Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่ รวมทุกสิ่งที่ต้องรู้เบื้องต้น

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่ จะเป็นบทความที่รวมการตั้งค่ากล้อง Mirrorless ในการถ่ายวีดีโอครับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Setting ที่ผมใช้นะ แล้วก็ในเนื้อหานี้จะเป็นแนวทางสำหรับคนที่เริ่มอยากถ่ายวีดีโอบ้าง จะได้เข้าใจว่าควรรู้เรื่องอะไร และควรจะตั้งค่ากล้องสำหรับถ่ายวีดีโอแบบไหนบ้าง ถ้าหากตกหล่นตรงไหน หรือมีคำถามอะไรก็สามารถที่จะถามใน Facebook PhotoschoolThailand ได้เลยนะครับ

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่ รวมทุกสิ่งที่ต้องรู้เบื้องต้น

1. ความละเอียด

ความละเอียดมีความสำคัญยังไง ก็เปรียบเทียบคือยิ่งเราเลือกความละเอียดของวีดีโอเยอะเท่าไหร่ เราก็จะได้วีดีโอที่ไฟล์ใหญ่ขึ้น มีรายละเอียดเยอะขึ้น ก็จะมีประโยชน์อยู่ในทางด้านอรรถรสของคนดูที่ได้ความละเอียด และอีกด้านหนึ่งก็คือการได้ไฟล์ที่มีความละเอียดสูงเอามาขยาย หรือครอปมุมมองเพื่อแสดงรายละเอียดได้อีกด้วย

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

โดยความละเอียดมักจะเรียงตามนี้นะครับ 4K -> 2K -> Full HD (1080P) -> 720P ก็มาตรฐานที่เราใช้ในปัจจุบันคือ Full HD เป็นมาตรฐานครับ แต่ถ้าต้องการเลือกความละเอียดเผื่อคือ 4K ครับผม

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

นอกจากนี้การตั้งค่าไฟล์ละเอียดที่สูงอย่าง 4K เนี่ย ทำให้เราต้องใช้ทรัพยากรของเครื่องในการประมวลผลด้วย เช่นการตัดต่อเวลา Preview ก็คงไม่ลื่นแน่ ๆ ถ้า Graphic Card ไม่แรง หรือไม่ใช้ System เฉพาะอย่าง Mac + Final Cut Pro X เป็นต้น

นอกจากนี้เรื่องของไฟล์ที่ใหญ่อย่าง 4K กิน Storage เยอะทั้งระหว่างการถ่ายทำด้วย รวมถึงการบันทึก Footage เก็บไว้ในเครื่องสำหรับการตัดต่อด้วย ดังนั้นก็จะเลือกความละเอียดขนาดเท่าไหร่ก็ควรประเมินการทำงานทั้ง Workflow ด้วยครับ

รวมเทคนิคถ่ายภาพที่น่าสนใจสำหรับมือใหม่

2. เฟรมเรต

เฟรมเรตถ้าจะให้อธิบายภาษาพูดก็คือความต่อเนื่องของเฟรมภาพในหนึ่งวินาที ประมาณว่าหนึ่งวินาทีจะเกิดภาพที่ต่อเนื่องกัน เฟรมเรตให้ความรู้สึกถึงความลื่นไหลและต่อเนื่องของเฟรมภาพครับ ซึ่งยิ่งเยอะ ความลื่นไหลก็จะมีเยอะขึ้น

ส่วนใหญ่ก็จะมี 24FPS, 25FPS, 30FPS, 50FPS, 100FPS, 120FPS, 240FPS เดี๋ยวผมจะอธิบายย่อย ๆ นะว่ามันเป็นยังไง ทำไมมีให้เลือกเยอะจัง ทำไมมีให้เลือกเยอะกว่าชาวบ้านเขา ฮ่า ๆ 

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

อย่างที่บอกเฟรมเรตที่เยอะความลื่นไหลจะเยอะขึ้น แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเฟรมภาพยิ่งเยอะยิ่งดีนะครับ เพราะว่ามีการเซ็ตค่าให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของวีดีโอเราเหมือนกัน อย่างภาพยนตร์ที่เราดูก็จะเป็น 24FPS จะให้ความลื่นไหลไม่เยอะมาก แต่จะเห็น Movement ของการเบลอได้นุ่มนวล รู้สึกสบาย ๆ ภาพดูไม่ลื่นไหลจนสะดุดตามาก

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

อีกแบบก็คือพวก Vlog ตาม Youtube ส่วนใหญ่ก็จะเลือกที่ 30FPS หรือไม่ก็ 60FPS ครับ แต่ส่วนใหญ่ที่ผมเห็นจะประมาณ 30FPS ครับ ส่วนการถ่ายอย่าง 60FPS ไปจนถึง 240FPS โดยส่วนตัวผมจะนำมาใช้สำหรับการดึงวีดีโอเพื่อ Slow Motion มากกว่า เพื่อให้เกิดเฟรมเคลื่อนไหวที่ช้า นุ่มนวล และต่อเนื่องมากขึ้น (สังเกตได้ว่ากล้อง GoPro Hero 7 Black) จะถ่ายสโลวโมชั่นได้ 240FPS พอเอามาทำสโลวแล้วเนี่ยเนียนมาก

สรุปได้ว่าเราจะเลือกใช้เท่าไหร่ต้องลองดูครับ ถึงจะสัมผัสได้ถึงความชอบและความเหมาะสมในการนำมาใช้ครับ ถ้าเกิดคำถามก็ลองถามที่เพจได้นะครับ ในนี้อาจจะอธิบายแบบละเอียดได้ไม่หมด

รวมเทคนิคถ่ายภาพใหม่ที่ควรรู้

3. ชนิดของไฟล์ที่บันทึก

ผมขอบอกสำหรับคนทั่วไปแล้วกันนะครับ ผมใช้การบันทึกไฟล์แบบ .mp4 ครับ เหตุผลเพราะว่าสามารถใช้กับซอฟต์แวร์ตัดต่อมาตรฐานได้ คือเราถ่ายมาสามารถ Import File เข้าโปรแกรมต่าง ๆ ได้แน่นอน ซึ่งแต่ละนามสกุลก็จะมีความแตกต่างกันออกไปแหละ คุณอาจจะเห็นพวกไฟล์ XAVC S, AVCHD (แต่ปัจจุบันผมไม่ได้ใช้ก็เลยคิดว่า อธิบายเยอะไปอาจจะงงได้ครับ สำหรับมือใหม่ผมแนะนำ .mp4 ครับ ใช้ได้แน่นอน)

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

4.บิตเรตในการบันทึก

บิตเรตตรงนี้ก็จะเหมือนกับขนาดของข้อมูลที่บันทึกในหนึ่งวินาที ซึ่งจะนับเป็น Mbps ครับ (เมกกะบิตต่อวินาที) ซึ่งบิตเรตยิ่งเยอะ ไฟล์ก็จะยิ่งใหญ่ขึ้น แต่ก็ได้ความละเอียดมากขึ้น อันนี้แล้วแต่เราชอบเลยว่าจะบันทึกเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับการทำงานของเราว่าอยากได้ไฟล์ขนาดแบบไหนมาใช้นะครับ เพราะยิ่งเยอะก็ยิ่งดีตามขนาดไฟล์แหละ

5.โหมดในการถ่ายวีดีโอ

หลักการทำงานของโหมดในการถ่ายวีดีโอก็เหมือนโหมดภาพนิ่งเลยครับ ก็จะมีโหมดหลักคือ P – Program Auto, A – Aperture Priority, S – Shutter Priority, M – Manual โดยแต่ละโหมดมีการคำนวณแบบนี้นะครับ

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

P คือโหมด Program คือจะคล้าย ๆ กับ Auto ครับ แต่กล้องเลือกให้เราปรับค่าบางอย่างได้เอง อย่าง Picture Style อะไรแบบนั้น (อันนี้เหมาะกับมือใหม่นะครับ แต่ก็ไม่แนะนำสำหรับคนที่ตั้งใจอยากจะถ่ายวีดีโอ)

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

A คือโหมด Aperture Priority ครับ คือให้รูรับแสงเป็นค่าที่เราเลือก ที่เหลือกล้องจะปรับค่าต่าง ๆ ให้ ตั้งแต่ Speed Shutter, ISO ซึ่งโหมดนี้ผมไม่ค่อยแนะนำ เพราะว่ากล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์เอง (ในการถ่ายวีดีโอความเร็วชัตเตอร์มีผลกับภาพที่เกิดขึ้นในวีดีโอ เดี๋ยวอธิบายในหัวข้อที่ 6 นะครับ)

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

S คือโหมด Shutter Priority โหมดนี้เราจะสามารถคุมความเร็วชัตเตอร์ได้ ซึ่งเหมาะกับการถ่ายวีดีโอประมาณนึง โดยกล้องจะคอยปรับรูรับแสงให้เรา ข้อดีคือเราจะได้เอฟเฟกต์ของความเร็วชัตเตอร์ที่คงที่ (การเลือกความเร็วชัตเตอร์มีผลกับภาพในวีดีโอที่เกิดขึ้นครับ เดี๋ยวอธิบายในข้อที่ 6 นะครับ) แต่ก็มีข้อระวังครับ กรณีที่แสงมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง กล้องจะทำการปรับรูรับแสงให้ทันที สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างถ่ายคือจะเกิดการกระพริบของภาพเหมือนแสงตกลงบ้าง สว่างขึ้นบ้าง ชในเฟรมที่เกิดจากการปรับรูรับแสงในตอนนั้นครับ ซึ่งเราไม่อยากให้เกิดขึ้นแบบนั้นแน่ ๆ 

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

M คือโหมด Manual ผมแนะนำโหมดนี้ที่สุดครับ เพราะค่าทุกอย่างเราจะต้องตั้งเองเพื่อควบคุมการทำงานของกล้องครับ ตั้งแต่รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ ISO สิ่งที่ยากในโหมดนี้คือ เราต้องรู้ครับว่าเราจะถ่ายอะไร และควรใช้ค่าประมาณไหน เช่น ผมรู้แล้วว่าจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/60 รูรับแสงที่ F8 ที่เหลือปรับ ISO Auto ทีนี้ผมก็จะถ่ายวีดีโอได้ต่อเนื่องแบบไม่ต้องคิดว่ากล้องจะปรับค่าอะไรที่แปลกออกไป

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

รวมบทความเกี่ยวกับโหมดถ่ายภาพที่ควรรู้

6. ความเร็วชัตเตอร์ กับการถ่ายวีดีโอ ส่งผลหากันยังไง และควรตั้งค่าเท่าไหร่

(เรื่องนี้จะยาวหน่อย และโคตรยาวมาก ๆ แต่ต้องอธิบายครับ ถ้าเหนื่อยแชร์แปะไว้ใน Facebook แล้วกลับมาอ่านซ้ำนะครับ) 

ความเร็วชัตเตอร์ก็ง่าย ๆ เลย คือ เมื่อความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น การเก็บภาพในเฟรมนั้นก็จะสามารถจับภาพสิ่งที่เคลื่อนไหวรวดเร็วได้นิ่ง แต่ถ้าความเร็วชัตเตอร์ช้า ก็จะเกิดการเบลอเมื่อถ่ายวัตถุนั้นเวลาเคลื่อนไหว ทีนี้มันเกี่ยวอะไรกับการถ่ายวีดีโอล่ะ!?

เงื่อนไขในการใช้ความเร็วชัตเตอร์สำหรับการถ่ายวีดีโอ จะสัมพันธ์กับ Frame Rate ที่เราเลือกครับ เช่น เราเลือก Frame Rate ที่ 24FPS ก็ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/48 วินาที (ใกล้เคียงคือ 1/50 ครับ)

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

ถ้าเราเลือกเฟรมเรตที่ 30FPS ก็ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/60 วินาที ถ้าเราเลือกเฟรมเรตที่ 60FPS ก็ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/120 วินาที ถ้าเราเลือกเฟรมเรตที่ 120FPS ก็ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/240 วินาที
(ในกล้องเราจะเป็น 1/250 ที่ใกล้เคียงที่สุดครับ)

เหตุผลที่ต้องเลือกความเร็วชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กับเฟรมเรต ก็เพื่อเวลาที่กล้องเก็บการเคลื่อนไหวในแต่ละเฟรมกลับมา จะให้ความต่อเนื่องของภาพที่สมูธกว่าครับ (อันนี้ภาษาพูดนะ ไม่ใช่ภาษาแนววิชาการหรือทฤษฏี) ซึ่งถ้าหากว่าเราปรับค่าที่สูงกว่านี้เช่น เลือกเฟรมเรตที่ 30FPS แต่เลือกความเร็วชัตเตอร์ 1/500 ไปเลย จะเกิดเอฟเฟกต์ในภาพโดยตรง คือการเคลื่อนไหวมันจะดูแข็ง ๆ ไม่ต่อเนื่องครับ ดูตัวอย่างด้านล่างได้เลย

ลองสังเกตในแต่ละเฟรมไปเรื่อย ๆ ตามวีดีโอครับ เราจะเห็นได้ว่าเฟรมมันแข็ง ๆ เวลาที่เราไม่ได้ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ตามกฎวีดีโอที่ว่านี้ครับ ทำให้คนดูเกิดความรู้สึกแปลก ๆ ออกไปในการดูวีดีโอ เพราะการถ่ายทอดความรู้สึกของวีดีโอ มันส่งผ่านเรื่องราว ประสาทสัมผัสในการรับรู้คือตา และสมองที่ตีความภาพนั้นออกมาเป็นฟิลลิ่ง อารมณ์ ความรู้สึกก็ว่ากันไป เพราะงั้นถ้าเฟรมโดดมาก ๆ เราจะรู้สึกเลยว่ามันแปลก ๆ เพราะงั้นก็เลือกใช้ให้ตรงตามกฎนั้นนะครับ

Flicker กับการถ่ายวีดีโอก็เป็นเรื่องที่ต้องระวัง แล้วมันคืออะไรล่ะ?

Flicker จะเป็นการที่เราถ่ายวีดีโอแล้วเกิดการกระพริบของเฟรมสีดำรัว ๆ ในวีดีโอครับ ถ้าใครเคยเจอจะร้อง อ๋ออออเลยแหละ มันเกิดจากหลอดไฟในห้องครับ เพราะหลอดไฟที่เราใช้อยู่จะเกิดการกระพริบที่ 50Hz เวลาที่เราใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำว่า 1/50 จะไม่มีอาการนี้ แต่ถ้าความเร็วชัตเตอร์สูงกว่านี้เมื่อไหร่ อย่าง 1/100 จะแสดงอาการออกมาทันทีครับ

เพราะงั้นเมื่อไหร่ที่ถ่ายวีดีโอในอาคารก็ควรรู้ไว้ก่อนเลยว่า เราจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เท่าไหร่ครับ สิ่งที่ช่วยได้ดีสุดคือ เราลองถ่าย Test Shot ก่อนครับ ดูผลที่เกิดขึ้นแล้วค่อยถ่าย กันเหนียวได้ครับ

7. NTSC หรือ PAL แบบไหนดีกว่า

NTSC กับ PAL เป็นมาตรฐานของระบบสัญญาณภาพครับ (ซึ่งจะมีความต่างกันประมาณ 10Hz) คือ NTSC จะอยู่ที่ 60Hz ส่วน PAL จะอยู่ที่ 50Hz แล้วมันเกี่ยวอะไรกัน เกี่ยวครับ ถ้ากล้องมีระบบนี้ให้เลือก เวลาที่เลือก NTSC เวลาตั้งความเร็วชัตเตอร์จะเป็น 120FPS,60FPS ส่วน PAL อาจจะได้ที่ 100FPS, 50FPS เป็นต้นครับ แต่ปัจจุบันกล้องก็มีการพัฒนาเรื่องพวกนี้มาแล้ว ทำให้ระบบสองอย่างนี้มีค่า Frame Rate ที่ไม่ได้ต่างกันก็ได้เหมือนกันครับ

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

เอาเป็นว่าให้ทราบละกันครับว่าทั้งสองแบบนี้คืออะไร และส่งผลยังไงบ้าง เช่นกล้องที่ผมใช้อย่าง Sony A7R II เวลาถ่ายวีดีโอ NTSC กับ PAL จะได้เฟรมเรตที่ไม่เท่ากันครับ ถ้าไม่รู้เรื่องนี้ก็จะงงเลยแหละว่าทำไมตั้งค่าเหมือนคนอื่นไม่ได้ แต่พอรู้ก็ อ๋ออออ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง

8. ถ่ายวีดีโอควรใช้รูรับแสงเท่าไหร่?

รูรับแสงก็เหมือนกับภาพนิ่งปกติครับ ยิ่งรูรับแสงกว้างก็จะทำให้แสงเข้าเยอะขึ้น แล้วก็เกิดการละลายฉากหลังที่มากขึ้น แต่ในวีดีโอมันมีเงื่อนไขที่เพ่ิมเข้ามาถ้าหากเราสังเกตดี ๆ นะ นั่นคือวีดีโอเราจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ค่อนข้างต่ำ และคงที่อยู่ตลอดเวลา

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

เช่นนะครับ เราใช้เลนส์เปิด F1.4 เพราะต้องการละลายหลัง แล้วถ่ายกลางแจ้งในช่วงบ่าย แล้วใช้ความเร็วชัตเตอร์แค่ 1/60 เพราะต้องการภาพที่ 30FPS สิ่งที่เกิดขึ้นคือ แสงมันโอเวอร์แน่นอนครับ วิธีการทำให้แสงมันได้พอดีกับความเร็วชัตเตอร์ก็มีสองแบบครับคือ ใส่ ND Filter เพื่อให้ปริมาณแสงลดลง หรือว่าเราจะเลือกลดรูรับแสงแทนครับ

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

เพราะงั้นถ่ายวีดีโอควรใช้รูรับแสงที่เท่าไหร่ต้องดูก่อนครับ ว่าเราต้องการเอฟเฟกต์แบบไหน คอนเทนต์เราจะสื่อสารอะไร อย่างผมไม่ได้สนใจการละลายหลัง แล้วไม่ต้องการความยุ่งยากในการใช้ ND ผมก็เลือกปรับ F8-F11 ไปเลยก็ได้ถ้าถ่ายกลางแจ้ง เพื่อให้ปริมาณแสงมันน้อยในพื้นที่กลางแจ้ง แล้วก็ได้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ๆ ตามที่ต้องการ จากนั้นถ่ายยาว ๆ

แต่ถ้าหากว่าคุณต้องการ Effect ที่เกิดจาก Lens ต้องการเปิด F1.4, F1.8 เราก็ต้องดูสภาพแสงตรงนั้น ถ้าแสงล้นก็ใช้ ND ครับ เพื่อลดแสงให้ได้ตามความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการ

9. ถ่ายวีดีโอควรใช้ ISO เท่าไหร่?

ISO คือ ค่าความไวแสงของกล้องครับ ถ้าค่า ISO เยอะ กล้องก็จะไวกับแสงมากขึ้น จะได้วีดีโอที่สว่างขึ้นในปริมาณแสงเท่าเดิม แต่มันก็มีข้อเสียถ้าใช้ ISO เยอะ Noise หรือสัญญาณรบกวนมันก็จะเยอะตามไปด้วย คำถามก็คือแล้วเราควรใช้มันเท่าไหร่กันแน่?

ส่วนใหญ่ผมจะเลือกง่าย ๆ ตามนี้ครับ ผมจะเลือกเป็น Auto ISO Sensitivity ครับ คือให้กล้องปรับ ISO เอง โดยกำหนดเพดานสูงสุดในปริมาณ ISO ที่รับได้คือ 6400 เป็นต้น กรณีที่เราถ่ายวีดีโอไปแล้วแสงไม่พอ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือกล้องจะทำการเพิ่มค่า ISO ที่เหมาะสมให้เอง โดยที่ค่า Auto นั้นไม่มีทางเกินเพดานที่เราตั้งไว้ครับ สำหรับคนอื่นอาจจะรับได้มากกว่านั้นก็สามารถตั้งสูงกว่านั้นได้ครับผม

10. Focus Mode ที่ต้องใช้ในการถ่ายวีดีโอ?

ในการถ่ายวีดีโอถ้ามีน้อง ๆ ที่คอยยกกล้องให้ผม เขาจะใช้ Manual Focus เพื่อคุมการโฟกัสตามใจตัวเองครับ แต่ถ้าหากว่าเราต้องถ่ายคนเดียวนั่งพูดไปเรื่อย ๆ ก็มีสองแบบคือเราคุมแวดล้อมให้ใช้ Manual Focus ได้ หรืออีกอย่างคือให้กล้องโฟกัสแบบอัตโนมัติ

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

การโฟกัสแบบอัตโนมัติในโหมดวีดีโอผมจะเลือกกล้องที่ใช้ AF-C คือโฟกัสแบบ Continue ครับ แต่มีเงื่อนไขคือ ให้มัน Tracking ใบหน้าของผมเป็นหลัก แล้วเลือกระยะการโฟกัสแบบ Area ไม่ต้องคุมทั้งเฟรมภาพ ทำไมต้องทำแบบนั้น เพราะว่าเวลาที่กล้องเห็นอะไรขยับ ให้กล้องเข้าใจได้ว่าสิ่งสำคัญสุดคือใบหน้าผมต้องชัด ต้องสำคัญที่สุด อย่าไปโฟกัสที่อื่น ประมาณนั้นครับ (ไม่งั้นคุณจะเห็นการโฟกัสของกล้องที่มันวืดวาดไปมา เพราะมันวิ่งหาโฟกัสทั้งภาพครับ)

สำหรับคนอื่นที่เข้าใจเรื่องนี้ก็สามารถที่จะใช้ตามถนัดก็ได้นะครับ สิ่งที่ผมบอกไม่ใช่ข้อสรุปแบบตายตัว เป็นแค่ตัวเลือกที่ผมใช้อยู่แล้วเอามาแชร์กันครับผม

11.ควรตั้ง White Balance แบบไหนในการถ่ายวีดีโอ?

สำหรับผมเลือกแบบ Auto ครับ ถ้ากล้องไม่ได้เพี้ยนมาก แต่ถ้าหากว่าเราคุมสภาพแสงได้แล้วเราถนัดที่จะปรับ ISO แบบ Manual ก็สามารถจัดแบบ Manual ก็ได้ครับ เพราะเราสามารถ Monitor ผลที่เกิดขึ้นจากหลังหน้าจอได้เลย

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

รวมพื้นฐานที่ต้องรู้เกี่ยวกับเรื่อง ​White Balance

12. Picture Profile ในการถ่ายวีดีโอ

Picture Profile ก็คือโทนสีที่เกิดขึ้นภายในวีดีโอที่เราต้องการเวลาบันทึกวีดีโอเข้าไปนั่นเองครับ คำถามคือควรเลือกแบบไหน อันนี้อยู่ที่สีที่เราต้องการ อย่างเช่น S-Log เวลาเอาไป Grading ต่อ หรือบางคนชอบสีแบบ Cine4 เป็นต้น อันนี้ไม่มีอะไรตายตัวเลย อยู่ที่โปรไฟล์ที่เราตั้งใจจะถ่าย หรือโปรไฟล์สีที่เราชอบนั่นเองครับ

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

ซึ่งการที่มีโปรไฟล์แบบไหนให้เลือกนั้นจะขึ้นอยู่กับกล้องที่เราใช้ด้วย ถ้าให้แนะนำกล้องสำหรับถ่ายวีดีโอ ที่ผมเคยใช้เองนะก็จะมี Sony A6300, Sony A6500, Sony A7R II (ปกติใช้ภาพนิ่งแต่ถ่ายวีดีโอได้), Sony A7 III, Sony A7S II(แพงอ่ะอันนี้ยืมเพื่อนมาครั้งนึง), Panasonic Lumix G7, Panasonic Lumix G9, Panasonic Lumix GH5, Panasonic Lumix G85, Canon EOS R, Canon EOS M50, Fujifilm X-H1, Olympus OM-D E-M5 Mark II, Olympus OM-D E-M5 Mark II อันนี้ที่ผมเคยลองเองมาแล้วรู้สึกว่าโอเคนะครับ สำหรับรุ่นอื่นลองเลือกดูสเปคก่อนเลือกมาใช้ถ่ายวีดีโอนะครับ

13. Microphone สำหรับการถ่ายวีดีโอ ควรใช้แบบไหน

อันนี้ตอบยากเลย เพราะว่าแต่ละไมโครโฟนจะมีลักษณะของการเก็บเสียงที่ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่ถ้าให้แนะนำแบบง่าย ๆ เอาง่าย ๆ เลยนะครับ ก็จะมีแบบที่เหน็บกับตัว จะเป็นแบบมีสายหรือแบบไร้สายก็ได้ ซึ่งอันนั้นจะรับเสียงแค่ใกล้ ๆ ตัวคนพูด เสียง Ambient หรือเสียงโดยรอบจะเข้ามาน้อยมาก เหมาะกับการถ่ายรีวิว ถ่ายโดยเน้นคนพูดทั่วไป อยากให้เสียงพูดชัด

ยกตัวอย่างที่ผมใช้อยู่นะครับ ลองไปหาดูรีวิวนะ Samamonic UMW Mic10 ครับ

อีกแบบคือ Mic Shotgun ไมค์ตัวนี้จะเน้นเก็บเสียงในระยะด้านหน้าที่ไมโครโฟนชี้ไปครับ จุดเด่นก็คือไม่ต้องเซ็ตอัพอะไรมาก ต่อเข้ากล้องแล้วก็พูดได้เลย แต่ก็มีข้อจำกัดบ้าง เช่น เสียงโดยรอบจะเข้ามาเยอะกว่าไมโครโฟนแบบเหน็บ ระยะในการเก็บเสียงก็จะตามขนาดและราคาครับ ถ้าตัวเล็กก็จะเก็บไกลมากไม่ได้ ต้องพูดใกล้ ๆ กล้องเป็นต้นครับ

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

สำหรับที่ผมเคยใช้ก็มี Rode Video Micro, Rode Video Mic Go ครับ ส่วนแบรนด์อื่นดี ๆ แพงกว่านี้ก็มีนะแต่ผมไม่ได้ซื้อมาใช้ครับ เลยแนะนำอะไรไม่ได้มากครับ

รวมบทความเทคนิคเกี่ยวกับเรื่องแสง

14. ช่องเสียบหูฟังกับการถ่ายวีดีโอสำคัญยังไง

อันสุดท้ายที่จะเอ่ยถึงคือช่องเสียงหูฟังสำหรับการถ่ายวีดีโอ ทำไมสำคัญขนาดนั้น เพราะว่าเวลาที่เราถ่ายเราเอาไว้ Monitor เสียงได้ครับ โดยเฉพาะคนที่ต้องถ่ายวีดีโอให้คนอื่น หรือต้องการจะเช็คเสียงว่าเวลากล้องบันทึกวีดีโอเข้ามาแล้วเนี่ย เสียงที่เข้ามามันโอเคมัน มันสะท้อนหรือมีเสียงรบกวนเข้ามาเยอะไหมเป็นต้นครับ เป็นอะไรที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับกล้องวีดีโอครับ

14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ14 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่, การตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอ, mirrorless, วิธีถ่ายวีดีโอ

ทั้งหมดนี้ก็เป็น 14 ค่าเบื้องต้นที่ผมยกมาว่าสำคัญสำหรับคนถ่ายวีดีโอนะครับ ถ้าหากว่าใครอยากรู้เรื่องอื่นเพิ่มก็สามารถที่จะสอบถามเข้ามาได้ครับ เพราะจริง ๆ การถ่ายวีดีโอสำหรับผมก็เป็นอะไรที่ต้องเรียนรู้อีกเยอะเหมือนกัน แต่ผมนำมาเขียนให้สำหรับมือใหม่ที่อยากหัดถ่ายวีดีโอได้เริ่มต้นบ้างครับผม

รวมไอเดียถ่ายภาพใหม่ ๆ ที่คุณอาจจะยังไม่เคยรู้

Exit mobile version