Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

เทคนิคการถ่ายภาพความเร็วสูง และวิธีการถ่ายภาพแบบ Panning

บางช่วงเวลาที่ดีที่สุดและน่าจดจำมากที่สุด สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ส่วนใหญ่ถ้าพูดถึงเรื่องใกล้ตัวอย่างลูกสาวใครสักคนกำลังวิ่งเล่น หรือว่าในงานแต่งงานขณะที่บางสาวกำลังหอมแก้มกัน ฉากที่ประทับใจหลายอย่างจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นช่วงเวลาที่สั้นเอามาก ๆ ดังนั้นการถ่ายภาพความเร็วสูงจึงเป็นเทคนิคพื้นฐานในการถ่ายภาพเก็บบรรยากาศได้ดีครับ รวมถึงการถ่ายภาพแนวกีฬาได้ด้วย เรามาเริ่มกันดีกว่าครับ

1. ความเร็วชัตเตอร์ คือหัวใจสำคัญของเรื่องนี้

เมื่อเราต้องการจะจับภาพสิ่งที่เคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ หรืออะไรก็ตาม การที่จะหยุดภาพให้นิ่งกริ๊บนั้นอยู่ที่ความเร็วชัตเตอร์ครับ ซึ่งการเคลื่อนไหวที่เร็วมาก ๆ เราจะใช้ความเร็วชัตเตอร์อย่างน้อย 1/500 หรือสูงกว่านั้นอีก ซึ่งหลายคนอาจจะคิดว่างั้นเพิ่มเยอะ ๆ ไปเลยดีไหม จะได้นิ่งกริ๊บทุกภาพ แบบนั้นทำได้ครับแต่การที่ความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้นก็มีสิ่งที่ต้องแลกไปเหมือนกัน

เมื่อความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณแสงที่เข้ามาผ่านม่านก็น้อยลง ทำให้ภาพมืด ดังนั้นการถ่ายภาพที่ใช้ความเร็วสูง ๆ จะทำได้ดีเมื่อถ่ายกลางแจ้งอย่างสนามกีฬา หรือว่าพื้นที่นอกบ้านต่าง ๆ ที่แสงแดดมีมากพอจะให้ใช้ความเร็วสูง ๆ

คำถามที่เกิดคือแล้วถ้าหากว่าเราต้องการถ่ายภาพด้วยชัตเตอร์ความเร็วสูง แต่พื้นที่แสงที่น้อยกว่าที่กล่าวมาข้างต้นล่ะจะทำได้ยังไง? อ่านได้ที่ข้อถัดไปเลยครับ

2. การเปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุด เพื่อเพิ่มปริมาณแสง

รูรับแสงเป็นอีกปัจจัยที่จะมาช่วยให้เราใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้มากขึ้น เลือกค่า F ที่ต่ำ ๆ อย่าง F1.8, F1.4 ได้จะดีมาก เมื่อปริมาณแสงเข้ามากขึ้นก็ทำให้เราถ่ายภาพในพื้นที่แสงน้อยด้วยความเร็วที่มากขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามมันก็มีข้อควรระวังที่ตามมาครับ

เมื่อเลนส์เปิดรูรับแสงกว้างขึ้น มันก็จะทำให้เกิดการเบลอที่ง่ายขึ้นเหมือนกัน ความชัดลึก(ชัดทั้งภาพ) ก็จะน้อยลง ทำให้การละลายหรือเบลอ ในจุดที่ไม่ใช่จุดโฟกัสมันก็จะมีมาก ดังนั้นต้องเข้าใจถึงสิ่งที่จะตามมาในเรื่องนี้ด้วยครับ

3. เปิดแฟลช / ใช้แสงช่วย

การใช้แฟลชกับภาพเคลื่อนไหวจะช่วยให้เราจับภาพที่เคลื่อนไหวได้ดี เหมาะกับการถ่ายภาพอีเวนต์ หรือถ่ายบรรยากาศในบ้านที่เราสามารถเติมแสงด้วยแฟลชได้ ถึงจะเป็นอย่างนั้นการใช้แฟลชเราก็ยังต้องฝึกในการควบคุมแสงประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นกับแฟลชอยู่ดี เช่น ปริมาณแสงที่เหมาะสม หรือจะเป็นเรื่องของ ทิศทางการสะท้อนของแสง อันนี้เราต้องเข้าใจให้มากขึ้นนะครับ

4. ใช้ ISO ที่มากขึ้นบ้าง

การใช้ ISO ที่มากขึ้นช่วยให้เราสามารถเพิ่มความเร็วชัตเตอร์กล้องได้มากขึ้น เพราะเป็นการขยายสัญญาณในการรับภาพให้มากขึ้น ซึ่งเรียกได้ว่าดีเลยแหละ แต่การใช้ ISO สูงก็ต้องเข้าใจว่าโอกาสการเกิด Noise ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

สิ่งสำคัญอยู่ที่การเข้าใจ Output ของภาพว่าเราต้องการอะไร และยอมรับ ISO ได้มากแค่ไหน เพราะมันกำหนดแนวทางในการ Setting ค่าเลยแหละ ถ้ารับ ISO ได้มาก Setting ต่าง ๆ ก็จะเอื้ออำนวยต่อการถ่ายภาพด้วย Shutter Speed สูงตามไปด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่ภาพที่เราอยากได้ว่าจะต้องเป็นยังไง

5. Panning Technique

เทคนิคแพนนิ่งเป็นการถ่ายภาพที่ทำให้เกิดฉากหลังที่เบลอ แล้วก็จุดที่เราโฟกัสนั้นชัดเจน โดยหัวใจคือความเร็วชัตเตอร์จะไม่ได้สูงมาก เผลอ ๆ ประมาณ 1/60 ด้วยซ้ำ พอถ่ายภาพแนวนี้แล้วเนี่ยจะทำให้ภาพเกิดมิติ และเอฟเฟคที่ดูเคลื่อนไหว เห็นเส้นของการเคลื่อนกล้องได้ชัดเจน เราจะเห็นภาพแบบนี้ตามสนามแข่งรถซะมากกว่า นิยมใช้กันเยอะ เรามาเริ่มดูเทคนิคนี้กันครับ

5.1 ลดความเร็วชัตเตอร์ให้น้อยลงกว่าการถ่ายภาพปกติ

อ่านไม่ผิดครับ เราใช้ความเร็วที่น้อยกว่าปกติ ปัจจัยของการถ่ายภาพนี้คือเมื่อความเร็วชัตเตอร์ต่ำ โอกาสที่เราจะเบลอพื้นหลังด้วยการ Panning ก็จะทำได้มากขึ้น แต่นั้นก็หมายความว่าเราก็ต้องถือกล้องให้มั่นคงเช่นเดียวกัน

5.2 เลือกพื้นหลังที่เหมาะกับการทำ Panning

การเลือกดพื้นหลังควรดูว่าเมื่อเกิดการเบลอนั้นสวยไหม หรือรกเกินไปหรือเปล่า ส่วนใหญ่เราจะแพนนิ่งให้เข้ากับเส้นของพื้นหลัง ทำให้เกิดมูฟเมนต์ที่ดูลงตัว

5.3 ใช้ระบบ Focus ต่อเนื่อง (focus continuous)

คือการเปิดให้กล้องโฟกัสอยู่ตลอดเวลาเมื่อมีอะไรมาผ่านจุดที่เราได้โฟกัสไว้ ทำให้เราสามารถที่จะโฟกัสได้ตรงจุด และรวดเร็วนั่นเองครับ

5.4 การถ่าย Panning ก็ต้องฝึกเพื่อให้ชำนาญเหมือนกันนะ

เทคนิคนี้อ่านแค่บทความอย่างเดียวไม่พอครับ ต้องออกไปฝึกง่าย ฝึกที่จะจับภาพบ่อย ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ด้วย ยังไงก็อยากให้ฝึกนะครับเพื่อที่จะได้ถ่ายรูปได้เก่งขึ้นนะ

Exit mobile version