Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

เทคนิคการถ่ายภาพเงาสะท้อนน้ำ

เทคนิคการถ่ายภาพสะท้อนน้ำ เรามักจะสะดุดตากับภาพถ่ายใช้เทคนิคจากการถ่ายภาพสะท้อนน้ำ ซึ่งการถ่ายภาพสะท้อนน้ำนั้นเสน่ห์ของมันคือการสร้างความน่าสนใจให้ภาพ ความให้รู้สึกถึงความมหัศจรรย์ของมุมมองใหม่ สัมผัสได้ถึงมิติ ความลึก และเรื่องราวที่ดูต่างออกไป เชื่อว่าหลายคนก็เคยลองแบบนั้นแน่นอนครับ

การถ่ายภาพ Landscape ส่วนใหญ่ก็นิยมใช้เทคนิคการถ่ายภาพสะท้อนน้ำเหมือนกัน หรือแม้แต่ถ่ายภาพ Street ที่เดินในเมืองเองก็ยังมีการนำเทคนิคนี้มาใช้เพื่อสร้างความโดดเด่น ยิ่งช่วงไหนฝนเพิ่งหยุดตก เราจะมีโอกาสถ่ายภาพสะท้อนน้ำอีกเพียบเลย เกริ่นมาเยอะแล้วเรามาเรียนรู้วิธีถ่ายภาพเงาสะท้อนน้ำกันดีกว่าครับ

เทคนิคการถ่ายภาพสะท้อนน้ำ

มองหามุม หรือ เงาสะท้อน ในภาพให้ได้ก่อน – Finding a Reflection

หามุมสะท้อนตามเงากระจก หรือมุมเมืองต่าง ๆ ก่อนก็ได้, เทคนิคการถ่ายภาพสะท้อนน้ำ, ถ่ายภาพทะลุกระจก, ถ่ายภาพสะท้อนกระจก, พื้นฐานการถ่ายภาพ, กล้องถ่ายรูป, Basic Photography

การหามุม หรือเงาสะท้อน ส่วนใหญ่นั้นเราก็มักจะเลือกพื้นถนนที่มีน้ำเป็นแอ่งอยู่หน่อย ๆ ที่พอจะสะท้อนได้ หรืออาจจะเป็นเงาของกระจก เงาสะท้อนต่าง ๆ เพื่อทำให้ภาพนั้นดูน่าแปลกตาขึ้นมา หลังจากนั้นเริ่มสร้างเรื่องราวในนั้นต่อ เดี๋ยวผมยกตัวอย่างของเงาสะท้อนแต่ละแบบให้ดูครับ

พื้นผิวที่เปียกหรือเงา : พื้นผิวที่เปียกก็มักมีเงาสะท้อนอยู่ ตัวอย่าง เช่น ชายหายที่มีน้ำชื้นอยู่ เมื่อมีแสงกระทบไปที่น้ำก็จะเกิดภาพสะท้อนได้ หรือทางเท้าที่มีน้ำขังอยู่แล้วมีแสงไฟที่ถนนส่องลงมาก็ทำให้เราเห็นเงาสะท้อนได้เหมือนกัน สามารถสร้างมิติ คอนทราสต์ในภาพได้ด้วย

ภาพเงาสะท้อนน้ำ, Source : Contrastly เทคนิคการถ่ายภาพสะท้อนน้ำ, ถ่ายภาพทะลุกระจก, ถ่ายภาพสะท้อนกระจก, พื้นฐานการถ่ายภาพ, กล้องถ่ายรูป, Basic Photography

แหล่งน้ำ : การใช้เงาสะท้อนจากแหล่งน้ำตรง ๆ เช่น ทะเลสาบ ก็จะสามารถทำภาพเงาสะท้อนน้ำได้เหมือนกัน ส่วนใหญ่ถ่ายภาพ Landscape เราก็มักจะใช้วิธีการทำแบบนี้อยู่แล้ว

กระจกหรือหน้าต่าง : กระจกตามตึก หรือห้างสรรพสินค้าเราจะเจอกระจกสีดำ ๆ ที่มีคุณสมบัติในการสร้างเงาสะท้อน พวกนี้จะสวยงามมาก ลองเดินหามุมถ่ายภาพดูได้เลย ตรงนี้สามารถใช้สร้างเรื่องราวได้มากมายทีเดียวครับ

อุปกรณ์เสริมในการถ่ายภาพเงาสะท้อน

การถ่ายภาพเงาสะท้อนปกติไม่ได้ใช้อะไรเสริมก็ถ่ายภาพได้สวยครับ แต่กรณีที่อยากมีอะไรใช้เพิ่มให้ภาพดูโดดเด่นขึ้น หรือบางสถานการณ์ก็อาจจะมีใช้บ้างเพื่อให้ภาพสมบูรณ์มากขึ้น จะมีอยู่ 3 รายการด้วยกันครับ

ขาตั้ง : ขาตั้งมักใช้กับสาย Landscape ที่ต้องการความนิ่งของน้ำ และอยากได้เงาของน้ำที่ชัดเจน เราจะทำการเปิดสปีดชัตเตอร์ให้นานขึ้น ต้องใช้ขาตั้งและสายลั่นชัตเตอร์แน่นอนครับ

เลนส์ : สำหรับคนที่ถ่าย Landscape แนะนำเป็นช่วงที่กว้างอย่างเลนส์ Ultra-Wide ครับ เพื่อให้เก็บเรื่องราวในภาพได้กว้าง

ฟิลเตอร์ตัดแสงสะท้อน : เวลาที่ถ่ายภาพเงาในน้ำ มักจะมีแสงสะท้อนในภาพ เราสามารถตัดแสงสะท้อนที่รบกวนเหลานั้นได้ ทำให้เรามีมิติสีที่ดีขึ้น แต่อาจจะต้องหามุมที่เหมาะสมหน่อยในการใช้ Polarizing Filter ครับ

การตั้งค่ากล้องเพื่อถ่ายภาพสะท้อน

เมื่อพูดถึงการถ่ายภาพเงาสะท้อนน้ำ ถ้าหากเรามีการตั้งค่าที่เหมาะสมกับสถานการณ์จะทำให้เราได้ภาพที่ถูกต้องอย่างที่ใจเราคิดครับ

ถ่ายภาพทะลุกระจก, ถ่ายภาพสะท้อนกระจก, พื้นฐานการถ่ายภาพ, กล้องถ่ายรูป, Basic Photography

การตั้งค่า : การตั้งค่านั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์หน้างานตอนนั้นว่าเป็นยังไงบ้าง ผมขออธิบายรวม ๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย การถ่ายภาพ Landscape กรณีที่จะถ่ายภาพสะท้อนน้ำ อาจจะใช้ F/16 เพราะต้องการคุมระยะชัดลึกให้ทั่วทั้งภาพ หรืออาจจะน้อยกว่านั้นก็ได้ (ขอแค่คุมระยะชัดได้) นอกจากนี้การถ่ายภาพให้นิ่งอาจจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่น้อยลงเพื่อให้ได้ภาพเงาสะท้อนที่ชัดเจนบนผิวน้ำครับ

การเตรียมตัวและเวลาที่เหมาะสม : ถ่ายภาพเงาสะท้อนที่เจ๋ง ๆ หน่อยควรเลือกช่วง Twilight หรือช่วยก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น และก่อนดวงอาทิตย์ตกหน่อย ๆ เป็นช่วงเวลาที่นิยมถ่ายภาพ Landscape กัน เพราะจะทำให้ได้ภาพเงาสะท้อนที่มีสีสันของท้องฟ้าได้เป็นอย่างดีครับ

การจัดองค์ประกอบภาพให้น่าสนใจ

การจัดองค์ประกบภาพถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการถ่ายภาพทุกแบบ เป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างจุดสนใจให้กับภาพ และสามารถดึงดูดสายตาของผู้ชมได้

มองหาจุดที่จะสร้างความน่าสนใจ : ก่อนอื่นเราต้องมองหาจุดที่จะสร้างความน่าสนใจให้ได้ก่อน เช่น เรื่องราวในภาพ หรือรายละเอียดที่จะเสริมเรื่องราวให้สวยงามได้ด้วย เป็นสิ่งจำเป็นมาก ถ้าจะมองหาแต่มุมสะท้อนน้ำอย่างเดียวก็คงไม่ดีแน่ สะท้อนไปแล้วไม่ได้เล่าเรื่องราวอะไรก็จบ เพราะการถ่ายภาพ ก็คือการเล่าเรื่องหนึ่งเรื่อง ในภาพหนึ่งภาพ

เก็บเรื่องกฎสามส่วนไว้ในใจบ้าง : เวลาที่เราถ่ายภาพ Landscape มักจะใช้กฎสามส่วนในการแบ่งภาพให้ได้ความสมดุล แต่การถ่ายภาพสะท้อน บางครั้งอาจจะละเว้นเรื่องแบบนี้ไปบ้าง เพราะไม่ใช่ทุกครั้งที่จะใช้ทฤษฏีต่าง ๆ ในการตอบโจทย์ภาพทุกภาพ แต่ยังไงผมก็ยังแนะนำว่าให้สะสมมุมมองต่าง ๆ ไว้ในประสบการณ์เพื่อที่เราจะประยุกต์ใช้ได้ทุกเมื่อ

ถ่ายภาพทะลุกระจก, ถ่ายภาพสะท้อนกระจก, พื้นฐานการถ่ายภาพ, กล้องถ่ายรูป, Basic Photography image by David Mark on Pixabay

เก็บสะสมมุมมองไว้เป็น Reference บ้าง : พยายามคลุกคลีเกี่ยวกับการถ่ายภาพสะท้อนไว้เยอะ ๆ เพราะมันช่วยได้ และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ การสร้างประสบการณ์ทางอ้อมให้กับเรา ให้เราสามารถอ้างอิงมุมมองต่าง ๆ จากความจำของเราได้ด้วย

Image by Andy Beales on Unsplash

สุดท้ายแล้วอยากฝากว่า พยายามฝึกทุกวันที่มีโอกาสครับ เพราะหลักการที่ผมว่าไปตั้งแต่ต้นจนมาถึงตอนนี้มันไม่ได้ตอบโจทย์ทุกภาพถ่ายนะ เป็นแค่แนวทางเพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้น และไม่มีบทความไหน หรือบทเรียนใด ๆ ดีไปกว่าการฝึกประสบการณ์ด้วยตัวเอง ช่างภาพที่เก่งที่สุดก็เริ่มต้นจุดเดียวกับเรา คือการเริ่มฝึกถ่ายภาพเนี่ยแหละ

อ่านบทความสำหรับมือใหม่
– วิธีถ่ายภาพด้วยโหมด M สำหรับมือใหม่ใน 7 ขั้นตอน
– เหตุผลที่ควรใช้โหมด M

Exit mobile version