Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

OverExposure ปัญหาการถ่ายภาพแล้วแสงเกินสำหรับมือใหม่ และวิธีในการแก้ไขทั้งก่อนและหลังถ่ายภาพ

OverExposure ปัญหาการถ่ายภาพแล้วแสงเกินสำหรับมือใหม่ และวิธีในการแก้ไขทั้งก่อนและหลังถ่ายภาพ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นถ่ายภาพ การทำผิดพลาดเป็นเรื่องปกติที่ต้องพบเพื่อสร้างประสบการณ์ การถ่ายภาพ Overexposure หรือ Underexposure ก็เป็นปัญหาหลักที่เจอบ่อย ๆ ซึ่งวันนี้เรามาดูกันว่า Overexposure คืออะไร ? เกิดขึ้นได้อย่างไร ? และจะแก้ไขได้อย่างไร ?

OverExposure ปัญหาการถ่ายภาพแล้วแสงเกินสำหรับมือใหม่ และวิธีในการแก้ไขทั้งก่อนและหลังถ่ายภาพ

Overexposure คืออะไร ? 

ภาพถ่ายเเบบ Overexposure คือภาพที่ได้มีปริมาณเเสงในภาพมากหรือสว่างมากเกินไป ทำให้มีเเสงจ้าหรือมีเเสงมากเกินกว่าที่ควรเป็น ทำให้ภาพที่ได้สูญเสียรายละเอียดภาพ มองเห็นเพียงพื้นที่สีขาวเป็นส่วนมาก

Overexposure เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

การทำความเข้าใจเรื่องของแสงในการถ่ายภาพ ต้องเข้าใจจากเรื่องของค่าความสัมพันธ์ของแสง EXPOSURE TRIANGLE ที่เป็นค่าความสัมพันธ์ระหว่าง รูรับเเสง ความเร็วชัตเตอร์ เเละค่าความไวเเสง 

โดยเมื่อทั้งสามองค์ประกอบรวมกันจะเป็นค่าของแสงที่กล้องคำนวนออกมา (Exposure Value) แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าใด ๆ ของ 1 ใน 3 องค์ประกอบนี้ก็จะมีผลกับแสง ความสว่างของภาพ ทำให้เกิดเอฟเฟกต์บางอย่างกับภาพด้วย 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย

ดังนั้นหากมีการตั้งค่า ค่าหนึ่งค่าใดที่ทำให้ค่าทั้งสามไม่สมดุลกัน ก็จะเกิดอาการเเสงเกินหรือ Over exposure ได้ จึงต้องระวังไม่ปรับรูรับเเสงกว้างเกินไป เป็นหน้ากล้องนานเกินไป หรือปรับ ISO สูงเกินไปด้วย 

Overexposure ป้องกันได้อย่างไร ?

Overexposure ป้องกันได้ด้วยการสังเกตเเละวัดเเสงเพื่อดูเเสงในระบบ ซึ่งสามารถดูได้หลายวิธี เช่น

  1. การดูเเสงในระบบจากกราฟฮิสโตเเกรม 

โดย Histogram คือ กราฟแท่งที่แสดงจำนวนของพิกเซลที่กระจายกันอยู่ในค่าความสว่างช่วงต่าง ๆ ที่อยู่ในภาพ เริ่มต้นที่ 0-255 ซึ่งทางด้านซ้ายจะเป็นส่วนที่มืด พวกเงา ส่วนสีดำ, ด้านขวา จะเป็นส่วนที่สว่าง อะไรที่เป็นสีขาว ส่วนตรงกลางจะเป็นส่วนสีเทา ถ้า HISTOGRAM เทไปทางซ้าย คือมีส่วนมืดเยอะ และถ้า HISTOGRAM เทไปทางขวา คือส่วนสว่างในภาพเยอะ นั่นเอง 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ วิธีอ่านค่า HISTOGRAM แบบเข้าใจง่ายและการนำไปใช้งานจริง

  1. แถบ Exposure ของกล้อง

นอกจากจะดูจาก HISTOGRAM แถบ Exposure ของกล้องที่จะบอกค่าเเสงอยู่บริเวณหน้าจอทั้งจอ LED เเละที่ช่องมองภาพด้วยซึ่งถ้าเเถบ Exposure อยู่ด้านซ้าย หรือมีตัวเลข -EV ก็เเสดงว่าเเสงน้อย เเละถ้าอยู่ด้านขวา หรืออยู่ในเเนวบวก +EV ก็เเสดงว่าเเสงเข้ามาในระบบเยอะ

  1. ถ่ายภาพโดยใช้ไฟล์ RAW 

การถ่ายภาพเเบบไฟล์ RAW อาจจะช่วยปรับลดเเสงในภาพได้บ้าง ซึ่งถ้าหากเเสงไม่เกินมากจนเกินไป การเเต่งภาพในกระบวนการ  Post-processing ก็อาจจะพอช่วยดึงรายละเอียดกลับมาได้ เเต่ถ้าหากว่าเเสงเกินมากไปจริง ๆ การถ่าย RAW มาก็อาจจะช่วยไม่ได้เช่นกัน 

ดังนั้นต้องดูกราฟ เเละคอยวัดเเสงเเละเชคเเสง เพื่อให้รู้ว่าภาพที่ถ่ายไปนั้นเเสงพอดีหรือมากไปหรือไม่

Overexposure แก้ไขได้อย่างไร ?

การเเก้ไขอาจจะพอทำได้ การถ่ายภาพมาเเบบไฟล์ RAW อาจจะช่วยดึงความสว่างลงเพิ่มความมืดปรับส่วนต่าง ๆ เพื่อดึงรายละเอียดออกมาได้ โดยสามารถแก้ได้จากทั้ง Lightroom หรือ  Photoshop 

ตัวอย่างการเเก้ไขภาพเเสงเเบบ Overexposure บน Photoshop

  1. ใช้เเถบ Exposure

โดยเข้าไปที่เมนู Image > Adjustment > Exposure แล้วเลื่อนเเถบไปซ้ายขวา เพื่อดูว่าปริมาณเเสงเท่าไหร่จึงจะช่วยให้เห็นรายละเอียดได้พอดี

2. ใช้เเถบ level

โดยเข้าไปที่เมนู Image > Adjustment > Level เลื่อนเเถบไปซ้ายขวาเพื่อปรับเเสงให้พอดี

3. ใช้เเถบ shadow/highlight

โดยเข้าไปที่เมนู Image > Adjustment > shadow/highlight แล้วเลื่อนเเถบไปซ้ายขวาเพื่อปรับแสงให้ได้ตามต้องการ

เเต่เคล็ดลับในการถ่ายภาพเพื่อป้องกันการถ่ายภาพเเล้วเกิด Overexposure ก็คือการปรับเพื่อให้ถ่ายมาเเบบ Underexposure มาเล็กน้อยเพื่อมาดึงสีเเละดึงรายละเอียดขึ้นมาภายหลังได้ และการแก้ Underexposure แก้ง่ายกว่า Overexposure อีกด้วย

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

รวมบทความการถ่ายภาพพื้นฐานสำหรับมือใหม่

– การตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่ เริ่มพื้นฐานจากศูนย์กันเลย
– ISO คืออะไร รวมทุกอย่างที่ต้องรู้เรื่อง ISO
– คำแนะนำสำหรับมือใหม่ในการถ่ายภาพให้นิ่งและไม่เบลอ
– 7 ไอเดียการฝึกถ่ายรูปสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นเล่นกล้อง
– 10 เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้นสำหรับมือใหม่

Exit mobile version