขาด คนที่มองภาพจะมีความรู้สึกร่วมกับภาพเเละถ้าช่างภาพสามาถสร้างความน่าสนใจ เเละมีการลงน้ำหนักที่อารมณ์ โดยเพิ่มการใช้สีเข้าไปกระตุ้นอีกด้วยเเล้ว ภาพนั้นจะเป็นภาพที่เรียกได้เลยว่ามีอิทธิพลกับจิตใจของคนดู เช่น ใช้โทนสีร้อนเพื่อให้ภาพดูอบอุ่น สีโทนเย็น เช่น สีเขียว สีฟ้า น้ำเงิน จะให้ความรู้สึก สบาย ผ่อนคลาย 

4. การฝึกจำเเนกสี

เริ่มฝึกง่าย ๆ ด้วยการจำเเนกสีเพียงไม่กี่สีก่อน หาภาพที่ใช้เป็นตัวอย่างในการฝึกที่มีเพียงเเค่สองหรือสามสี ดูว่ามีสีอะไรบ้าง โทนเข้มอ่อน ลองศึกษาเเละจำเเนกออกมาดู เเล้วค่อยเพิ่มความซับซ้อนขึ้น การฝึกเเบบนี้จำทำให้ดูออกว่า ภาพที่เราดู ประกอบด้วยสีอะไรบ้าง

5. ตัวอย่างการใช้สีในรูปแบบต่าง ๆ 

MONOCHROMATIC COLORS

COMPLEMENTARY COLORS

 SPLIT COMPLEMENTARY COLORS

ANALOG COLORS

TRIAD COLORS

TETRADIC COLORS

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

อ่านบทความพื้นฐานการถ่ายภาพได้ที่นี่

Exit mobile version