Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

จอแต่งภาพ vs จอธรรมดา แตกต่างกันยังไง และจำเป็นไหม

จอแต่งภาพ vs จอธรรมดา แตกต่างกันยังไง และจำเป็นมากน้อยแค่ไหน สำหรับคนที่เริ่มจะรู้จักเกี่ยวกับหน้าจอแต่งภาพ ส่วนใหญ่เราจะสัมผัสเรื่องของราคาของหน้าจอ Monitor ทั่วไปกับตัวมอนิเตอร์สำหรับแต่งภาพ อาจจะใช้กับ Adobe Lightroom เป็นหลัก สิ่งที่เราเห็นก็คือเรื่องของราคาที่ต่างกันอย่างชัดเจน แต่สิ่งที่ยังเกิดคำถามคือความแตกต่างมีตรงส่วนไหนบ้าง ซึ่งในวันนี้จะมาวัดค่าให้ดู และพูดถึงการใช้งานทั่วไปกับหน้าจอสำหรับแต่ภาพนั้นแตกต่างกันมากแค่ไหน

จอทั่วไปที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีกี่แบบกันแน่ แล้วมันแตกต่างกันยังไง?

จอที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ในปัจจุบันก็จะมีแค่ 3 แบบด้วยกันตามนี้ครับ

ผมเป็นคนใช้ทั้ง Laptop ที่เป็น Workstationและ Surface Pro 4 สองตัวนี้หน้าจอค่อนข้างโอเคเวลาใช้ข้างนอก แต่หน้าจอสำหรับแต่งภาพผมเลือกใช้ BenQ SW271 เป็นหลักเพราะสีตรง

หน้าจอที่ผมนำมาทดสอบในวันนี้ จะเป็นจอระดับที่ใช้ทำงานทั้งหมด ซึ่งสเปคจะสูงกว่าจอธรรมดาทั่วไปอยู่ประมาณนึง จะเป็นจอของ Workstation ครับ ผมเน้นใช้ทำงานนอกสถานที่กับงานทั่วไปที่ไม่ได้ไปยุ่งกับการแต่งภาพมากนัก เพราะการแสดงผลสีจะแต่งต่างกับจอแต่งภาพที่ผมใช้ประจำอยู่

แล้วก็จะใช้อีกสองจอเปรียบเทียบคือ จอแต่งภาพของ BenQ SW271 กับ Surface Pro 4 ที่สีสันจะตอบโจทย์มากกว่าจอ Workstation ที่ผมใช้ครับ

จอธรรมดา vs จอแต่งภาพ แตกต่างกันยังไง และจำเป็นไหม เดี๋ยวมาทดสอบ Calibrate และอ่านค่าด้วย Spider 5 Elite กัน

Monitor Surface Pro 4 และ Monitor ของ BenQ SW271 ที่ผมใช้สำหรับการแต่งภาพโดยเฉพาะ

แล้วจอแต่งภาพมันสำคัญขนาดที่ต้องมาคุยกันในประเด็นนี้เลยเหรอ? จอแต่งภาพคือหน้าจอที่ได้ออกแบบสำหรับการทำงานเกี่ยวกับเรื่องสีโดยเฉพาะครับ จะมีตั้งแต่ความเที่ยงตรง ความถูกต้องของสีต้องคุณภาพดีที่สุดที่จะทำได้, การออกแบบให้หน้าจอพร้อมทำงานกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น แสงในห้องถูกรบกวนจากสภาพแสงภายนอก ต้องมีตัว ​Hood กันไว้, หรือมีพอร์ท USB สำหรับต่อตัว Calibrate และอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นต้นครับ

Monitor แบบทั่วไปและหน้าจอสำหรับแต่งภาพ มีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน? จำเป็นหรือเปล่า?

เอาเรื่องความแตกต่างกันก่อนครับ อันนี้เรื่องทฤษฏีคร่าว ๆ นะไม่อยากลงลึกอะไรมากให้ปวดหัวครับ Notebook ทั่วไปหรือว่าหน้าจอปกติที่ออกแบบให้ใช้งานแบบ Home User จะแสดงผลได้โอเคนะ เหมาะกับการใช้มัลติมีเดีย แต่ว่าถ้าในด้านการใช้งานแบบมืออาชีพจอเหล่านี้จะมีความสามารถในการแสดงผลผ่านช่วงสีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น sRGB หรือ Adobe RGB แตกต่างกันไป หรืออาจไม่ดีเท่าจอที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับงานกราฟิคหรือแต่งภาพแม้ว่าจะเป็นจอ IPS เองก็ตาม


ช่วงสีคืออะไรและเลือกยังไงดี ? ช่วงสีคือความสามารถของจอในการแสดงค่าสี พูดกันอย่างง่ายๆก็คือต่อให้ถ่ายภาพมาเป็นไฟล์ RAW เก็บมาทุกรายละเอียดแต่ถ้าจอไม่สามารถแสดงค่าสีนั้นๆได้เวลาเรามองภาพบนจอสีที่เห็นก็จะถูกลดทอนลงตามความจำกัดของจอ สิ่งที่น่าเสียดายก็คือเมื่อภาพที่เราเห็นบนหน้าจอถูกจำกัดและเราแต่งภาพต่อไปทั้งอย่างนั้น ทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาถูกบิดเบือนไป ตรงจุดนี้อาจจะสอดคล้องกับประสบการณ์ของช่างภาพหลายคนที่พบคำถามเสมอว่า “ทำไมเวลาดูภาพบนจออื่นแล้วสีเพี้ยน ?” หรือ “ทำไมพริ้นต์ออกมาแล้วสีจึงต่างกับภาพบนจอ?”

เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจอที่เลือกมานั้นเหมาะสมกับการทำงานแต่งภาพการเลือกชนิดพาเนล (IPS) อาจยังไม่เพียงพอแต่ยังต้องคำนึงถึงความสามารถในด้านการแสดงค่าสี ทั้งช่วงสีแบบ sRGB และ Adobe RGB ซึ่งยิ่งสูงยิ่งดียิ่งครอบคลุม ถ้าใช้เฉพาะงานดิจิตอลสามารถเน้นไปที่ 100% sRGB ทั้งนี้อาจมุ่งไปที่ 99% Adobe RGB ถ้าหากต้องการทำงานพิมพ์หรือต้องการเก็บทุกรายละเอียดของภาพที่ได้บันทึกไว้

เดี๋ยวผมมีตัวอย่างของการ Calibrate Monitor เครื่อง Workstation ที่ใช้ประจำของผม กับหน้าจอ Monitor ที่ออกแบบมาสำหรับงานแต่งภาพ BenQ SW271 วัตถุประสงค์ของการ Compare เพราะผมต้องการให้มองเห็นความแตกต่างของช่วงสีที่ Spider วัดออกมาได้ครับ

Calibrate หน้าจอ BenQ SW271 ด้วย Spider 5 Elite

ความสามารถ ในด้านการแสดงค่าสีของ Workstation ที่ผมใช้ประจำคือ sRGB 100% ครับ ส่วน Adobe RGB 78% ซึ่งถือว่าโอเคสำหรับใช้งานทำกราฟิคทั่วไป

แต่สำหรับคนที่ซีเรียสความเที่ยงตรงของสี BenQ SW271 ทำได้ไกลกว่าคือ sRGB100% และ Adobe RGB ที่ 99% ซึ่งหายากมากนะที่หน้าจอ Monitor จะทำได้ขนาดนี้ ถ้ามองตัวตาตัวเองจะเห็นว่าสีสันและรายละเอียดครบถ้วนครับ ถ้าใครอยากเลือกใช้จอ Monitor แต่งภาพดี ๆ ก็ลองหาที่ Adobe RGB 99% ก็ได้นะครับ แต่ราคาจะสูงหน่อย

อีกจุดก็คือค่า Delta E คือค่าที่บ่งบอกว่า Monitor เราแสดงผลของสีได้ตรง สม่ำเสมอ ซึ่งค่า Delta E สำหรับมาตรฐานจะประมาณ 2 ครับ แต่ Delta E ของจอ Monitor ผมทั้งสองคือต่ำกว่า 2 ทั้งหมดก็ตรงเลยแหละ แต่ของ BenQ SW271 จะมีค่าที่ดีกว่า (ก็แน่แหละตามราคาเลย ถ้าใครชอบจอตรง ๆ BenQ SW271 นี่โอเคเลยนะ โอเคกว่า Workstation ที่ผมมีอีก)

นอกจากที่บอกมาแล้วยังมีเรื่องของมุมรับภาพครับ Monitor สำหรับการทำงานของผมทั้งสองก็จะมีมุมรับภาพที่ค่อนข้างกว้าง ในบทความนี้เสียดายที่ไม่มี Monitor แบบธรรมดาทั่วไปมาเทียบครับ ซึ่งจะเห็นความแตกต่างของจอทั้งสองเยอะขึ้นมากกว่านี้อีกเยอะครับ แต่จากการวัดค่าด้วย Spider Elite ซึ่งเป็นตัว Calibrate ที่ดีที่สุดที่ผมจะหามาได้แล้วก็วัดค่าออกมาเชื่อถือได้เลยแหละ

ส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากความสามารถของจอปกติ อันนี้คือเรื่องมุมรับภาพและการป้องกันแสงสะท้อนครับ จะเห็นว่าจอ Workstation ที่ผมใช้ประจำของผมเวลาโดนแสงตรง ๆ นี่ก็เรียบร้อยครับ แต่ถ้าเป็น Surface Pro 4 กับ BenQ SW271 ยังรอดอยู่

แล้วสรุปว่าจอแต่งภาพจำเป็นไหมสำหรับการทำงานด้านภาพถ่าย?

ผมยังต้องบอกตามตรงว่า จำเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความสามารถในการแสดงค่าสี เพื่อให้ได้ภาพที่ดีเราลงทุนไปมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกล้องดีๆ เลนส์เทพๆ และการบากบั่นไปหาวิวสวยๆ อย่าพลาดในตอนจบกระบวนการปรับแต่งภาพก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะงั้นหน้าจอจำเป็นแน่นอนครับ แต่เรื่องกำลังซื้อของแต่ละคนก็ควรจะเลือกดูจอที่เหมาะกับตัวเองครับ อาจจะไม่ต้องแพงที่สุดทุกครั้ง แต่ควรเลือกจอที่ดีที่สุดที่เราจะหาได้ในตอนนั้นครับ

ในตอนหน้าผมจะรีวิวจอ Monitor BenQ SW271 สำหรับงานแต่งภาพโดยเฉพาะครับ เพราะครั้งนี้พูดถึงเรื่องของความสามารถโดยรวมของ Monitor แต่ละแบบก่อน เดี๋ยวต่อไปผมจะมาลงรายละเอียดเรื่องจอตัวนี้แบบลึก ๆ แล้ว รอติดตามกันนะครับ

BenQ SW Series 99% Adobe RGB 100% sRGB
BenQ Website : http://bit.ly/BenQSWSeries
Lazada Official Store : http://bit.ly/LAZSW271

อ่านบทความเปรียบเทียบมันส์ ๆ ก่อนหน้านี้

Exit mobile version