Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

กฎสามส่วน สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ ตั้งแต่ต้นจนจบ

กฎสามส่วน เป็นหนึ่งในวิธีที่นิยมมากที่สุดสำหรับการจัดตำแหน่งองค์ประกอบของภาพ แม้ว่าการใช้กฎสามส่วนนี้คนที่ถ่ายรูปเป็นแล้ว หรือช่างภาพเนี่ยจะใช้เรื่องกฎสามส่วนเป็นเรื่องปกติและดูเหมือนง่าย แต่เชื่อเถอะว่ามีหลายคนที่เริ่มต้นถ่ายรูปจะไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องกฎสามส่วน ว่าต้องใช้ยังไง ทำยังไงกับเรื่องกฎสามส่วนในการถ่ายภาพได้บ้าง

กฎสามส่วน สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ ตั้งแต่ต้นจนจบ

บทความนี้ผมได้ตั้งใจเรียบเรียงเขียนให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด และเรียนรู้นำมาปรับใช้ได้ด้วยตัวเองครับ เราไปเริ่มลุยเรื่องกฎสามส่วนกันดีกว่า

กฎสามส่วน คืออะไร (Rule of Third)

กฎสามส่วน คือ คือวิธีการวางตำแหน่งของวัตถุที่อยู่ในภาพของเราไม่ให้อยู่ในกลางภาพ และทำให้มันดูสมดุล ลงตัว เหมาะสม น่ามอง ซึ่งจะประกอบด้วยเส้นสมมุตขึ้นมา 4 เส้น คือแนวตั้งสองเส้นและแนวนอนสองเส้น

ภาพตัวอย่างเส้นสมมุติสำหรับกฎสามส่วน และจุดตัดเก้าช่อง

โดยการจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสมนั้นมักจะวางบนจุดตัดในภาพ เราชอบเรียกมันว่าจุดตัด 9 ช่อง คือในกรอบมีช่องสี่เหลี่ยม 9 ช่อง และจะมีจุดตัดอยู่ในเฟรม ตำแหน่งที่เหมาะสมกับการวางวัตถุในภาพก็คือจุดที่มันเกิดจุดตัดขึ้นมานั่นแหละครับ

กฎสามส่วน สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ ตั้งแต่ต้นจนจบ

อย่างที่บอกไปส่วนสำคัญคือเราควรเข้าใจว่า การทำให้วัตถุเด่นในภาพน่ามอง น่าสนใจ ก็ควรวางไว้ที่จุดตัดของเส้นพวกนั้น เมื่อเราถ่ายภาพ ต้นไม้ หรือ ขอบฟ้า ซึ่งวางไว้ในจุดตัดเก้าช่อง และจัดวางสัดส่วนท้องฟ้าและนำดี ๆ จะทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้นมาเองเลย

กฎสามส่วน สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ ตั้งแต่ต้นจนจบ

นอกจากนี้เรายังสามารถที่จะใช้กฎสามส่วนกับการถ่ายภาพประเภทใดก็ได้ ลองดูภาพด้านล่างได้เลยแม้แต่ภาพบุคคลเองก็ตาม ในตัวอย่างภาพยังให้ตัวเเบบอยู่ในบริเวณเดียวกับจุดตัดเก้าช่องเช่นเดียวกัน

เมื่อไหร่ที่เราควรใช้กฎสามส่วน?

นั่นสิ เมื่อไหร่ที่ควรใช้กฎสามส่วนกันล่ะ ก็อยากให้คิดเสมอว่าค่าพื้นฐานของกฎสามส่วนนี้ช่วยเตือนตัวเราเองว่าการจัดวางส่วนประกอบในภาพให้อยู่ห่างบริเวณกลางภาพโดยการใช้กฎสามส่วน สามารถทำให้ภาพดูน่าสนใจได้มากเลย เพราะตอนที่เราเริ่มถ่ายภาพใหม่ ๆ เราก็มักจะจัดวางแบบหลักหรือองค์ประกอบหลักไว้ตรงกลางเสมอ และเมื่อเราจัดวางองค์ประกอบหลักไว้ตรงกลางตลอดเวลากับทุกภาพโดยไม่มีกฎสามส่วนเข้ามา มันก็ทำให้เราน่าเบื่อกับการถ่ายรูปเหมือนกัน

กฎสามส่วน สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ ตั้งแต่ต้นจนจบ

ดังนั้นการใช้กฎสามส่วนในการถ่ายภาพ สามารถช่วยให้เราสร้างความน่าสนใจให้กับภาพถ่ายได้มากขึ้น และหากเราต้องการเริ่มต้นใช้กฎสามส่วนกับการถ่ายภาพแล้วล่ะก็ สามารถที่จะเริ่มฝึกได้ทันที และสามารถใช้กล้องที่จะเปิด Grid แสดงผลเป็นตาราง 9 ช่องช่วยเราเวลาถ่ายภาพได้เสมอ รับรองว่าการใช้กฎสามส่วนจะทำให้เราถ่ายภาพได้น่าสนใจยิ่งขึ้นแน่นอนครับ

พื้นฐานการถ่ายภาพด้วยกฎสามส่วน : Image by Prem Anandh.

แล้วต้องใช้กฎสามส่วนทุกภาพเลยใช่ไหม? สามารถแหกกฎได้ไหม?

แม้ว่ากฎสามส่วนจะใช้ได้ดีอย่างที่พูดมาตลอดทั้งคอนเทนต์ แต่การคิดว่ากฎสามส่วนคือสุดยอดวิธีในการจัดวางส่วนประกอบในภาพได้ดีในทุกภาพเลยมันก็ไม่ถูกต้องเหมือนกัน กฎพวกนี้สามารถที่จะแหกได้ มันเป็นศิลปะไม่มีกฎตายตัว บางครั้งการเล่าเรื่องเราก็สามารถที่จะนำวัตถุหรือแบบหลักไปไว้กลางภาพเลยก็ยังได้ แค่ว่าเราต้องดูสมดุลของภาพให้ดีก็พอ

กฎสามส่วน สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ ตั้งแต่ต้นจนจบ

บางครั้งเราอาจจะเลือกใช้การจัดวางแบบให้มีพื้นที่ว่างในภาพเยอะ ๆ นำแบบหลักไปอยู่ขอบภาพเลยก็ยังมี ซึ่งมันก็สร้างความน่าสนใจได้เหมือนกัน โดยเน้นที่อารมณ์เป็นหลักดังนั้นถ้าหากเราถ่ายภาพเพื่อสื่อความรู้สึกกับคนดู เราก็แหกกฎได้ ไม่มีปัญหาอะไร

กฎสามส่วน สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ ตั้งแต่ต้นจนจบ

จะเห็นได้ว่ามันไม่มีกฎตายตัวสำหรับการถ่ายภาพเลย เพียงแต่กฎสามส่วนเป็นการจัดวางองค์ประกอบในภาพที่เราสามารถสร้างสรรค์ได้ง่าย และหลากหลายนั่นเอง

ข้อสรุป เรื่องกฎสามส่วน

กฎสามส่วนเป็นสิ่งที่ทำให้คนที่เริ่มต้นถ่ายภาพสามารถที่จะจัดวางองค์ประกอบ หรือส่วนประกอบต่าง ๆ ในภาพได้อย่างน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และเป็นการจัดวางองค์ประกอบในภาพที่เราจะได้ใช้บ่อย ๆ แล้วก็มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องกฎสามส่วนเข้ามาเยอะด้วย ในวันนี้หวังว่าจะทำให้หลายคนเข้าใจเรื่องกฎสามส่วนมากขึ้นนะครับ

กฎสามส่วน สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ ตั้งแต่ต้นจนจบ

และทิ้งท้ายที่ผมอยากให้เข้าใจเลยว่ากฎพวกนี้สามารถที่จะแหกได้ เราไม่จำเป็นว่าต้องใช้กฎสามส่วนกับทุกภาพ แต่อยากให้เรามองว่าภาพถ่ายเป็นการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก จากสิ่งที่เราเห็นให้คนดูได้สัมผัสถึงสิ่งเดียวกันผ่านภาพถ่ายของเราครับ

Exit mobile version