Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

ข้อมูลบนการ์ดบอกอะไร วิธีอ่านค่า Memory Card และวิธีการเลือกซื้อให้ถูกต้อง

การเลือกซื้อ SD Card หลายคนก็ยังเลือกไม่ถูกเหมือนกันนะ เพราะว่าความจุเยอะแล้ว ทำไมราคาถูก โดนหลอกหรือเปล่า หรือบางตัวบอกความเร็วสูง เอามาใช้ อ้าวเห้ยไม่เหมือนที่คุยกันไว้นี่นา ทำไมช้าจัง ที่จริงแล้วการ์ดแต่ละตัวและตัวเลขทางการตลาด กับการใช้งานจริงมันต้องแยกแยะนะ สิ่งสำคัญคือต้องอ่านข้อมูลการ์ดให้เป็นครับ ในวันนี้ผมจะมาบอกรายละเอียดให้เลือกซื้อได้ถูกกันเนอะ

1.ชื่อแบรนด์ของการ์ด และซีรีย์ของการ์ดในแบรนด์นั้น

ชื่อแบรนด์ของ SC Card ซึ่งมันมักจะตามมาด้วยชื่อซีรีย์ ซึ่งจะทำให้เรารู้ได้คร่าว ๆ ว่าการ์ดนั้นมันเป็นการ์ดคลาสไหน กลุ่มไหน ในแบรนด์นั้น ๆ เวลาที่ซื้อจะได้รู้เลย อย่าง Sandisk มันก็จะมีรุ่น Extreme Pro อยู่ เป็นต้น

ข้อสังเกต

แต่ละแบรนด์ใช้ชื่อรุ่นไม่เหมือนกัน และมาตรฐานของแต่ละซีรีย์ในแต่ละแบรนด์ไม่เหมือนกัน แล้วแบบนี้เวลาเราซื้อเราก็ต้องเทียบรุ่นในแต่ละยี่ห้อเพื่อดูว่ารุ่นไหนคุ้มสุด ตอบโจทย์งานที่สุดถูกไหม? เพราะงั้นมันเลยต้องมีรายละเอียดที่มากกว่านี้ (อ่านต่อด้านล่างเลย)

2.ความเร็วสูงสุดที่การ์ดตัวนั้นอ่านได้

ตัวเลขบน SD Card นี้จะบ่งบอกความเร็วในการอ่านสูงสุดที่การ์ดตัวนี้สามารถทำได้ ซึ่งการใช้งานจริงมันต้องเร็วทั้งความเร็วในการเขียน และ ความเร็วในการอ่านด้วย ดังนั้นตายกันมาเยอะกับตัวเลขบนการ์ด เห็นเขียนเยอะ ๆ ก็ซัดเลย หารู้ไม่ข้อมูลแค่นี้ไม่พอนะ

ข้อสังเกต

ความเร็วในการเขียนถ้ารุ่นที่เร็วจริงอย่าง Sony เนี่ย มันจะเขียนตรง ๆ เลย เพราะมันโชว์พลังความสามารถที่เร็วสุด ๆ และแพงสุด ๆ ไว้ เขาเลยกล้าโชว์ แต่ว่ารุ่นที่ไม่โชว์เนี่ยให้เราเปิดหลังกล่องมีแน่นอนครับ เขาจะบอกว่าความเร็วในการอ่านเท่าไหร่และความเร็วในการเขียนเท่าไหร่ แค่นี้ก็ไม่พลาดแล้ว (เดี๋ยววิธีเลือกความเร็วในการเขียนจะบอกหลังจากเรื่องนี้เนอะ)

3.ขนาดความจุของการ์ด

อันนี้ก็เป็นอย่างที่ตัวอย่างในภาพเลย คือ ความจุเท่าไหร่ก็จุได้เยอะมากเท่านั้นครับ ยิ่งความจุเยอะ ก็เก็บข้อมูลได้เยอะครับ เดี๋ยววิธีการเลือกให้เหมาะสมเรามาดูช่วงต่อไปของบทความนะ

4.รูปแบบของการ์ด

รูปแบบของการ์ดจะออกแบบตามลักษณะการเก็บไฟล์ครับ รูปแบบการจัดเก็บของข้อมูลด้านใน ซึ่งผมอธิบายให้เข้าใจแบบง่าย ๆ ภาษาคนทั่วไปใช้ละกัน (ให้ดูตารางควบคู่กันเนอะจะได้เข้าใจ)

ความแตกร่างระหว่าง SD,SDHC,SDXC : Source – Transcend

SD – SDSC or Secure Digital Standard Capacity เป็นการ์ดที่มีความจุสูงสุด 2GB ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นแล้วครับ เนื่องจากเทคโนโลยีไปไกลพอสมควร เลยทำให้การ์ดความจุสูงมีเกลื่อนแล้ว

SDHC – Secure Digital High Capacity สังเกตคำว่า “High Capacity” คือเป็นการ์ดที่ออกแบบมาให้รองรับความจุสูงแล้ว โดยความจุจะอยู่ที่ 4GB ไม่เกิน 32GB ครับ และรูปแบบการเก็บไฟล์จะเป็น FAT32 (รูปแบบการเก็บไฟล์รับรู้ไว้ก็พอครับ พวกสายคอมเขาจะลงลึกพวกนี้กัน เรา User ไม่ต้องลงลึกขนาดนั้นเนอะ)

SDXC – Secure Digital eXtended Capacity สังเกตคำว่า “eXtended Capacity” คือการ์ดที่ออกแบบมาให้รับความจุได้สูงมาก (สูงโคตร ๆ จนเอื้อมราคาไม่ไหวก็มี) เป็นการ์ดที่รับความจุได้ 32GB – 2TB น้อง ๆ HDD External เลย แต่ราคาก็บินไปไกลถึงดาวอังคารเช่นกัน การจัดเก็บไฟล์เป็นแบบ exFAT

ข้อสังเกต

สุดท้ายแล้วให้เราไปดูที่ความจุครับ ว่าเลือกใช้เท่าไหร่ ส่วนใครอยากตามลักษณะการเก็บข้อมูลติดตามได้ที่ท้ายบทความจะแปะแหล่งที่มาไว้ให้นะครับ

5.ลักษณะบ่งบอกความเร็วการ์ด

พื้นฐานความเร็วของการ์ดจะใช้ชื่อเรียกมาตรฐานตามแบบคอมพิวเตอร์เลยคือ “Bus Speed” เปรียบเหมือนรถที่ยิ่งมีความเร็วเยอะ ยิ่งส่งข้อมูลได้เยอะ โดยนับหน่วยเป็น “ความเร็ว/วินาที”

จากข้างบนที่บอกว่า UHS ชื่อเต็มคือ Ultra High Speed (Bus) เพราะงั้นตอนซื้อการ์ดให้ดูสัญลักษณ์ดี ๆ นะครับ มันจะมี I,II,III  เป็นเลขโรมันที่บอกเวอร์ชั่นของมัน ซึ่งจะบ่งบอกไว้อยู่บนการ์ด ปัจจุบันมันก็จะมีตามนี้เลย เพราะอัพเดตล่าสุดแล้ว

UHS-I (สัญลักษณ์ I) – Ultra High Speed Bus I

ลักษณะของมันคือ กล้องที่รองรับการ์ดนี้ก็จะใช้ความเร็วได้เต็มที่ของ UHS-I ความเร็วจะทำได้สูงสุดที่ 104MB/s (เมกกะไบต์ต่อวินาที)

UHS-II (สัญลักษณ์ II) – Ultra High Speed Bus II

ลักษณะของมันคือ ความเร็วที่สูงมากขึ้น กล้องที่รองรับการ์ดนี้ก็จะใช้ความเร็วได้เต็มที่ของ UHS-II ความเร็วจะทำได้สูงสุดที่ 312MB/s (เมกกะไบต์ต่อวินาที)

UHS-III (สัญลักษณ์ III) – Ultra High Speed Bus III

ลักษณะของมันคือ ความเร็วที่สูงมากขึ้นไปอีก เน้นรองรับงานสเกลหนัก ๆ  กล้องที่รองรับการ์ดนี้ก็จะใช้ความเร็วได้เต็มที่ของ UHS-III ความเร็วจะทำได้สูงสุดที่ ุ624MB/s (เมกกะไบต์ต่อวินาที)

ข้อสังเกต

การใช้งานจริงของความเร็วการ์ดเมื่อเทียบกับสเปค จะได้เท่าไหร่มันอยู่ที่การส่งข้อมูลผ่านปัจจัยต่าง ๆ อาจจะวิ่งได้ไม่เต็มเท่านี้ครับ แต่สูงสุดมันได้เท่าที่ใบสเปคมันบอกมานั่นแหละครับ ที่สำคัญเลยคือ ดูด้วยว่ากล้องเรามันรับได้ที่ UHS เท่าไหร่ ถ้ากล้องเรารับได้ที่ UHS-I แต่ดันซื้อการ์ด UHS-II มา มันก็ใช้ความเร็วได้แค่ UHS-I นะ

6.คลาสความเร็วของการ์ดนั้น

ข้อมูลนี้เป็นมาตรฐานที่มีมาตั้งแต่ SD Card ยุคฟีเจอร์โฟนนั้นแล้วครับ และถูกพัฒนามาต่อเนื่อง มันเลยทำให้มีมาตรฐานมากำหนดเรื่องคลาสอยู่บ้าง (แม้มันจะพัฒนาไปไกลแล้วอะนะ) ซึ่งปัจจุบันมันก็จะเป็น Class 10 ทั้งนั้นแหละ แต่ก็รู้ไว้จะได้เข้าใจครับ ดูตามตารางนะ

7. สัญลักษณ์บอกความเร็วขั้นต่ำในการเขียนของการ์ดนั้น

ให้ยึดตามตารางด้านบนเหมือนเดิม สังเกตว่า Class 10 มันจะมีมาตรฐานกำหนดความเร็วไว้ด้วยคือ Class 1 และ Class 3 อ้าวแล้วมันงงนะเนี่ยคือยังไงล่ะ?

สรุปให้ฟังง่าย ๆ แบบไม่หัวแตกคือ Class 10 ตามด้วย U อะไรมันก็จะวิ่งความเร็วในการเขียนที่ต่ำสุดต้องตามนั้นเลยคือ Class 1 ต่ำสุดของความเร็วในการเขียนคือ 10MB/s (เมกกะไบต์ต่อวินาที), Class 3 (U3) ก็ 30MB/s (เมกกะไบต์ต่อวินาที) ส่วนการรองรับวีดีโอขนาดไหนดูในตารางเอาเนอะ

ข้อสังเกต

ให้เลือกการ์ดให้เหมาะกับงานแล้วก็กล้องที่รองรับด้วย สเปคกล้องหรือข้างกล่องกล้องก็จะบอกอยู่ว่ารองรับการ์ดแบบไหนครับ

วิธีเลือกซื้อ SD Card,SDSC Card,SDHC Card,SDXC Card แบบไหนไม่ต้องเงิบ

1.ดูไว้ก่อนว่ากล้องเรารับการ์ดแบบไหน

ตรงส่วนนี้ผมบอกได้แค่ว่าให้ดูจากหน้า Specification ในเว็บหรือ่วาดูข้างกล่องก็ได้เนอะว่าเขารอรับ UHS-I หรือ UHS-II ครับ จากนั้นก็เลือกซื้อแบบนั้นมาใช้ได้เลย

2.ดูว่างานที่เราใช้มันต้องใช้เมมระดับไหน โดยเฉพาะงานวีดีโอ

เราดูได้ตามนี้เลยครับว่าเราใช้งานลักษณะไหน ถ้างานภาพนิ่งเนี่ย เลือกพวกการ์ด UHS-I ยืนพื้นไปเลย ความเร็วในการเขียนสัก 90MB/s ก็โอเคเลยสำหรับกล้องกลุ่มโปร แต่ถ้าทั่วไปก็ความเร็วในการเขียนแค่ 45MB/s ก็ได้ แต่ถ้างานวีดีโอผมให้ดูตามกราฟดีกว่าครับ ยิ่งเราเลือกการบันทึกที่ละเอียด การ์ดก็ต้องแรงด้วยเพื่อเขียนข้อมูลให้ทันครับ

3.ให้เช็คความเร็วในการเขียนเสมอ อย่าเชื่อความเร็วในการอ่าน

ความเร็วหน้ากล่องมันมักจะเป็นตัวเลขทางการตลาดครับ คือเอาความเร็วในการอ่านสูงสุดมาเขียน แนะนำให้อ่านข้างหลังกล่องครับ มันจะเขียนชัด ๆ เลยว่าความเร็วในการอ่านเท่าไหร่ เขียนเท่าไหร่ แล้วก็เทียบตารางดูว่างานเราใช้ความเร็วในการเขียนเท่านี้ตอบโจทย์เราได้ไหม

Exit mobile version